The Icing Room ร้านเบเกอรี่ Design It Yourself




 

เรื่อง ธีรนาฎ มีนุ่น                                                                                                                              
ภาพ กฤษฎา ศิลปะไชย

     คำว่า DIY หรือที่ย่อมาจากคำว่า “Do It Yourself” หลายคนอาจจะคุ้นชินหรือนึกไปถึงสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งบ้านเสีย แต่เชื่อหรือไม่สินค้าประเภทเบเกอรี่ก็มีการนำรูปแบบ DIY มาใช้ได้เช่นเดียวกัน  

   “The Icing Room” เป็นผู้เข้ามาสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับวงการร้านขนมเค้ก ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์หน้าเค้ก รวมถึงการตกแต่งแพกเก็จจิ้งของตนเองได้อย่างอิสระ ภายใต้คำจำกัดความ “Design It Yourself” 
 



    The Icing Room เกิดขึ้นเมื่อราว 6 ปีที่ผ่านมา นับเป็นแบรนด์น้องใหม่ในครอบครัว “BreadTalk” ร้านเบเกอรี่แบรนด์ดังสัญชาติสิงคโปร์ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ โดยแรกเริ่มมีการวางรูปแบบร้านเป็นไลฟ์สไตล์บูติกเบเกอรี่ คือนำเสนอเค้กที่มีหน้าตาน่ารักและมีรูปแบบแตกต่างไปจากเค้กทั่วไป จากนั้นจึงมีการสร้างสรรค์ให้เกิดความแปลกใหม่ เพิ่มบริการเค้ก DIY ให้ลูกค้าสามารถดีไซน์ และตกแต่งหน้าเค้กได้ตามสไตล์ที่ชอบและเหมาะกับโอกาสสำคัญต่างๆ   

           “ในสิงคโปร์ก็มีโมเดลแบบนี้อยู่บ้าง แต่ส่วนมากเป็นเพียงส่วนหนึ่งของร้านเบเกอรี่ สำหรับ The Icing Room เราก็เลือกนำโมเดลนี้มาดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบ คือลูกค้าสามารถ DIY เค้กได้เอง มีแพกเก็จจิ้ง มีริบบิ้น และของตกแต่งอื่นๆ ให้ลูกค้าได้ดีไซน์ พร้อมมอบให้กับคนอื่นๆ ได้ทันที เรียกว่าเราแทบจะเป็นแบรนด์เดียวทั้งในเมืองไทยและสิงคโปร์ที่มีคอนเซ็ปต์แบบนี้”  

 

    วรชัย จรูญประสิทธิ์พร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบร็ดทอล์ค (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า โมเดลอันแตกต่างภายใต้จุดเด่นที่เรียกว่า “Cake decorative services” ส่งผลให้ The Icing Room ได้รับความสนใจจนสามารถขยายสาขาภายในเกาะเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ได้ถึง 5 สาขา ถือว่าเป็นความสำเร็จที่น่าจับตามอง และเมื่อมีการเปิดตัวในประเทศไทยประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา โมเดลใหม่นี้ก็สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้เป็นวงกว้าง 

    “เนื่องจากเราสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่ในตลาดยังไม่มี จึงทำให้ได้รับความสนใจเป็นจำนวนมากจากทั้งลูกค้าและสื่อต่างๆ ส่วนหนึ่งเพราะโมเดลนี้ไปสอดรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้คน ซึ่งหันมาให้ความสนใจกับสินค้าที่เขาสามารถมีประสบการณ์ร่วมได้ อีกส่วนก็คือการมาเติมเต็มความต้องการของคนที่อยากทำเค้ก แต่ยังไม่มีโอกาสได้ลองทำ” 
 



    ขณะเดียวกัน โมเดลใหม่นี้ยังส่งผลให้แบรนด์สามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงได้ โดยผู้บริหาร The Icing Room กล่าวว่า ในส่วนของเค้ก DIY นั้นมีคู่แข่งน้อยมาก สำหรับเค้กแต่งสำเร็จอาจมีคู่แข่งบ้าง ทว่าไม่ใช่คู่แข่งโดยตรง เนื่องจากคอนเซ็ปต์ของแบรนด์คือเค้กแฟนซี เช่นรูปสุนัข แฮมเบอร์เกอร์ ฟุตบอล รูปหมู หรือรูปแมว เป็นต้น ซึ่งความแตกต่างอย่างชัดเจนในด้านโปรดักส์ไลน์ เป็นการเพิ่มความแปลกใหม่นอกเหนือจากเค้กแต่งสำเร็จทั่วไปที่มีอยู่ในท้องตลาด จึงเรียกว่าแทบจะไม่มีคู่แข่งขัน

    “เนื่องจากเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่ตลาดให้การยอมรับได้ดี ฉะนั้นในเรื่องการตลาด หรือการประชาสัมพันธ์ก็ไม่ใช่สิ่งยากสำหรับเรา เพราะเมื่อสื่อให้ความสนใจ แน่นอนว่าลูกค้าจะเข้ามาหาเราเอง โดยกลุ่มลูกค้าของเราเริ่มตั้งแต่ 5 ขวบ ไปจนถึง 30 กว่า จะเห็นว่าช่วงอายุค่อนข้างกว้าง นั่นเพราะเราสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกกลุ่ม และลูกค้าเองก็สามารถมอบเค้กในโอกาสพิเศษต่างๆได้อย่างไม่จำกัด”   
 




    โดยหากมองถึงยอดขายหรือผลกำไร วรชัยกล่าวว่าอาจไม่ได้มากมายนัก ทว่าเรื่องการสร้างจุดยืนของแบรนด์นั้นถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี 

    “การนำโมเดลธุรกิจตัวนี้เข้ามา เราทราบว่ามีตลาดแต่อาจไม่ได้ใหญ่โต เรียกง่ายๆ ว่าเป็นนิชมาร์เก็ต ฉะนั้น เรื่องการขยายสาขาจำนวนมากๆ ไม่ใช่สิ่งที่เรามุ่งเน้น เพราะเราต้องการนำเสนอว่าแบรนด์เรามีความแตกต่าง แบรนด์เราสามารถที่จะตอบสนองความแตกต่างต่อความต้องการของลูกค้าได้ บริการลูกค้าได้หลายประเภท เนื่องจากมีความต้องการตรงนี้อยู่ เราก็เข้ามาสร้างทางเลือกให้ลูกค้า ในรูปแบบที่เป็นเค้กจากโรงงานไม่สามารถทำได้”        
 
  
                                                     
    ทั้งนี้ กรรมการผู้จัดการกล่าวทิ้งท้ายว่า ธุรกิจเบเกอรี่มีทั้งในส่วน Face Store คืออบสดหน้าร้าน หรือ Factory ที่ทำจากโรงงาน ฉะนั้น สำหรับผู้มีความต้องการจะเป็นเจ้าของกิจการ จะต้องค้นหาว่าตนเองมีความถนัดในประเภทใด กลุ่มลูกค้าคือใคร สำคัญที่สุดคือต้องมีความแตกต่างจากตลาดจึงจะได้รับการยอมรับ เพราะถึงแม้ตลาดเบเกอรี่จะมีอัตราการเติบโตทุกๆปี และยังเป็นตลาดที่เปิดกว้าง แต่ก็เป็นการเปิดรับสำหรับสินค้ามีไอเดียเท่านั้น 

     The Icing Room ได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงประสิทธิภาพของความแตกต่างในการเป็นบัตรผ่านสู่ความสำเร็จในโลกธุรกิจ!!

Crate by smethailandclub.com  
        




RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน