JM CUISINE ใส่เทคโนโลยีพลิกโฉมธุรกิจ

 

 

 
ด้วยความที่สองพี่น้อง ธีรศานต์-ธวัชชัย สหัสสพาศน์ เป็นคนยุคใหม่ที่สนใจเทคโนโลยี พวกเขาจึงเชื่อมั่นว่า เทคโนโลยีจะสามารถสร้างโอกาสให้ธุรกิจได้ ปัจจุบันทั้งคู่ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายสร้างสรรค์ธุรกิจ บริษัทไทยทำน้ำผลไม้ เพชรบุรี จำกัด แต่พวกเขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้รีแบรนด์ “เจ๊กเม้ง” ร้านก๋วยเตี๋ยวเก่าแก่ใน จ.เพชรบุรี ให้กลายเป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารในชื่อใหม่ JM CUISINE ด้วยการทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์อย่างโซเชียลมีเดีย
 
“เดิมธุรกิจอาหาร ถ้าจะทำการประชาสัมพันธ์ต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อสื่อโทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ในการโฆษณา ซึ่งเป็นไปไม่ได้ด้วยยอดขายจำนวนไม่มาก เราจึงเป็นแบรนด์แรกและเป็นแบรนด์เดียวที่ผนวกสื่อออนไลน์ทุกอย่างที่คนไทยใช้ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Hi 5 หรือ Youtube ในการสื่อสารกับลูกค้า นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ Flickr และระบบเช็คอินผ่าน Foursquare ล่าสุดเราใช้ Instagram ในการอัพโหลดภาพลูกค้าที่มาใช้บริการที่ร้าน” 
 
ความสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีทำการตลาดของ JM CUISINE สะท้อนให้เห็นผ่านฐานลูกค้าในปัจจุบันกว่า 60,000 ราย ซึ่งมีประโยชน์มากในการทำธุรกิจ เพราะระบบการจัดเก็บข้อมูลทุกอย่างของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์หรืออีเมล เพื่อนำไปต่อยอดทางธุรกิจด้วยการติดต่อแจ้งข่าวสารและโปรโมชั่นถึงกลุ่มลูกค้าได้โดยตรง ซึ่งจะมีทีมงานคอยทำหน้าที่ส่ง sms ขอบคุณลูกค้า วิธีการนี้จะช่วยให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกที่ดีและผูกพันกับแบรนด์ทางอ้อม
 
“ในการส่ง sms หาลูกค้า เราจะแนบลิงก์ Facebook หรือ Twitter ของร้านไปด้วย ซึ่งลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนสามารถกดลิงก์ไปได้เลยทันที และหากลูกค้าเซฟเบอร์โทรศัพท์ของร้านเราไว้ในเครื่องก็จะทำให้ Contact ของเราไปขึ้นอยู่ใน Whatsapp หรือว่า Line ของเขาทันที ซึ่งตรงนี้เราสามารถขยายฐานลูกค้าและมีความผูกพันกับลูกค้าเพิ่มขึ้น” 
 
ผลจากการสร้างระบบบริหารงานและวางแผนการตลาดที่ดี ทำให้ JM CUISINE เติบโตทางธุรกิจเท่าตัวทุกปี นอกจากร้านอาหารทั้ง 2 สาขา ยังแตกไลน์ธุรกิจอาหารเพิ่มเติม เช่น JM Catering ที่ให้บริการออกร้านนอกสถานที่ บริการจัดเลี้ยงบุฟเฟต์สำหรับกรุ๊ปทัวร์ และบริการส่งตรงอาหารแบบเดลิเวอรี่ ธวัชชัยยอมรับว่าการขยายธุรกิจทำให้ต้นทุนสูงขึ้น จึงต้องมีการวางแผนเรื่องรายได้ล่วงหน้า โดยการดึงกรุ๊ปทัวร์มาลงที่ร้านเป็นประจำ ทำให้สามารถการันตียอดขายได้ว่าจะไม่มีทางขาดทุน ซึ่งเครื่องมือสำคัญที่เขานำมาใช้ในการนำเสนอข้อมูลแก่ลูกค้า ก็คือ สื่อออนไลน์อย่าง Blog, Facebook, Youtube ฯลฯ ที่นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าแล้ว ยังลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลา 
 
“การที่เราเป็นร้านเล็กๆ สื่อออนไลน์เหล่านี้จะช่วยได้มาก ส่วนใหญ่ลูกค้าเข้ามาจะชอบถ่ายรูปแล้วไปโพสต์ต่อ เราจึงมีการจัดมุมถ่ายรูปให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า และบนโต๊ะจะมีกล่องตะเกียบ กล่องช้อนที่เป็นโลโก้ร้านติดไปด้วย เป็นการสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคเกิดการซึมซับในแบรนด์อีกทางหนึ่ง”
 
ธีรศานต์กล่าวต่อว่า วันนี้ธุรกิจที่ใช้สื่อออนไลน์ในการโฆษณาจะมีรูปแบบที่คล้ายกัน แต่สิ่งที่ทำให้แตกต่าง คือความสม่ำเสมอ ต้องทำอย่างต่อเนื่องทุกวัน หรือจำนวนยอดวิวหรือยอดที่มีคนมากดไลค์มากๆ ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจประสบความสำเร็จ เพราะหากหยุดทำโปรโมชั่นยอดไลค์ก็จะหายไป แต่ถ้าใช้วิธีการดึงคนที่เป็นลูกค้าจริงๆ เข้ามากดไลค์เป็นแฟนเพจ เชื่อว่าวิธีนี้จะสามารถขยายฐานลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนที่สุด
 
หากคิดจะใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษาวิธีใช้อย่างรู้เท่าทันด้วย
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

กว่าจะเป็น สุขกับป๊อกกี้ ร้านลับ ชื่อเท่ เมืองสัตหีบ ที่ใครมาก็ต้องได้ความสุขกลับไป

“สุขกับป๊อกกี้” คาเฟ่ & ร้านอาหารชื่อแปลกหู อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ที่แค่ฟังก็รู้ว่าต้องเป็นพื้นที่แห่งความสุข

บ้านอยู่ดีมีความสุข เกาะสีชัง กับแนวคิดทำธุรกิจให้มีขยะน้อยที่สุด

เราไม่สามารถลดขยะให้เป็นศูนย์ได้ แต่สามารถลดให้น้อยลงได้ แค่ลองตั้ง Mindset ค่อยๆ ลงมือทำไปทีละนิด ไม่ว่าใครก็ทำได้ เหมือนกับ “บ้านอยู่ดีมีความสุข” ที่พักเล็กน่ารักบนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี ที่เริ่มต้นทำจากจุดเล็กๆ ไปทีละอย่าง

บ้านๆ น่านๆ ตำนานที่พัก+ห้องสมุด รายแรกของไทย ใช้สิ่งที่รักต่อยอดธุรกิจโตกว่าทศวรรษ

เพราะความรู้ ความบันเทิง ความรื่นรมย์ไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือ แต่มันอยู่ในชีวิตเราทุกรูปแบบ นี่คือ เหตุผลที่ทำให้ "ชโลมใจ ชยพันธนาการ" (ครูต้อม) อดีตครูสอนวิชาภาษาไทยผันตัวมาเป็นเจ้าของที่พัก “บ้านๆ น่านๆ” ที่มีจุดขาย คือ มีห้องสมุดไว้สำหรับหนอนหนังสือเป็นรายแรกของไทย