งบวิจัยพุ่ง! เอกชนทุ่มทำนวัตกรรมเพิ่มแต้มต่อธุรกิจ

Text : wattar





Main Idea
  • ตัวเลขการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชนในปี 2561 เพิ่มสูงถึง 155,143 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า คิดเป็นสัดส่วนโดยประมาณที่เอกชนลงทุนถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เห็นถึงการตื่นตัวเรื่องการสร้างนวัตกรรมในการทำธุรกิจมากขึ้น
 
  • นวัตกรรมจะเป็นกุญแจนำไปสู่คำตอบและสร้างโอกาสทางธุรกิจ ทั้งในแง่ของการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ และกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
  • รัฐบาลพยายามสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนามากขึ้นผ่านนโยบายต่างๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการไทย





     ในยุคนี้นวัตกรรมเป็นอาวุธสำคัญในการทำให้ธุรกิจสำเร็จและอยู่รอดไปจนถึงอนาคต ซึ่งกระบวนการได้มานั้นเริ่มต้นจากการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (Research & Development : R&D) นำไปสู่คำตอบและโอกาสทางธุรกิจไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ หรือแม้แต่กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม


     โดยเฉพาะในยุคที่โลกเปลี่ยนเร็ว คู่แข่งรายล้อมรอบตัว การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมจึงกลายเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญมากขึ้น มีผลสำรวจจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ว่าในปี 2561 ที่ผ่านมาภาคเอกชนลงทุน R&D รวมกว่า 123,942 ล้านบาทเลยทีเดียว ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าประมาณ 82,701 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ภายในระยะเวลาเพียงปีเดียว

 


     ปัจจัยบวกที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยลงทุนด้าน R&D เพิ่มขึ้น
 
  1. การตื่นตัวในการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาที่เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการเอง
 
  1. รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นให้เอกชนมีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มมากขึ้นผ่านนโยบายต่าง ๆ เช่น การให้ทุนสนับสนุนสำหรับผู้ประกอบการ SMEs และ Startup ในการดำเนินธุรกิจนวัตกรรม นโยบายส่งเสริมการลงทุนทั่วไป โดยให้สิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ (Product-based Incentives) และสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าโครงการตลอดจนมาตรการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการขยายเขตเศรษฐกิจนวัตกรรม Economic Zone of Innovation เช่น เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) การขยายจำนวนนิคมวิจัย (อุทยานวิทยาศาสตร์) ใน 3 ภูมิภาค เป็นต้น


 อุปสรรคของการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม


     ภาคเอกชนยังประสบอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมนวัตกรรมและวิจัยและพัฒนาในด้านการขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ขาดเงินทุนในการทำนวัตกรรมที่มีต้นทุนสูง ขาดข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี รวมถึงยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับตลาด เป็นต้น


     การก้าวไปสู่เป้าหมายการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาจึงต้องเพิ่มบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการสร้างบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อป้อนภาคเอกชนให้ตรงและทันต่อความต้องการ ซึ่งมีหน่วยงานอย่าง สวทน. ที่เป็นหน่วยสนับสนุนจัดทำมาตรการกระตุ้นการลงทุนวิจัยและนวัตกรรม และจัดทำ Skill and Brainpower Planning การวางแผนด้านกำลังคนอย่างมีประสิทธิภาพ ที่เน้นการพัฒนากำลังคนของประเทศทั้งในมิติทักษะและความรู้ควบคู่กันไป
 




หนทางได้มาซึ่งนวัตกรรม


         โดยที่ลักษณะการพัฒนานวัตกรรมของผู้ประกอบการไทยเปลี่ยนไป เน้นนวัตกรรมที่มีความยากและซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในแง่ของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ซึ่งแนวทางที่ได้มาซึ่งนวัตกรรมนั้นมาจาก

 
  • ผู้ประกอบการมีการวิจัยและพัฒนาภายในกิจการหรือกลุ่มกิจการมากขึ้น
 
  • ผู้ประกอบการร่วมมือในการทำกิจกรรมนวัตกรรมและวิจัยและพัฒนากับลูกค้าและซัพพลายเออร์ไทยเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค ซึ่งจะมีการลดหรือแบ่งความเสี่ยงและต้นทุน บริหารการใช้เวลาเข้าสู่ตลาดหรือเทคโนโลยีสั้นลง รวมถึงยังเป็นการสร้างพันธมิตรทางกลยุทธ์ในระยะยาว
 
  • ซื้อความรู้จากภายนอกเข้ามาพัฒนาต่อยอดเพิ่มขึ้น
     
     เห็นได้ว่าผู้ประกอบการไทยจะไม่โดดเดี่ยว หันไปทางไหนก็มีพันธมิตรที่สามารถช่วยให้การคิดค้นนวัตกรรมเป็นไปได้มากขึ้น
 

แหล่งข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)

 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน