เปลี่ยนฟาร์มข้าวโพดให้อัจฉริยะ! เพิ่มแต้มต่อธุรกิจเกษตรตามแบบแบรนด์ดัง SUNSWEET

Text & Photo : พิมพ์ใจ พิมพิลา





Main Idea
 
  • เกษตรกรรมของประเทศไทยมีการแข่งขันสูง แต่บางครั้งก็ไม่สามารถเพิ่มผลิตได้ตามความต้องการ เหตุเพราะมีข้อจำกัดในเรื่องของคุณภาพของดิน น้ำ อากาศ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนเก่า
 
  • ภาคการเกษตรไทยยังนับว่าเกิดการพัฒนาน้อยมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศที่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่า
 
  • มาเรียนรู้การทำฟาร์ม KC ฟาร์มต้นแบบของบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ที่นำเอาเทคโนโลยีทั้งใหม่และเก่าเข้ามาใช้ได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นไปพร้อมกับการลดค่าใช้จ่ายในการผลิต

 

     ในสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นปัญหานี้แน่นอนว่ากลุ่มคนที่ประสบปัญหาอย่างมากคือเกษตรกร ที่ต้องกระตือรือร้นหารายได้อื่นเพื่อมาทดแทนรายจ่ายที่มากขึ้น หรือต้องหาความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อลดความเสี่ยงในกระบวนการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและเพิ่มปริมาณให้ได้คุ้มกว่าการปลูกในรูปแบบเดิมๆ





     อย่างฟาร์มต้นแบบ KC ของบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจข้าวโพดหวานแบบครบวงจรและผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตรอื่นๆ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแทบจะทุกกระบวนการในการปลูกบนพื้นที่ฟาร์มทั้งหมด 37 ไร่ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตข้าวโพดหวานจากเดิมอยู่ที่ 2 ตันต่อไร่ กลายเป็น 3-3.5 ตันต่อไร่ อีกทั้งยังเปิดฟาร์มให้เกษตรกรเครือข่ายหรือเกษตรกรทั่วไปเข้ามาหาความรู้หรือศึกษาข้อมูลได้ โดยมีผู้ให้คำแนะนำการใช้เทคโนโลยีกับวิธีการที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตด้วย



    

     อัมพันธ์ สุริยัง
ผู้จัดการฝ่ายผลิตและคลังสินค้า เล่าให้ฟังถึงการเทคโนโลยีที่นำมาใช้ ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ โดยร่วมกันกับบริษัทที่พัฒนาเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะ มีโรงเรือนในการเพาะกล้าให้กับเกษตรกรแทนการใช้เมล็ดในการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการป้องกันและดูแลระหว่างการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวาน


     เธอกล่าวว่า “เราใช้เครื่องมือ IoT (Internet of Things) ฝังหรือติดตั้งลงไปในพื้นที่ เมื่อมีการแจ้งเตือนว่าพื้นที่ต้องการน้ำหรือความชื้นในดินไม่เพียงพอ IoT จะแสดงผลไปยังวาล์วเพื่อให้วาล์วเปิดน้ำใส่แปลง ถ้าเซ็นเซอร์จับได้ว่าน้ำเพียงพอก็จุดก็สั่งหยุดหรือถ้าขาดน้ำก็จะมีการสั่งให้น้ำเปิดวาล์ว ซึ่งเซ็นเซอร์จะช่วยควบคุมความชื้นในดิน โดยแจ้งเตือนงผ่านแอปพลิเคชั่นให้เกษตรกรได้รับรู้ว่าพื้นที่เป็นอย่างไร”
    




     นอกจากนี้ยังใช้ระบบเวกเตอร์ สเตชั่น เพื่อเก็บข้อมูลทั้งทิศทาง อุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มแสง ทิศทางลม ความเร็วลม ปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ์ เพื่อบอกว่าสถานการณ์หรือสภาพอากาศในตอนนี้จะส่งผลอะไรต่อสิ่งที่เขาทำ เช่น การป้องกันแมลงหรือโรคต่างๆ ที่อาจเข้ามา
    

     ใช้โซล่าเซลล์ในการดึงน้ำจากบาดาลขึ้นมาใช้เพื่อจ่ายเข้ามาในแปลงร่วมด้วย ซึ่งในอนาคตข้อมูลเหล่านี้จะสามารถส่งมายังแอพพลิเคชั่นในมือถือของเกษตรกรได้ หรือการใช้โดรนเพื่อลดแรงงานคน ซึ่งถ้าเทียบกันระหว่างการใช้โดรนกับการใช้แรงงานมนุษย์ คือ มนุษย์จะมีค่าใช้จ่าย 35,000 บาท แต่โดรนมีค่าใช้จ่าย  25,000 บาท (รวมค่าสารเคมีแล้ว) โดยใน 1 วัน ถ้าใช้โดรน 1 ลำ สามารถทำงานได้ถึง100 ไร่ ซึ่งหากใช้แรงงานคนจะต้องใช้ถึง 20 คนต่อพื้นที่ 100 ไร่ และหากใช้แรงงานคนฉีดพ่นจะใช้น้ำประมาณ 8,000 ลิตร แต่โดรนจะใช้น้ำเพียง 400 ลิตรเท่านั้น ซึ่งนอกจากจะใช้โดรนแล้วยังใช้รถในการเก็บเกี่ยวเข้ามาร่วมด้วย
    




