เทคโนโลยีพลิกโฉมธุรกิจ Healthcare อยู่ที่ไหนก็ดูแลกายและใจลูกค้าได้




Main Idea

 
 
     ธุรกิจ Healthcare ยุคใหม่ต้องทำ
 
 
  • สื่อสารผ่านเครื่องมือดิจิทัล ต้องมีระบบข้อมูลดิจิทัลเพื่อให้ลูกค้าและคนในองค์กรเข้าถึงข้อมูลการรักษา พฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ เพื่อสะดวกต่อการรักษามากยิ่งขึ้น
 
  • รุกลูกค้ารายบุคคล เพราะร่างกายแต่ละคนแตกต่างกันจึงต้องการการรักษาที่ต่างกันไปด้วย
 
  • ใช้เทคโนโลยี Telehealth ที่จะทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น
 


               
     วงการธุรกิจการดูแลสุขภาพ (Healthcare) กำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงทางประชากร ทั้งในมุมของการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้นยิ่งผลักดันให้ธุรกิจ Healthcare มีแต่จะเติบโตมากขึ้น และนี่คือทิศทางของธุรกิจดูแลสุขภาพที่เราจะได้เห็นกัน



 
 
สื่อสารผ่านเครื่องมือดิจิทัล
               

     ผู้บริโภคสมัยนี้ต้องการตอบโต้กับแบรนด์ผ่านช่องทางดิจิทัล ทุกๆ วันพวกเขาแชทกับบอทและหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ แต่สำหรับการใช้บริการธุรกิจเพื่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลหรือศูนย์การแพทย์ใดๆ ก็ตาม ลูกค้ายังจำเป็นต้องยกหูโทรศัพท์เพื่อถามคำถามพื้นฐานอยู่เลย


      ดังนั้น ธุรกิจเพื่อสุขภาพจึงต้องเพิ่มประสิทธิภาพด้านดิจิทัล ไปจนถึงจัดเตรียมระบบที่รองรับข้อมูลของลูกค้าได้อย่างเสรี เพื่อที่จะเข้าถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อให้การรักษาหรือดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่เข้าถึงง่ายขึ้น มีความพร้อมในการให้ข้อมูล การส่งต่อข้อมูล และการทำงานร่วมกันของแต่ละแผนก จำเป็นต้องมีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้บริการด้านสุขภาพ มีแพลตฟอร์มที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย ทั้งการนัดหมายแพทย์ รับคำปรึกษาทางการแพทย์ รับใบสั่งยา ไปจนถึงซื้อยา จะเห็นได้ว่าสามารถสร้างระบบแบบครบวงจรบนโลกดิจิทัล



 

ใส่ใจลูกค้ารายบุคคล
               

     ลูกค้าเบื่อที่จะได้รับการปฏิบัติเหมือนกับคนอื่นๆ พวกเขารู้สึกว่าความต้องการด้านสุขภาพของแต่ละคนไม่เหมือนใครและต้องการรับคำแนะนำและการสื่อสารส่วนบุคคล ในขณะเดียวกันก็ต้องการคนที่สามารถไว้วางใจได้เพื่อนำพวกเขาผ่านโลกของการดูแลสุขภาพที่ซับซ้อน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับการรักษาที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเอง
               

     ดังนั้นจึงต้องพยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเชิงรุก อาทิ ช่วงที่ผ่านมามีบริษัทด้านการดูแลสุขภาพหลายแห่งพยายามเข้าถึงผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดโควิด-19 หรือผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับการดูแลที่จำเป็นก่อนจะสายเกินไป ซึ่งวิธีนี้อาจจะเป็นไปไม่ได้เลยหากไม่มีระบบข้อมูลที่แข็งแกร่งและรู้จักลูกค้าเป็นรายบุคคล


     แนวทางเชิงรุกในการดูแลผู้ป่วยจะช่วยให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น รู้สภาวะผู้ป่วยปัจจุบันและสามารถรักษาได้ทันก่อนที่อาการจะแย่ลงหรือกลายเป็นโรคเรื้อรังได้



 

Telehealth ดูแลสุขภาพทางไกล
               

     ธุรกิจเพื่อสุขภาพได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อย่างมาก บางทีอาจจะมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วยซ้ำ ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพจึงต้องเปลี่ยนแนวทางในการสื่อสารและรักษาผู้ป่วย เปลี่ยนจากการพบผู้ป่วยด้วยตนเองไปสู่การรักษาแบบเสมือนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการรักษาหรือการให้คำปรึกษาเป็นประจำ
               

     Telehealth ได้รับการขนานนามว่าเป็นอนาคตของการดูแลสุขภาพ ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลายเป็นตัวเร่งให้เทคโนโลยีนี้แพร่หลายเร็วมากขึ้น ปัจจุบันมีผู้รักษาสุขภาพทางไกลประมาณ 530,000 ครั้งต่อเดือน และประมาณ 47 เปอร์เซ็นต์คือการรักษาเรื่องสุขภาพจิต
               

     ความนิยมวิธีการรักษาแบบนี้จะดำเนินต่อไปเพราะลูกค้าได้รับประสบการณ์ความสะดวกในการพบแพทย์แม้จะอยู่ที่บ้านก็ตาม เพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ของผู้บริโภค ผู้ประกอบการธุรกิจด้านสุขภาพจะต้องเพิ่มขีดความสามารถด้าน Telehealth เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ราบรื่นอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลในรูปแบบที่สะดวกที่สุดสำหรับพวกเขา
 

     ที่มา : www.forbes.com
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: TECH

ขวดยาย่อยสลายได้ ไม่ใช่แค่รักษาคน แต่ยังเยียวยาโลก

ขวดกระดาษทรงกระบอกที่มีชื่อว่า Tully Tubes นี้ไม่ได้เป็นเพียงแนวคิดเท่ๆ แต่ใช้บรรจุยาและอาหารได้จริง โดยผู้ใช้สามารถดึงแถบแยกวัสดุออกได้ง่ายๆ ส่วนขวดนำไปเป็นปุ๋ย ขณะที่ฝาไปรีไซเคิลต่อได้

“แว่นจ่ายได้!” เปิดโลกใหม่แห่งการชำระเงินผ่านแว่นตาอัจฉริยะ

พาไปรู้จักโซลูชั่นการชำระเงินผ่านแว่นตาอัจฉริยะ ครั้งแรกของโลก ผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล AlipayHK เพียงแค่ มอง สแกน หรือสั่งงานด้วยเสียง ก็จ่ายเงินได้ทันที

NIA จับมือ UNIDO เปิดเวทีหนุนสตาร์ทอัพเชื่อมองค์กร ลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และคอนกรีต

รู้จักโครงการ “Innovation Acceleration Programme for Decarbonization of the Cement and Concrete Industries” ที่จะขับเคลื่อนผู้ประกอบการไทยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้ามาช่วยในอุตสาหกรรม