ชี้เทรนด์ธุรกิจ ทางออก! ปรับตัวก้าวข้ามวิกฤต




     เพราะโลกธุรกิจต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ยากจะคาดเดาได้ ตลอดจนสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังคงยืดเยื้ออยู่ในระดับโลก ที่นับเป็นตัวเร่งให้เกิดความท้าทายภายใต้บริบทใหม่ในยุค Next Normal ที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว


     ด้วยเหตุนี้ SME Thailand และ SME STARTUP  จึงได้จัดสัมมนาในรูปแบบไฮบริด SME Thailand & STARTUP Trends Hunter 2021 ขนขุนพลการตลาดชั้นเซียนและผู้ประกอบการตัวจริงกว่า 20 คน มา “ไล่ล่า...เทรนด์” ตีแผ่ทุกแง่มุมการตลาดปีฉลู และสิ่งที่ผู้ประกอบการ SME และ Startup ควรต้องได้รู้ก่อนใคร เพื่อให้สามารถปรับตัวข้ามผ่านวิกฤตและคว้าชัยได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่




 
ทางลัดปรับตัวรอดของ SME ด้วยวิธีแบบโตโยต้า
               

     โครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ เป็นหนึ่งในผู้ที่เข้ามาแชร์องค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการในงานครั้งนี้ โดยมี มนัสชญาณ์ อู่สมบัติชัย ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ดีไลท์ 88 จำกัด ในฐานะธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ อุบลราชธานี มาเป็นตัวแทนเผยถึงแนวทางการปรับตัวของธุรกิจที่สามารถช่วยให้อยู่รอดอย่างยั่งยืนได้
               

     มนัสชญาณ์ เล่าว่า “จั๊บจั๊บ” คือ แบรนด์ก๋วยจั๊บญวนกึ่งสำเร็จรูป ที่เกิดจากงานวิจัย ก่อนจะถูกนำมาต่อขยายเป็นโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งธุรกิจของจั๊บจั๊บนั้น ก็มีปัญหาไม่ต่างจากหลายๆ ธุรกิจ ทั้ง ส่งมอบสินค้าไม่ทัน สินค้าไม่ได้คุณภาพ หรือแม้แต่ผลิตที่มากเกินความต้องการ ก่อให้เกิดความเสียหายและต้นทุนทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น



               

     โดยปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น มาจากการที่ไม่ระบบจัดการที่ดี ซึ่งจากการร่วมโครงการ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ทำให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการขจัดปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป ด้วยการนำเอาระบบ TPS (Toyota Production System) และการไคเซ็น (Kaizen) ซึ่งเป็นองค์ความรู้แบบโตโยต้าเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหา ภายใต้หลักการ “รู้ เห็น เป็น ใจ” คือ รู้” ปัญหาในทุกกระบวนการ “เห็น” แนวทางแก้ไข “เป็น” ทำเป็นด้วยตัวเอง “ใจ” เข้าใจ ใส่ใจ ถูกใจ
               

     “รู้ปัญหา ที่แรกรู้แค่ว่า เรามีปัญหาคอขวด แต่พอโตโยต้าเข้ามาช่วย เขาชี้ให้เรารู้ถึงปัญหาเพิ่มขึ้นอีกมาก จากนั้นก็สอนให้เราเห็นแนวทางในการแก้ปัญหา ดูว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง ซึ่งการแก้นั้น จะไม่ใช่การลงทุนเพิ่ม ไม่ต้องซื้ออะไรใหม่เลย เป็นเพียงแค่การปรับวิธีการเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ต่อมาเขาจะสอนให้เราแก้ปัญหาเป็นด้วยตัวเอง เป็นการเอาสิ่งที่เขาสอนไปต่อยอด เพราะการทำธุรกิจมันมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นทุกวัน ดังนั้น เราจึงต้องแก้ปัญหาเป็นด้วยตัวเอง และสุดท้าย เข้าใจ ใส่ใจ และถูกใจ เป็นการวัดความพึงพอใจทั้งของตัวเราและลูกค้า ว่าเราพอใจในสิ่งที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้นด้วยหรือเปล่า”
               

     จากความสำเร็จของการแก้ปัญหาด้วยองค์ความรู้แบบโตโยต้า ทำให้วันนี้กระบวนการผลิตของธุรกิจจั๊บจั๊บมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลิตได้มากขึ้นกว่าเดิม 50% ในขณะที่การส่งมอบสินค้าไม่เกิดความล่าช้า ส่งมอบงานได้ทันเวลา 100% ทำให้สามารถลดต้นทุนและการเสียโอกาสทางธุรกิจได้อย่างมหาศาล




 
ระดมกูรูแชร์ความรู้ ช่วยผู้ประกอบการก้าวทันเทรนด์
               

     องค์ความรู้แบบโตโยต้า เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีความรู้และเทรนด์การตลาดและธุรกิจอื่นๆ อีกมากมาย ที่ถูกนำมาแชร์ให้ผู้ประกอบการได้รับรู้ในงาน SME Thailand & STARTUP Trends Hunter 2021 ไม่ว่าจะเป็น ทำการตลาดในยุค New Normal โดย “ชินตา ศรีจินตอังกูร” แห่ง Nielsen  ที่เชื่อว่า หัวใจสำคัญของการทำการตลาดในยุคนี้ คือการสร้างโอกาสในการใช้ใหม่ๆ ให้สินค้าและบริการเป็นที่ต้องการอยู่เสมอ หรือท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจอีคอมเมิร์ซยุคที่ใครๆ ก็ลุกมาขายออนไลน์ “ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา” นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย มองว่าถึงเวลาที่ผู้ประกอบการต้องเปลี่ยนให้รอดในตลาด Red Ocean


     ด้าน  “สุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล” นักวางกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล เชื่อว่าในโลก Digital Marketing หลังโควิด มีสิ่งที่อิน และสิ่งที่เอาท์ แม้แต่การแบ่งเพศของลูกค้าก็อาจจะเป็นเรื่องเก่าไปแล้วสำหรับการทำตลาดยุคนี้ เหมือนที่ “สโรจ เลาหศิริ” แห่ง Rabbit Digital Group บอกว่า อย่าไปตีกรอบว่า ผู้บริโภคเป็นเพศไหน นี่คือสินค้าผู้ชายหรือสินค้าของผู้หญิง เพราะโลกวันนี้เปลี่ยนไปแล้ว และ Genderless Shopper เป็นหนึ่งในเทรนด์นักช้อปยุคใหม่ที่ต้องจับตา





     การมาถึงของพายุดิสรัปชันลูกใหม่ ทำให้องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่เหล่าผู้นำต้องมีก็คือ “มายด์เซ็ต” เหมือนเช่นที่ “วีรพล สวรรค์พิทักษ์” อีมิแน้นท์แอร์ ชวนผู้ประกอบการให้ Reimagination หาทางออกให้ธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ “กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์” แห่ง ซิงเกอร์ประเทศไทย เลือกใช้เทคโนโลยียุคใหม่ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอดตายจากวิกฤต ขณะที่ “พลาวุฒิ เจริญจิตมั่น” ทายาทแบรนด์ Super Lock ก็เชื่อในพลังของ The Future Thinking คิด เปลี่ยน โลก ที่จะทำให้ธุรกิจไม่ว่าขนาดใหญ่หรือเล็ก ข้ามผ่านความท้าทายของโลกวันนี้ได้


     การเริ่มต้นธุรกิจในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเต็มไปด้วยการแข่งขัน ทำให้ Startup ต้องพลิกธุรกิจแบบไร้กระบวนท่าให้สตาร์ทแบบสตรอง เช่นเดียวกับการทำธุรกิจของ “หมอโจ้-นพ.อรรควิชญ์ หาญนวโชค” ผู้ก่อตั้ง The Puffin House ร้านจำหน่ายอุปกรณ์เดินป่าและเป้แบคแพค และบริษัท พาทัวร์โลจี้ จำกัด และ “วาที วิเชียรนิตย์” เจ้าของแบรนด์รองเท้าแตะสำหรับวิ่ง Ving ที่ใช้วิธีระดมทุนจากนักวิ่งแบบไม่มีใครรู้ จนเริ่มต้นธุรกิจขึ้นมาได้ แม้เป็นธุรกิจเล็กแต่ถ้าเริ่มต้นดีก็สามารถประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดดได้ เช่นที่ “กานต์-อรรถกร รัตนารมย์” เจ้าของร้านชานมไข่มุก BEARHOUSE Fresh Boba Milk Tea และ “ดุลยวิทย์ ขุ่ยอาภัย” เจ้าของร้านอองตอง ที่ขยายสาขาอย่างรวดเร็ว 





     เหล่านี้ เป็นเพียงตัวอย่างของวิชั่นจากผู้นำธุรกิจและนักการตลาดแถวหน้าของเมืองไทย ที่ได้มาแบ่งปันองค์ความรู้ในงานสัมมนา SME Thailand & STARTUP Trends Hunter 2021 เพื่อที่จะช่วยกันผลักดันให้ผู้ประกอบการก้าวทันเทรนด์ ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงได้



 









www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

จับตาผลกระทบการค้าชายแดนไทย เส้นทางธุรกิจแม่สอดเปลี่ยนเป็นสนามรบ

กับสถานการณ์การสู้รบในเมียนมาใกล้ชายแดนไทยยังคงร้อนระอุนับตั้งแต่กองกำลังกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังปกป้องประชาชน PDF “เข้ายึดฐานปฏิบัติการ 275 ในเมียวดี” ส่งผลต่อกระทบเส้นทาง “แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC)” ของไทย

ทำธุรกิจซัก-รีด ยังไงให้มีรายได้สาขาละแสน ล้วงความลับกับเจ้าของแบรนด์ ตั้งใจซัก

หนึ่งในธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เสือนอนกิน” นั้นต้องมีธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญติดในลิสต์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่สนใจเปิดธุรกิจนี้มากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจเสือนอนกิน ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเสือที่ได้กินธุรกิจนี้ง่ายๆ

Erabica Coffee ผู้ปักหมุด กาแฟน่าน ให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ

นี่คือสองสามีภรรยา ที่อยากมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่น่าน คิดสร้างแบรนด์กาแฟของตัวเองขึ้นมาในชื่อ Erabica (เอราบิก้า) กลายเป็นการยกระดับกาแฟน่านเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น