บสย.เสนอวงเงิน 300 ล้านจ่ายเบี้ยค้ำประกัน SMEs ปีแรก

นายวัลลภ เตชะไพบูลย์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของมาตรการช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ว่า ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และบสย. มีความเห็นร่วมกันว่า



    นายวัลลภ เตชะไพบูลย์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของมาตรการช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ว่า ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และบสย. มีความเห็นร่วมกันว่า ควรจะเสนอขอวงเงินจำนวน 300 ล้านบาทจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อนำมาจ่ายเบี้ยค้ำประกันปีแรกให้กับผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ขอรับการค้ำประกันสินเชื่อจากบสย. เพื่อช่วยบรรเทาภาระแก่ผู้ประกอบการในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว

    "วงเงิน 300 ล้านบาทดังกล่าว สามารถนำมาจ่ายเบี้ยค้ำประกันปีแรกในอัตรา 1.75 % ต่อปี จะช่วยค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ถึง 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งช่วยลดภาระให้แก่เอสเอ็มอีที่เผชิญกับยอดซื้อที่ลดลงจากการหดตัวของเศรษฐกิจ"เขากล่าว

    ในปีนี้ บสย. ต้องปรับลดเป้าหมายการค้ำประกันสินเชื่อ จากเดิมคาดว่า จะค้ำประกันสินเชื่อรวม 1 แสนล้านบาท ลดเหลือ 5.7 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเดิมคาด เศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัว 4.5-4.8% แต่ล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวลงเหลือ 2.6%

    แม้เป้าการค้ำประกันปีนี้ จะลดต่ำลงตามการหดตัวของสินเชื่อในระบบก็ตาม แต่เปอร์เซ็นต์ของการค้ำประกัน ต่อสินเชื่อเอสเอ็มอีทั้งหมดปีนี้อยู่ที่ 25% ของสินเชื่อเอสเอ็มอีทั้งหมด สูงกว่าปีที่แล้วที่มีสัดส่วนเพียง 20%

    สำหรับโครงการค้ำประกันสินเชื่อโดย บสย. ปัจจุบันมี 3 โครงการ คือ โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก (Micro SMES) สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ขอกู้ผ่านธนาคารออมสิน โดย บสย.จะค้ำประกันให้สูงสุด 1 ล้านบาทต่อราย โดยกำหนดวงเงินไว้ไม่เกิน 3 พันล้านบาท ซึ่งจำเป็นต้องเสนอให้ครม.อนุมัติในขั้นตอนสุดท้าย แต่เมื่อมีการยุบสภา ทำให้เรื่องนี้ค้างอยู่

    2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ (New/Start Up) ซึ่งเป็นโครงการค้ำประกัน ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ประกอบธุรกิจยังไม่ถึง 3 ปี ซึ่งปกติสถาบันการเงินจะไม่ให้สินเชื่อ หากบสย.มาค้ำประกันให้กลุ่มนี้ โอกาสที่จะได้รับสินเชื่อจะมีมากขึ้น โดย บสย.กำหนดวงเงินค้ำประกันสินเชื่อในโครงการนี้ที่ 1 หมื่นล้านบาท กำหนดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันไว้ที่ 2.50% ต่อปี และจะสิ้นสุดโครงการนี้วันที่ 31 ธ.ค.2558

    โครงการนี้ มีผู้ใช้บริการน้อยมากถึงปัจจุบันมีการค้ำประกันสินเชื่อไปเพียง 100 กว่าล้านบาท เพราะตัวสถาบันการเงิน กังวลความเสี่ยงของโครงการ แม้ บสย.จะช่วยค้ำประกันกรณีเกิดหนี้เสียสูงสุดถึง 37.5% แต่สถาบันการเงินต้องร่วมรับภาระความเสียหายสัดส่วน 20% ดังนั้น บสย.จึงเสนอกระทรวงการคลัง เพื่อปรับปรุงเงื่อนไข ให้ค้ำประกันหนี้เสียสูงสุด 30% โดยที่ บสย.รับภาระความเสี่ยงทั้ง 100% ซึ่งการปรับปรุงเงื่อนไขนี้ ไม่ได้ทำให้ภาครัฐมีภาระเพิ่มขึ้น แต่ทำให้สถาบันการเงินลดความกังวล

    3.โครงการ Port Folio Scheme เฟส 5 ซึ่งเป็นโครงการค้ำประกันเอสเอ็มอีที่ บสย.ร่วมกับสถาบันการเงิน โดยโครงการ 1 ถึง 4 ได้มีการค้ำประกันรวมกันถึง 1.19 แสนล้านบาท สำหรับโครงการระยะที่ 5 กำหนดวงเงินค้ำประกันไว้ที่ 2.4 แสนล้านบาท กำหนดสิ้นสุดโครงการปลายปีหน้า ซึ่ง SCHEM กรณีที่เกิดหนี้เสียไม่เกิน 18% บสย.จะเป็นผู้รับภาระ ส่วนที่เกิน 18% สถาบันการเงินรับภาระ โดย บสย.ค้ำประกันต่อรายสูงสุด 40 ล้านบาทต่อราย อัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกันที่ 1.75% ต่อปี จนถึงปัจจุบันค้ำประกันโครงการนี้ไปแล้ว 7 หมื่นล้านบาท เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว เป้าหมายโครงการนี้ที่กำหนดปีนี้ที่ 1.7 แสนล้านบาท จะไม่เป็นไปตามเป้า

NEWS & TRENDS