คลังรัฐงบประมาณลงทุนโครงสร้างพื้นฐานยังมีปัญหา

นายสมหมาย สมหมาย ภาษี รมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ว่าเป็นห่วงในเรื่องการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทย ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มถูกต่างชาติลดอันดับลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากรัฐบาลที่ผ่านมาละเลยในการลงทุน แต่หัน..



    นายสมหมาย สมหมาย ภาษี รมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ว่าเป็นห่วงในเรื่องการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทย ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มถูกต่างชาติลดอันดับลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากรัฐบาลที่ผ่านมาละเลยในการลงทุน แต่หันไปใช้เม็ดเงินกับโครงการประชานิยมจนมากเกินไป

     โดยในยุครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีแนวความคิดที่จะลงทุนระบบขนส่งกว่า 2 ล้านล้านบาท แต่ยังขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งบางโครงการรัฐบาลชุดนี้ก็ต้องนำมาพิจารณาใหม่ เช่น ระบบราง โครงการจัดการน้ำ ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง รัฐบาลปัจจุบันก็สนใจให้ เอกชนมาลงทุนในเส้นทาง กทม.-หัวหิน หรือ กทม.-พัทยา

    “โครงสร้างพื้นฐานของไทยล้าหลังมาก โดยเฉพาะระบบขนส่ง ซึ่งทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยไม่เพิ่มขึ้น มีต้นทุนในเรื่องขนส่งสูง ซึ่งนอกจากการลงทุนโครงการขนส่งให้ครอบคลุมแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อระบบคมนาคมด้วย” นายสมหมาย กล่าว

    นายสมหมายกล่าวว่า ในช่วง 8 ปีข้างหน้า ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมจะใช้เม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาท โดยในแต่ละปีจะมีงบลงทุนโดยรัฐบาล สำหรับโครงการด้านคมนาคมขนส่ง เฉลี่ยปีละ 2.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 10% ของงบประมาณรายจ่าย และคิดเป็นเกือบครึ่งของงบประมาณ 2559 ที่มีงบรายจ่ายลงทุน 4.9 แสนล้านบาท ซึ่งทำไว้ใกล้เต็มเพดาน 20% ของงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปี เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการลงทุนมากขึ้น

    ทั้งนี้ ในงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม 2.5 แสนล้านบาท รัฐบาลจะสามารถจัดสรรงบสำหรับใช้ลงทุนผ่านงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้เพียง 1.25 แสนล้านบาทเท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 1.25 แสนล้านบาท หรือ 4-5 พันล้านเหรียญสหรัฐ จะต้องมาจากแหล่งเงินอื่น เช่น การกู้เงินในประเทศ จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อใช้ในปี 2558-2562 และแหล่งเงินทุนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ที่มีเป้าหมายปล่อยกู้ให้กับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น กองทุนกลุ่มประเทศอาเซียน

    “ยอมรับว่าการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2558 จะทำได้ต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อย แต่ไม่รู้สึกกังวลมากนักว่าจะส่งผลกระทบกับสถานะทางการคลัง เพราะสามารถจะมีการดึงเอาเงินปันผลของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจบางแห่งเข้ามาเสริมในส่วนนี้ รวมถึงขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการเดินหน้าปฏิรูปภาษี ซึ่งจะส่งผลดีกับการจัดเก็บรายได้ในอนาคต ช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ดังนั้นในช่วงปี 2558-2561 ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศ ดังนั้น จึงต้องจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลไปก่อน ซึ่งไม่น่ามีปัญหา”

ที่มา แนวหน้า

 

NEWS & TRENDS