     อัมพันธ์กล่าวถึงข้อดีของการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ว่า เกษตรกรจะมีเวลาไปทำงานอย่างอื่นได้นอกจากการดูแลฟาร์ม เนื่องจากเซ็นเซอร์มันทำงานโดยระบบครบวงจร ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนเกษตรกรอาจจะอยู่เฝ้าพื้นที่ทั้งวัน และเธอมองว่าถ้าเกษตรกรสามารถรู้สภาพอากาศว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้ในอนาคต ก็จะสามารถมองเห็นปัญหาหรือเตรียมตัวแก้ไขได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแมลงหรือโรค ซึ่งถ้าแมลงน้อยผลผลิตก็จะเพิ่มขึ้น 1.5 ตันต่อไร่ แต่ถ้าเราใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ผลผลิตที่ได้จะสามารถเพิ่มขึ้น 2-3 ตันต่อไร่ ก็จะสามารถทำให้เขาได้ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นไปพร้อมกับเงินที่จะเหลือกลับมาเข้ากระเป๋า



    

     องอาจ กิตติคุณชัย
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางรอดของธุรกิจคือการนำองค์ความรู้ วิชาการและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ รวมไปถึงการนำประสบการณ์ที่ผ่านมามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเทคโนโลยีที่อยู่ในฟาร์มเป็นเพียงส่วนเล็กๆ  เท่านั้น
    

     “เราอยากให้ธุรกิจของเราเป็นประโยชน์ต่อผู้คนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร ทั้งแรงงาน พนักงานต่างๆ และเรื่องของอาหารที่มาจากภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่หล่อเลี้ยงชาวโลกอย่างทั่วถึง เพราะบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) จัดจำหน่ายข้าวโพดหวานทั่วโลก คิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย โดยรายได้ภายในประเทศอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์ภายใต้แบรนด์ KC โดยข้าวโพดหวานทั้งหมดจะได้มาจากการรับซื้อสินค้าแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง เราเข้าไปช่วยดูแลตั้งแต่เพาะปลูกจนเก็บเกี่ยว ทำให้ได้ผลผลิตตามจำนวนและมีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในการลดความเสียหายและลดต้นทุน” เขากล่าวเพิ่มเติมในสิ่งที่ฟาร์มซันสวีตกำลังทำเพื่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถนำข้าวโพดหวานเข้าสู่ตลาดโลกให้ได้
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: TECH

เจ๋งป่ะล่ะ! AI ผู้ช่วยเชฟคนใหม่ เก็บข้อมูลทำเมนูสุดโปรดเสิร์ฟลูกค้า ช่วยสแกนเศษอาหาร ลดต้นทุน ลดขยะ

ปัจจุบันโลกเรามีการนำ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ มาใช้พัฒนา ปรับปรุงสิ่งต่างๆ ขึ้นมากมาย ตั้งแต่เรื่องใหญ่ๆ ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ ล่าสุดใครจะคิดว่า แม้แต่ถังขยะในครัวของโรงแรมและร้านอาหาร ก็มีการนำ AI เข้ามาใชั

Mewre น้ำดื่มเพื่อสุนัขและแมวเจ้าแรกของโลก จากไอเดียที่ไม่อยากให้น้องป่วย เมื่อผู้บริโภคไม่ได้มีแค่คนเท่านั้น

Mewre น้ำดื่มเพื่อสุนัขและแมวเจ้าแรกของโลก อีกหนึ่งสินค้านวัตกรรมที่ทำมาเพื่อตอบโจทย์ชาว Pet Parent หรือ การเลี้ยงสัตว์เหมือนลูก เป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว

โกเล ไอเดียสแน็กเพื่อสุขภาพจากก้างปลา เปลี่ยน Waste ให้เป็นเงินล้าน ของทายาทโรงงานลูกชิ้นปลา

“โกเล” (Gole Crispy) ปลาทูแท่งอบกรอบแคลเซียมสูง นวัตกรรมจากก้างปลาทะเล เปลี่ยน Waste ให้เป็นเงินล้าน ของทายาทโรงงานลูกชิ้นปลา เพื่อช่วยวิกฤตธุรกิจครอบครัว