อย่าปล่อยให้ธุรกิจล้าหลัง ส่อง 4 นวัตกรรม ตัวช่วยธุรกิจ SME เพิ่มรายได้

 

 

      ต้องยอมรับว่าวิกฤต โควิด-19 ไม่เพียงแต่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพ ยังสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล ภาคธุรกิจจำนวนมากจำเป็นต้องปิดกิจการ แต่ในขณะเดียวกัน โควิด-19 นั่นเอง ที่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ทั้งยังมอบ ‘บทเรียน’ แก่ภาคธุรกิจให้พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้คือ เทคโนโลยี นวัตกรรม

      นี่คือ 4 นวัตกรรมดาวเด่นจากงาน ‘KMITL INNOKET 2022 ตลาดนวัตกรรมสร้างอาชีพ-ต่อยอดธุรกิจ’ สามารถนำไปต่อยอดได้ในเชิงธุรกิจ ได้จริงดังนี้

1. นวัตกรรมตรวจคุณภาพ

     มาตรฐานและคุณภาพของผลผลิตถือเป็นสิ่งสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและสามารถนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า อย่างการสร้างมาตรฐานให้กับผลผลิตการเกษตรของไทย ที่ทีมนักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ได้คิดค้นและพัฒนา ‘เครื่องคัดแยกคุณภาพเนื้อทุเรียน’ ด้วยโซ่ถาดลําเลียงคลื่นไมโครเวฟ (Durian Maturity Inspection) ที่สามารถระบุได้ว่าพูทุเรียนที่ผ่านการลำเลียงบนสายพานนั้น มีคุณภาพอยู่ในระดับ ‘อ่อน หรือ แก่’ รวมถึงมีปริมาณแป้งและน้ำตาลของทุเรียนมากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นเครื่องดังกล่าวยังสามารถใช้ตรวจวัดการขาดสารอาหารของผลผลิตได้อีกด้วย ผ่านการตรวจจากใบทุเรียน นับได้ว่าเครื่องคัดแยกคุณภาพเนื้อทุเรียน จะมีส่วนคัดสรรคุณภาพผลผลิตก่อนจัดจำหน่ายภายในประเทศ และส่งออกไปยังต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      นอกจากการพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพผลไม้แล้ว ทางคณะวิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ สจล. ยังได้คิดค้น ‘แผ่นตรวจสารเคมีในผัก-ผลไม้ชนิดใช้ซ้ำได้’ ที่สามารถตรวจร่องรอยของสารเคมีที่มีความเข้มข้นต่ำได้อย่างรวดเร็ว เช่น ยาฆ่าแมลงในผักและผลไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ อุปกรณ์สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้มากกว่า 30 รอบ โดยมีอายุการเก็บรักษาได้นานถึง 6 เดือน ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าวอยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตรและพร้อมต่อการถ่ายทอดนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้วในงบลงทุนที่ 200,000 บาท

2. เม็ดดินเผา ป๊อปเพอร์ไลท์

     จากกระแสการปลูกต้นไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบที่กำลังมองหานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบาย ทาง สจล. จึงคิดค้นเม็ดดินเผา ป๊อปเพอร์ไลท์ ที่ใช้สำหรับปลูกพืชและปิดหน้ากระถางไม้ประดับ มีคุณสมบัติในการช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในกระถางต้นไม้ และสารอาหารให้พืชได้ดี โดยเม็ดดินเผา “ป๊อปเพอร์ไลท์” เกิดจากการนำส่วนผสมที่หาได้ง่าย ราคาถูก และสามารถเผาขึ้นรูปได้ด้วยการใช้อุณหภูมิที่ต่ำลง ซึ่งนอกจากจะลดต้นทุนลงได้แล้ว ยังสามารถช่วยลดการใช้พลังงานอีกด้วย โดยมีมูลค่าการจำหน่ายเริ่มต้นอยู่ที่ 50 บาทต่อแพค

3. นวัตกรรมการแปรรูป

      ในการทำเกษตรมักมีสิ่งเหลือทิ้งมากมาย การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สิ่งเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร ถือเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นได้จากสิ่งใกล้ตัว เช่นเดียวกับนักวิจัยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง’ (สจล.) หรือ ‘KMITL ที่มองเห็นประโยชน์ของสิ่งเหลือทิ้งจากนาข้าวอย่าง ‘ปลายข้าวหักหรือข้าวหัก’ เศษของเมล็ดข้าวที่เกิจากการแตกหักมาพัฒนาเป็น ‘สแน็คกรอบจากข้าวเหนียวหัก’ อาหารทานเล่น มาพร้อมกระบวนการทำและส่วนผสมของวัตถุดิบ เพราะมีทั้งข้าวเหนียว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เทมเป้ กะทิ และโปรตีนถั่วเหลือง แถมยังให้รสสัมผัสที่หอมมัน ผิวสัมผัสที่พองกรอบเสมือนทานข้าวเกรียบว่าวและขนมแดกงา ทั้งนี้ วิสาหกิจชุมชนใดที่สนใจสามารถขอรับการถ่ายทอดนวัตกรรมได้ในราคาเริ่มต้นที่ 25 บาท

       นอกจากปลายข้าวหักแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เกิดสภาวะล้นตลาดทุกช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายนคือ ‘มะม่วง’ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ได้นำมาสร้างมูลค่าเพิ่มจนเกิดเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ‘มะม่วงไซเดอร์’ เครื่องดื่มที่ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการท้องอืด/ท้องเฟ้อ ลดอาการระคายคอ เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่มีกรดสูงจากการนำมาผ่านกระบวนการผลิตสูตรเฉพาะ ระหว่างนักวิจัยและบริษัทเอกชนผู้ร่วมทุนบริษัท แอกโกรนิก้า จำกัด ในเลขที่ทรัพย์สินทางปัญญา 12907 จากการนำน้ำส้มสายชูหมัก (Fermented Vinegar Production Process) มาผสมน้ำหมักเข้ากับอากาศ (Internal Venturi Ejector System) ทั้งนี้ วิธีการดังกล่าวนับเป็น 1 ในเทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมสามารถเข้าถึงได้ เพื่อสร้างประโยชน์ทางการค้า ตลอดสนับสนุนภาคการเกษตรลดปัญหาราคามะม่วงตกต่ำได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

4. รถเข็นสุดไฮยีน

       อาหารริมบาทวิถี หรือ สตรีทฟู้ด ในประเทศไทยถือเป็นเอกลักษณ์ และได้รับความนิยมจากประชาชนในเมืองรวมถึงชาวต่างชาติ ทางคณะอุตสาหกรรมอาหาร สจล. จึงได้ออกแบบนวัตกรรม ‘รถเข็นสุดไฮยีน’ เทคโนโลยีข้างถนน ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาและสร้างมาตรฐานร้านค้าสตรีทฟู้ดที่ถูกสุขลักษณะ ทั้งยังสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น จากการมีฟังก์ชันรถเข็นที่มาพร้อมระบบน้ำเพื่อทำความสะอาดผลผลิต/อุปกรณ์ต่างๆ ที่ครบจบในตัว ระบบบำบัดควันให้ใสสะอาดก่อนปล่อยคืนสู่อากาศ ที่นอกจากช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 แล้ว ยังช่วยลดการสร้างกลิ่นอาหารกระจายทั่วบริเวณ เป็นต้น โดยเครื่องมือทำกินชิ้นนี้ราคาอยู่ที่ 40,000 – 50,000 บาท ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) หรือ TIJ

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: TECH

เจ๋งป่ะล่ะ! AI ผู้ช่วยเชฟคนใหม่ เก็บข้อมูลทำเมนูสุดโปรดเสิร์ฟลูกค้า ช่วยสแกนเศษอาหาร ลดต้นทุน ลดขยะ

ปัจจุบันโลกเรามีการนำ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ มาใช้พัฒนา ปรับปรุงสิ่งต่างๆ ขึ้นมากมาย ตั้งแต่เรื่องใหญ่ๆ ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ ล่าสุดใครจะคิดว่า แม้แต่ถังขยะในครัวของโรงแรมและร้านอาหาร ก็มีการนำ AI เข้ามาใชั

Mewre น้ำดื่มเพื่อสุนัขและแมวเจ้าแรกของโลก จากไอเดียที่ไม่อยากให้น้องป่วย เมื่อผู้บริโภคไม่ได้มีแค่คนเท่านั้น

Mewre น้ำดื่มเพื่อสุนัขและแมวเจ้าแรกของโลก อีกหนึ่งสินค้านวัตกรรมที่ทำมาเพื่อตอบโจทย์ชาว Pet Parent หรือ การเลี้ยงสัตว์เหมือนลูก เป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว

โกเล ไอเดียสแน็กเพื่อสุขภาพจากก้างปลา เปลี่ยน Waste ให้เป็นเงินล้าน ของทายาทโรงงานลูกชิ้นปลา

“โกเล” (Gole Crispy) ปลาทูแท่งอบกรอบแคลเซียมสูง นวัตกรรมจากก้างปลาทะเล เปลี่ยน Waste ให้เป็นเงินล้าน ของทายาทโรงงานลูกชิ้นปลา เพื่อช่วยวิกฤตธุรกิจครอบครัว