​เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ ยั่งยืนแบบครบวงจรด้วย Zero waste

Text : กองบรรณาธิการ





     เริ่มต้นด้วยฟาร์มเลี้ยงหมูและโรงงานอาหารสัตว์ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 กับบริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด จนในตอนนี้ เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ ได้เติบโตขึ้นกลายเป็น ผู้ผลิตเนื้อสัตว์และอาหารสัตว์รายใหญ่ระดับประเทศ ด้วยแนวคิดอันชาญฉลาดของผู้บริหารอย่าง สมชาย นิติกาญจนา ที่ได้นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการองค์กรเพื่อสร้างรากฐานให้องค์กรมีความแข็งแรงอย่างยั่งยืนด้วยการเน้นบริหารจัดการบุคลากรภายในองค์กรรวมทั้งนำแนวคิดจัดการของเสียแบบ Zero Waste คือใช้ประโยชน์จากของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
               

     จากการเปิดเผยของ สมชาย ผู้ก่อตั้ง เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ ได้พูดถึงแนวคิดในช่วงที่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมาว่าต้องการที่จะทำให้บริษัทของเขามีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
               

     “ในช่วงที่ผมเริ่มทำบริษัท ตอนนั้นผมก็คิดว่าจะทำอย่างไรให้องค์มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ถ้าเกิดว่าธุรกิจสร้างปัญหาให้กับชุมชนแล้วคนรอบข้างจะยั่งยืนได้อย่างไร นอกจากนี้ยังต้องทำให้แตกต่างกับคนอื่น ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีและการวิจัยมาใช้ในการทำธุรกิจ ไม่อย่างนั้นเราก็จะสู้คนอื่นไม่ได้ เรายังมีการสร้างความน่าเชื่อถือด้วยรางวัลต่างๆ ที่เราได้รับ มีการรับรองมาตรฐานของโรงงาน GMP/HACCP มี ISO 9001 ตอนนั้นผมไม่มีเงินเลย แต่พอเรามีรางวัล ไปคุยกับธนาคารหรือขายของให้กับลูกค้า เราก็มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น รางวัลต่างๆ ที่เราได้รับมันเป็นเครื่องการันตีว่าบริษัทเรามีคุณภาพ”
               

     อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญที่ทำให้ เอส พี เอ็ม เป็นองค์กรต้นแบบของความพอเพียงนั่นคือระบบการจัดแบบ Zero waste ที่เปลี่ยนของเสียในโรงงานให้นำกลับมาทำประโยชน์ในกระบวนการผลิตไปจนถึงการสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนโดยรอบ เพราะในโรงงานจะมีของเสียจากการเลี้ยงสุกรและการผลิตอาหารสัตว์ เอส พี เอ็มจึงมีการนำของเสียมาหมักให้กลายเป็นระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพและมีการทำระบบท่อส่งน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วไปให้ชุมชนที่ทำฟาร์ม ทำสวน ทำไร่ ให้พวกเขานำไปทำเป็นปุ๋ยอีกด้วย  
               

     “แนวทางการทำธุรกิจของเราคือเราอยากจะทำให้ของเสียในโรงงานกลับมาใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง อย่างเราทำธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ การเลี้ยงหมู ซึ่งจะมีปัญหาตามมาคือกลิ่นเหม็น มีแมลงวัน มีของเสีย มีน้ำเสีย เราก็คิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาตรงนี้ได้ เราเลยนำของเสียมาหมักเป็นแก๊ส เอาน้ำเสียไปปลูกกล้วย ปลูกอ้อย ปลูกปาล์มน้ำมัน จากนั้นก็นำไปผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ นำน้ำร้อนที่ได้จากเครื่องยนต์ไปกกลูกหมูแทนการใช้ไฟฟ้า นำของเสียที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สิ่งที่ได้คือเราลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลง ไม่ทำความเดือดร้อนให้ชาวบ้านอีกด้วย ทำให้เราสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนเพราะมีต้นทุนที่ต่ำลง อยู่ได้ด้วยตนเอง มีกระบวนการผลิตที่พึ่งตนเองตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ”
               

     นอกจากการพัฒนากระบวนการผลิต นำเทคโนโลยีและการวิจัยมาใช้จนทำให้เอส พี เอ็ม มีความเข้มแข็งตั้งแต่รากฐาน อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือบุคลากรในองค์กรที่สมชายพยายามทำให้พนักงานมีความสุขเหมือนที่ทำงานคือบ้านของทุกคน
               

     “เราให้ความสำคัญกับพนักงาน ให้พนักงานในองค์กรคิดว่าที่นี่คือบ้านของคุณ เราอยากให้พนักงานได้สิ่งที่ดีที่สุด เติบโตไปด้วยกัน ทำอย่างไรที่จะโตไปด้วยกัน ถ้าเรานอนห้องแอร์ พนักงานก็ต้องนอนห้องแอร์ ถ้าบริษัทโตขึ้น เขาก็ต้องโตขึ้นไปด้วย พนักงานจะต้องอยู่ดีกินดี มีสวัสดิการต่างๆ ดูแลพนักงานเพื่อให้พนักงานสามารถดูแลตนเองและนำไปดูแลครอบครัวได้” สมชายกล่าวทิ้งท้าย
               




ที่มา : งานสัมมนาธุรกิจยั่งยืนด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน