ธปท.แจงสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินมกราคม ปี 58 ยังเดินช้า

ดือนมกราคม 2558 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเป็นไปอย่างช้าๆ โดยภาคการท่องเที่ยวเป็น แรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจ ขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อน เพราะครัวเรือนยัง ระมัดระวังการใช้จ่าย และธุรกิจยังรอความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนในโครงสร้าง พื้นฐานจากภา..




    ในเดือนมกราคม 2558 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเป็นไปอย่างช้าๆ โดยภาคการท่องเที่ยวเป็น แรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจ ขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อน เพราะครัวเรือนยัง ระมัดระวังการใช้จ่าย และธุรกิจยังรอความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนในโครงสร้าง พื้นฐานจากภาครัฐ 

    สำหรับแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐมีน้อยลงหลังจากที่เร่งเบิกจ่ายในเดือนก่อนๆ และการส่งออกสินค้าลดลงตามอุปสงค์จากจีนและอาเซียนที่ชะลอตัว รวมทั้งราคาสินค้าส่งออกหลายหมวด ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันโลกที่ต่ำลงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบและดุลบัญชี เดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 

    รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้ 

    ภาคการท่องเที่ยวยังเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจ โดยมีแรงสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จากนักท่องเที่ยวจีนและมาเลเซีย เพราะไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว ประกอบกับทางการจีนผ่อนคลายมาตรการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นลำดับ การชะลอตัวของเศรษฐกิจ จีนจึงไม่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวจีนมากนัก 

    การใช้จ่ายภาคเอกชนฟื้นตัวช้า โดยการบริโภคภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากครัวเรือนระมัดระวังในการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องเพราะกำลังซื้อของครัวเรือนเกษตรกรถูกบั่นทอนจากราคา สินค้าเกษตรที่ตกต่ำ โดยเฉพาะราคายางพารา และรายได้ของครัวเรือนนอกภาคเกษตรยังทรงตัว ประกอบกับ ภาระหนี้อยู่ในระดับสูง โดยรวมแล้วราคาน้ำมันที่ลดลงยังไม่ส่งผลดีอย่างชัดเจนต่อการบริโภค

    แม้ว่าธุรกิจจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงตามราคาน้ำมันและภาวะการเงินจะเอื้อต่อการลงทุน แต่เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่อยู่ในระยะเริ่มต้น รวมทั้งกำลังการผลิต ของภาคธุรกิจที่ยังมีเพียงพอเพราะการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมยังอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้การลงทุน ภาคเอกชนทรงตัวต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ และการก่อสร้าง

    การใช้จ่ายภาครัฐมีบทบาทในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่แรงกระตุ้นน้อยลงหลังจากที่เร่ง เบิกจ่ายในเดือนก่อน ทั้งการซื้อสินค้าและบริการ และการลงทุน ด้านรายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตาม การปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ขณะที่การจัดเก็บภาษีที่สะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มหดตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน 

    การส่งออกสินค้ามีมูลค่าลดลงจากเดือนก่อนตามราคาสินค้าส่งออกหลายหมวด อาทิ ปิโตรเลียม ยางพารา และเคมีภัณฑ์ ที่ปรับลดลงต่อเนื่องจากทิศทางราคาน้ำมันดิบ การชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้า โดยเฉพาะจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งการตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี (GSP) ในทุกสินค้าที่ส่งไปกลุ่มประเทศยุโรป     ขณะที่การส่งออกไปสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศ CLMV ยังอยู่ในเกณฑ์ดี 

    ส าหรับการนำเข้า สินค้ามีมูลค่าลดลงจากเดือนก่อนเช่นกัน โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลงมากตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ประกอบกับโรงกลั่นยังชะลอการนำเข้าน้ำมันเพราะคาดว่าราคาน้ำมันโลกอาจลดต่ำลงอีก 

    สำหรับการนำเข้าสินค้ากลุ่มอื่นนอกเหนือจากน้ำมันดิบ อาทิ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน และวัตถุดิบ มีทิศทางทรงตัวสอดคล้องกับเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ เสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีอัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้น เล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ ราคาน้ำมันโลกที่ลดลงมากส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ แต่ไม่ใช่สัญญาณ ของภาวะเงินฝืด และช่วยให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ซึ่งมีส่วนทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น สำหรับดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลตามการเพิ่มเงินฝากในต่างประเทศของสถาบันรับฝากเงินเพื่อปรับฐานะ เงินตราต่างประเทศ และการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนไทย รวมทั้งมีการขายหลักทรัพย์ของ นักลงทุนต่างชาติ โดยรวมดุลการชำระเงินเกินดุล ขณะที่เงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ในเกณฑ์มั่นคง


NEWS & TRENDS