KEEEN นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

 

 
“ในอนาคตการแข่งจะสูงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปิด AEC ตลาดสินค้าประเภทซื้อมาขายไป พื้นที่จะน้อยลงไปเรื่อยๆ สุดท้ายแล้วจะเจอปัญหาเรื่องของสงครามราคา ฉะนั้น สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจยั่งยืนได้ จะต้องมีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดความแตกต่าง” 
 
วสันต์ อริยพุทธรัตน์ ประธานบริหาร บริษัท ไฮกริม เอ็นไวรอนเมนทอล แอนด์ รีเสิร์ช จำกัด กล่าวถึงการที่ผู้ประกอบการธุรกิจจำเป็นต้องมีนวัตกรรมเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยิ่งหากนวัตกรรมนั้นสามารถช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ก็ยิ่งเป็นสิ่งที่ดี จึงนำมาสู่พัฒนานวัตกรรมไบโอเทคโนโลยีจนได้ “สารชีวบำบัดภัณฑ์” (Bioremediation Agent) ภายใต้ชื่อ KEEEN ขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ของธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายที่แฝงอยู่ในกระบวนการผลิต รวมทั้งสามารถช่วยบำบัดของเสียก่อนปล่อยคืนสู่สิ่งแวดล้อม
 
“เราใช้เวลาในการศึกษาลองผิดลองถูกอยู่นานร่วม 10 ปี โดยร่วมกับไบโอเทค และ สวทช. คิดค้นปรับปรุงนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ จนกระทั่งได้สูตรที่เหมาะสมและออกมาเป็นชีวบำบัดภัณฑ์ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษในการขจัดคราบน้ำมันและคราบสิ่งสกปรกที่กำจัดยากในอุตสาหกรรมได้อย่างครบวงจร โดยสามารถทั้งขจัด บำบัด และเยียวยาเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นเจ้าแรกในไทยและเอเชียที่สามารถพัฒนานวัตกรรมนี้มาใช้กับอุตสาหกรรมได้จริง”
 
ในมุมมองของวสันต์ นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน และ KEEEN เป็นนวัตกรรมสีเขียว ที่ให้ความสำคัญกับการมองลึกลงไปมากกว่าแค่คำว่า “กรีน” เพียงผิวเผิน นอกจากเป็นสิ่งใหม่ มีประโยชน์ มีคุณค่า และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังตอบโจทย์ทั้งผู้ประกอบการผลิตที่ต้องการลดต้นทุนในการบำบัดน้ำเสียในภาคอุตสาหกรรม และผู้บริโภคทั่วไปที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย
 
นอกจากนี้ วสันต์มองว่าในปัจจุบันนวัตกรรมไม่ได้คิดค้นออกมาเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่ควรจะมองเป็นแบบมาร์เก็ตติ้ง 3.0 เป็นนวัตกรรมเชิงคุณค่า คือไม่ใช่แค่นวัตกรรมเพื่อตัวบริษัทหรือองค์กรธุรกิจ แต่เพื่อสังคม เพื่อส่วนรวม และเพื่อมวลมนุษยชาติด้วย จากแนวคิดดังกล่าว บวกกับกระแสการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Business การคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมจึงช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมไทยทางอ้อม
 
“KEEEN ออกเสียงเหมือนคำว่า KEEN ที่แปลว่า ดูแลเอาใจใส่ซึ่งเป็นความหมายที่ดี แต่จริงๆ แล้วชื่อของเรามาจากภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่าทองคำ เรามองว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมนี้จะไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรและธุรกิจ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมส่งออกที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับกระแสกรีนเทคโนโลยี ก็เหมือนกับเราให้สิ่งที่มีค่ากับผู้บริโภค”
 
แม้ KEEEN จะมีข้อจำกัดเพราะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ทำให้ต้องพยายามทำการตลาดในเชิงกลยุทธ์แบบ CEM (Customer Experience Management) เพื่อให้ลูกค้าใช้แล้วเกิดการบอกต่อกันไป และนอกจาก CEM แล้ว การใช้กลยุทธ์การตลาดแบบกรีนมาร์เก็ตติ้ง โดยชูการใช้นวัตกรรมอย่างกรีนเทคโนโลยีเป็นจุดขาย นับเป็นการเปิดประตูให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมไทยสามารถก้าวเข้าไปแข่งขันในธุรกิจสีเขียวกับต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
ตราบใดที่ผู้ประกอบการไม่หยุดนิ่งในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ โอกาสแห่งความสำเร็จก็ยังคงมีอยู่เสมอ
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

ทำไมบันไดต้องมีแบรนด์? ฟังเฉลยจาก "ลายวิจิตร" ผู้คิดโซลูชั่นบันไดสำเร็จรูป พาธุรกิจโต 10 เท่า

โดยส่วนใหญ่ในธุรกิจ B2B การสร้างแบรนด์ อาจดูไม่ค่อยมีความจำเป็นมากเท่ากับ B2C ที่ขายปลีกโดยตรงถึงผู้บริโภค ยิ่งเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในงานต่างๆ ตัวอย่างเช่น บันได แต่แล้วทำไม? บันได ต้องมีแบรนด์ ไปดูกัน

คำสารภาพจากแม่ค้าประตูน้ำ ยอมออกจาก Comfort zone สู่โลกออนไลน์ เมื่อความสำเร็จเดิมใช้ไม่ได้อีกต่อไป

ช่วงนี้มักได้ยินเสียงบ่นของพ่อค้าแม่ค้าหนาหูว่า เศรษฐกิจไม่ดีและไม่ใช่เศรษฐกิจไม่ดีแบบธรรมดา แต่เป็นเศรษฐกิจที่แย่สุดๆ รับรู้ได้จากแม่ค้าหลายรายได้โพสต์คลิประบายความในใจจนกลายเป็นไวรัล

บ้านต้นไม้ร้อยหวัน โฮมสเตย์ที่อยากให้คนมาใช้ชีวิตเรียบง่าย กินของพื้นบ้านและนอนฟังสายน้ำ

บ้านพักแนวโฮมสเตย์รักษ์วิถีชุมชน ที่อยากชวนคนให้มาอยู่กับธรรมชาติอย่างเรียบง่าย กินของพื้นบ้านและนอนฟังสายน้ำ รับเฉพาะลูกค้าจองล่วงหน้าเท่านั้น