​ARUKAS แอปพลิเคชั่น กู้วิกฤตออนไลน์แบบเรียลไทม์





     

     ด้วยข้อมูลข่าวสารมากมายที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ จะดีแค่ไหนหากเราสามารถรู้ได้ว่าใครกำลังคิดและพูดถึงสินค้าหรือแบรนด์ของเราว่าอย่างไรบ้าง ด้วยเหตุนี้บริษัท แสนรัก อารูคัส จำกัด ผู้นำนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการข้อมูล Real-Time Data ให้กับองค์กรชั้นนำมากมายในเมืองไทย จึงได้คิดค้นแอปพลิเคชั่น ‘ARUKAS’ ขึ้น เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้กับสินค้าและแบรนด์แบบเรียลไทม์ โดยแสดงผลผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจ รวมถึงป้องกันการเกิดวิกฤตบนโลกออนไลน์ได้อย่างทันท่วงที
               

     ภูกิจ ดิศธรานนท์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แสนรัก อารูกัส จำกัด กล่าวว่า แสนรัก อารูกัส คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์ของเมืองไทย โดยเฝ้าระวังและจัดเก็บข้อมูลเสียงสะท้อนจากผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมงให้กับแบรนด์ชั้นนำต่างๆ โดยแต่เดิมนั้นจะทำเป็นรายงานส่งเข้าไปให้กับลูกค้าอาจเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือนบ้าง แต่ในปีนี้เราได้ขยายการทำงานออกไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยคิดค้นนวัตกรรมใหม่เพิ่มเติมขึ้นมาเป็นแอพพลิเคชั่นชื่อว่า ARUKAS โดยสามารถใช้รายงานผลข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ให้กับลูกค้าที่เป็นเจ้าของแบรนด์ได้รับรู้แบบเรียลไทม์มากขึ้น โดยแสดงผลผ่านหน้าจอมือถือ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น และเป็นเจ้าแรกในไทยที่ทำเทคโนโลยีแบบนี้ขึ้นมา





     การทำงานของแอปพลิเคชั่น ARUKAS จะทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของแบรนด์ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์ออกมาเป็นข้อมูลต่างๆ โดยผ่านโปรแกรมอัตโนมัติที่วางไว้ เพื่อสรุปผลข้อมูลที่เป็นประโยชน์ส่งมอบให้กับแบรนด์ เช่น อินไซด์ของผู้บริโภค จุดอ่อนจุดแข็งของแบรนด์และคู่แข่ง ซึ่งเรียกว่า Smart Data นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการป้องกันวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นจากกระแสความคิดเห็นต่างๆ บนโลกออนไลน์ โดยได้ติดตั้งโปรแกรมประมวลผลเพื่อแจ้งเตือนระดับความรุนแรงต่างๆ เพื่อให้เจ้าของแบรนด์สามารถทำการตัดสินใจได้กับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้น
               

     “ARUKAS เป็นภาษเอสโตเนีย แปลว่าฉลาด หน้าที่ของแอปพลิเคชั่นดังกล่าว คือ ตรวจจับข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับแบรนด์นั้นๆ จากนั้นจะเปลี่ยนจากข้อมูลมหาศาลที่ได้รับ นำคัดสรรและวิเคราะห์ออกมาโดยทำงานผ่านระบบ AI ที่ถูกเขียนโปรแกรมขึ้นมา เพื่อส่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้แบรนด์สามารถนำไปใช้วางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดต่างๆ รวมถึงป้องกันวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้บนโลกออนไลน์ จากการจับกระแสความคิดเห็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยแบ่งเป็นระดับความรุนแรงตั้งแต่น้อยไปหามาก เป็นการนำเสนอข้อมูลแบบเรียลไทม์ตามสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในขณะนั้นส่งไปให้กับผู้ใช้งานได้ง่ายๆ ผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟนตลอด 24 ชั่วโมง จึงทำให้แบรนด์สามารถป้องกันและแก้ไขวิกฤตที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที”





     โดยนอกจากแอปพลิเคชั่น ARUKAS แล้ว บริษัทยังได้จัดตั้งศูนย์จัดการภาวะวิกฤติบนโลกออนไลน์ (Online Real-time Crisis Management Center : ORCC) แห่งแรกของไทยควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้บริการครบวงจรตั้งแต่การเฝ้าระวังและจัดเก็บข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง การเข้าไปช่วยจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการแก้ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ ตั้งแต่การให้คำแนะนำปรึกษา การร่างแถลงการณ์ ไปจนถึงการออกมาแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ให้สามารถกลับสู่สภาวะปกติได้แบบมืออาชีพ

              
     “การทำงานของศูนย์จัดการภาวะวิกฤติบนโลกออนไลน์ เป็นเหมือนการนำจุดเด่นทั้ง 2 อย่างมารวมกัน คือ 1. เทคโนโลยีที่มีความทันสมัยและแม่นยำสูงในการจัดการข้อมูลต่างๆ 2.ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการแก้ไขวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ ซึ่งในอดีตเราจะใช้เพียงแต่ประสบการณ์และความน่าจะเป็นเท่านั้นในการแก้ไขปัญหา แต่เมื่อมีเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีเข้ามาช่วยวิเคราะห์ จัดการข้อมูลต่างๆ จึงทำให้สามารถทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น”
               

     จากทั้ง 2 บริการที่เปิดตัวขึ้นมานั้น ภูกิจกล่าวว่าผู้สนใจสามารถเข้ามาใช้บริการได้ ตั้งแต่บริษัทขนาดใหญ่ที่เป็น global brand ไปจนถึง SME รายย่อย โดยจะเลือกใช้เป็นบริการแอปพลิเคชั่น ไปจนถึงบริการแบบครบวงจรก็ได้
       

        

     “ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 3 ปี เราบริหารจัดการข้อความบนโลกออนไลน์มากกว่า 100 ล้านข้อความ และแจ้งเตือนข้อมูลที่ต้องระวัง (case) มากกว่า 400,000 เคส/ปี ให้กับบริษัทและองค์กรชั้นนำต่างๆ กว่า 30 อุตสาหกรรม ซึ่งแทบจะครอบคลุมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจธนาคารการเงิน ยานยนตร์ สินค้าอุปโภคบริโภค โรงพยาบาล การศึกษา แปลว่าไม่ว่าจะเป็นข้อมูลแบบไหน เรามีประสบการณ์ในการจัดการข้อมูลประเภทนั้นมาแล้ว ซึ่งปัจจุบันเรามีลูกค้ากว่า 100 แบรนด์ แบ่งเป็นกลุ่ม SME อยู่ที่ 3-4 เปอร์เซ็นต์ โดยในปลายปีนี้หลังจากเปิดตัวแอปพลิเคชั่นและศูนย์แห่งนี้ เราคาดการณ์ว่าจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกเป็น 200 ราย โดยปัจจุบันเรามีทีมงานคอยซัพพอตดูแลมอนิเตอร์ข้อมูลต่างๆ ประมาณ 70 คน และคาดว่าจะขยายเพิ่มเป็น 100 คนในปลายปีนี้ ซึ่งด้วยศักยภาพที่มีอยู่เราสามารถรองรับลูกค้าแบรนด์ต่างๆ ได้มากสูงสูด 200 - 300 รายทีเดียว"


     "โดยรูปแบบการให้บริการของเรามีเลือกหลายแพ็กเกจ ตั้งแต่ระดับเล็ก ไปจนถึงแบบครบวงจร มีราคาตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลายสิบล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่สนใจก็สามารถใช้ได้เริ่มต้นตั้งแต่ 40,000 – 5 แสนบาท/เดือน แล้วแต่ขนาดของธุรกิจและจำนวนสินค้าที่มี แต่ถ้าให้แนะนำเราอยากให้ลองใช้เป็นแอปพลิเคชั่นไปก่อน เพื่อดูความจำเป็นเหมาะสม โดยใน 1 องค์กรสามารถใช้ได้ตั้งแต่ 5 -20 ยูสเซอร์ แล้วแต่แพ็กเกจที่เลือก สามารถเลือกใช้บริการเป็นรายเดือนหรือระยะยาวก็ได้ ราคาตอนนี้อาจจะดูสูงสักหน่อย แต่เราอยากให้มองเหมือนการป้องกันไว้ก่อน เพราะหากเกิดความเสียหายขึ้นมาจะไม่คุ้มกับรายได้ที่ต้องสูญเสียไป”



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: TECH

เจ๋งป่ะล่ะ! AI ผู้ช่วยเชฟคนใหม่ เก็บข้อมูลทำเมนูสุดโปรดเสิร์ฟลูกค้า ช่วยสแกนเศษอาหาร ลดต้นทุน ลดขยะ

ปัจจุบันโลกเรามีการนำ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ มาใช้พัฒนา ปรับปรุงสิ่งต่างๆ ขึ้นมากมาย ตั้งแต่เรื่องใหญ่ๆ ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ ล่าสุดใครจะคิดว่า แม้แต่ถังขยะในครัวของโรงแรมและร้านอาหาร ก็มีการนำ AI เข้ามาใชั

Mewre น้ำดื่มเพื่อสุนัขและแมวเจ้าแรกของโลก จากไอเดียที่ไม่อยากให้น้องป่วย เมื่อผู้บริโภคไม่ได้มีแค่คนเท่านั้น

Mewre น้ำดื่มเพื่อสุนัขและแมวเจ้าแรกของโลก อีกหนึ่งสินค้านวัตกรรมที่ทำมาเพื่อตอบโจทย์ชาว Pet Parent หรือ การเลี้ยงสัตว์เหมือนลูก เป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว

โกเล ไอเดียสแน็กเพื่อสุขภาพจากก้างปลา เปลี่ยน Waste ให้เป็นเงินล้าน ของทายาทโรงงานลูกชิ้นปลา

“โกเล” (Gole Crispy) ปลาทูแท่งอบกรอบแคลเซียมสูง นวัตกรรมจากก้างปลาทะเล เปลี่ยน Waste ให้เป็นเงินล้าน ของทายาทโรงงานลูกชิ้นปลา เพื่อช่วยวิกฤตธุรกิจครอบครัว