​ตุลาคมบริษัทเกิดใหม่ 5,384 รายปิดตัว 1,641 ราย

ารจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนตุลาคม 2557 มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศจำนวน 5,384 ราย จดทะเบียนเลิกทั่วประเทศในเดือนตุลาคม 2557 มีจำนวน 1,641 ราย


 
                              นางสาวผ่องพรรณ  เจียรวิริยะพันธ์  อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  เปิดเผยว่า การจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนตุลาคม 2557 มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศจำนวน 5,384  ราย ลดลง 695 ราย คิดเป็น 11 % เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน  2557 ซึ่งมีจำนวน 6,079 ราย  และเพิ่มขึ้น 122 ราย คิดเป็น  2% เมื่อเทียบกับ ตุลาคม 2556  ซึ่งมีจำนวน 5,262 ราย

                               สำหรับนิติบุคคลที่      จดทะเบียนเลิกทั่วประเทศในเดือนตุลาคม  2557 มีจำนวน 1,641 ราย ลดลง 2 รายคิดเป็น 0.1% เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2557 ซึ่งมีจำนวน 1,643 ราย และเพิ่มขึ้น 60 ราย คิดเป็น 4% เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม  2556  ซึ่งมีจำนวน 1,581 ราย
 
                               มูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ในเดือนตุลาคม 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 20,266 ล้านบาท ลดลง  จำนวน9,845 ล้านบาท คิดเป็น 33% เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2557 ซึ่งมีจำนวน 30,111 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นจำนวน 1,174 ล้านบาท คิดเป็น 6%  เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม  2556  ซึ่งมีจำนวน 19,092  ล้านบาท
 
                               ประเภทธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ก่อสร้างอาคารทั่วไป     จำนวน 574 ราย อสังหาริมทรัพย์ จำนวน 345 ราย ภัตตาคาร ร้านอาหาร จำนวน 138 ราย ขายส่งเครื่องจักร จำนวน 128 ราย และธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการจัดการ 114 ราย ตามลำดับ
 
                               ปัจจุบัน ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2557 มีห้างหุ้นส่วนบริษัทจำกัดดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศจำนวน 593,396 ราย มีทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 14.87 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นบริษัทจำกัด 411,826 ราย บริษัทมหาชนจำกัด 1,065 ราย และห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 180,505 ราย
 
                              นางสาวผ่องพรรณ  เจียรวิริยะพันธ์  อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากล่าวเพิ่มเติมว่า       การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 2%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ต.ค.56) และ ลดลงจากเดือนก่อน (ก.ย.57)  คิดเป็น  11% ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาลการจดทะเบียนที่เดือนตุลาคมจะลดลงจากเดือนกันยายน สำหรับแนวโน้มการจดทะเบียนจัดตั้งในช่วงที่เหลือของปี 2557   (พ.ย.- ธ.ค.) น่าจะได้รับผลดีจากมาตรการของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไป ซึ่งจะเป็นผลบวกต่อจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งโดยรวม จึงคาดว่าในปี 2557 จะมีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจประมาณ 60,000 - 62,000 ราย เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้

    สำหรับเรื่องที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เปิดให้บริการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดข้ามเขตจังหวัด  ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2557 นั้นโดยในเดือนตุลาคม 2557 มีการยื่น                  ขอจดทะเบียนข้ามเขต จำนวน 812 ราย จากการจดทะเบียนทั่วประเทศ จำนวน 5,384 ราย หรือ คิดเป็น 15%   ซึ่งสูงกว่าเดือนก่อน (ก.ย.57) ที่มีผู้ใช้บริการนี้ 14% โดยแบ่งออกเป็น

               - ส่วนกลาง 619 ราย คิดเป็น 11% โดยสำนักงานในส่วนกลางที่รับจดทะเบียนข้ามเขต   มากที่สุด คือ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ) จำนวน 149 ราย รองลงมา สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 5 (บางนา) 109 ราย

    - ส่วนภูมิภาค 193 ราย คิดเป็น 4% โดยสำนักงานในส่วนภูมิภาคที่รับจดทะเบียนข้ามเขตมากที่สุด คือ สพค.จังหวัดชลบุรี จำนวน 27 รายรองลงมา สพค.จังหวัดปทุมธานี จำนวน 23 ราย
 
    นอกจากนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้ายังได้เปิดให้บริการโปรแกรมตรวจสอบข้อมูลทั่วไปของนิติบุคคล โดยสามารถค้นหาจากรายชื่อหรือเลขทะเบียนของนิติบุคคล  รวมทั้งข่าวสาร  กิจกรรมโครงการต่างๆ และสถานที่ให้บริการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าผ่านมือถือ (Application : DBD e-Service)  โดยระบบจะแสดงผลเป็นภาษาไทย ซึ่งสามารถใช้งานผ่านระบบปฏิบัติการ IOS และ Android โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2557 เป็นต้นมา เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคลได้ด้วยตนเอง ซึ่งมีสถิติผู้ใช้บริการระบบจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม  2557   รวมทั้งสิ้น    228,025 ครั้ง โดยในเดือนตุลาคม  2557  มีการเข้าใช้ระบบนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 65,020  ครั้ง คิดเป็น  40%
 
    ท้ายนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยังคงส่งเสริมให้มีการใช้ e-Commerce  เพื่อประกอบธุรกิจและขยายตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันนี้มีผู้ยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว             จำนวน 11,106 ราย 12,735 เว็บไซด์  ประกอบด้วยนิติบุคคล 3,037 ราย คิดเป็น 27%  บุคคลธรรมดา      8,069 ราย คิดเป็น 73%  โดยธุรกิจที่ขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สูงสุด ได้แก่  ธุรกิจคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต จำนวน 2,393 เว็บไซด์  คิดเป็น 19%  ธุรกิจแฟชั่น/เครื่องแต่งกาย/เครื่องประดับ         จำนวน 1,988 เว็บไซด์ คิดเป็น 16% และธุรกิจการแพทย์และสุขภาพ  จำนวน 1,388 เว็บไซด์  คิดเป็น 11%ตามลำดับ ซึ่งการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้บริโภคมาใช้บริการ 

    นอกจากผู้ประกอบธุรกิจร้านค้าออนไลน์แล้ว กรมยังได้หารือกับตลาดกลางออนไลน์ให้กำกับดูแลสมาชิกให้มีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมาย  เพราะหากปฏิบัติไม่ถูกต้องจะมีโทษปรับ และ    อาจต้องพิจารณางดให้บริการเข้าขายสินค้าในตลาดกลางด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นการขยายตัวของการซื้อขายทางออนไลน์ของไทยให้เติบโตในอัตราก้าวกระโดดเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ

NEWS & TRENDS