ระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกของไทยเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 18.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว 0.85% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า ด้านการนำเข้าในเดือนกรกฎาคมหดตัว 2.9% YOY มาอยู่ที่ 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าที่ 1,102 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกของไทยเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 18.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว 0.85% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า ด้านการนำเข้าในเดือนกรกฎาคมหดตัว 2.9% YOY มาอยู่ที่ 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าที่ 1,102 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกกลับมาหดตัวอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณฟื้นตัวในอุตสาหกรรมหลัก โดยสินค้าสำคัญอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลง 0.2%YOY จากมูลค่าการส่งออกเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบที่ลดลงถึง 10.9%YOY เพราะคำสั่งซื้อจากตลาดหลักอย่าง ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย มีเข้ามาน้อยลง
อีกทั้งการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าในเดือนกรกฎาคมนี้ติดลบ 5.5%YOY จากอุปสงค์ในตลาดหลักอย่างฮ่องกงและสหรัฐฯ ที่หดตัวลงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้มูลค่าการส่งออกยางพารายังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลง23.4%YOY ในเดือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามสินค้าส่งออกในอุตสาหกรรมหลักบางประเภทมีสัญญาณฟื้นตัว เช่น รถยนต์และส่วนประกอบ และคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ โดยในเดือนกรกฎาคมนั้นขยายตัวถึง 14.5%YOY และ 4.5%YOY ตามลำดับ ในขณะเดียวกันการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมีสัญญาณที่ดีขึ้นเช่นกัน โดยมูลค่าการส่งออกข้าวและไก่สดแช่เย็นแช่งแข็งเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 3.2%YOY และ 13.2%YOY ตามลำดับ
มูลค่าการส่งออกไปตลาดจีนและอาเซียนยังคงไม่ฟื้นตัว ในขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปยังขยายตัวต่อเนื่อง ในเดือนกรกฎาคมนี้การส่งออกไปตลาดหลักอย่าง สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นขยายตัว 4.2%YOY 6.8%YOY และ 3.3%YOY ตามลำดับ โดยการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหลังจากติดลบไปถึง 3 เดือน ในขณะเดียวกันการส่งออกของไทยไปยังตลาดจีน และอาเซียนกลับหดตัวอีกครั้งที่ 1.7%YOY และ 5.2%YOY หลังจากขยายตัวในเดือนที่แล้ว ทั้งนี้การส่งออกไปยังตลาดที่กำลังเติบโตอย่าง CLMV ยังขยายตัวได้ดี โดยในเดือนกรกฎาคมนี้เพิ่มขึ้นอีก 9.3%YOY
มูลค่าการนำเข้าหดตัวในอัตราที่ลดลงแต่เป็นผลมาจากปัจจัยชั่วคราว การนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรกของปีนี้โดยขยายตัว 6.4%YOY แต่ทว่าการเพิ่มขึ้นนั้นมาจากการนำเข้าเครื่องบิน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ ซึ่งเมื่อหักองค์ประกอบดังกล่าว การนำเข้าสินค้าทุนลดลง 3.5%YOY สำหรับการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงในเดือนกรกฎาคมนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 57.4%YOY ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
ด้านการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปยังคงลดลงในเดือนกรกฎาคมนี้ที่ 12.1%YOY ซึ่งภาพรวมการนำเข้าดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอของภาคการผลิตในประเทศ
สำหรับการส่งออกยังคงมีแนวโน้มไม่สดใส อีไอซีคาดว่าส่งออกไทยปีนี้จะขยายตัวในระดับเพียง 1% การส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคมกลับมาหดตัวอีกครั้งที่ 0.85%YOY ทำให้มูลค่าการส่งออกใน 7 เดือนแรกลดลง 0.4%YOY โดยปัจจัยหลักที่ทำให้การส่งออกของไทยอ่อนแอ ได้แก่ 1) การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน และกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) 2) การตกต่ำของราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งยางพารา และ 3) โครงสร้างการผลิตสินค้าเทคโนโลยีของไทยซึ่งอิงอยู่กับสินค้าที่เริ่มล้าสมัยและไม่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยปัจจัยเหล่านี้จะกดดันให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้เพียง 1.1%YOY ในปีนี้