ต้องไม่จบที่โควิด! 4 กลยุทธ์ ฟิตธุรกิจครอบครัวให้พร้อม เพื่อสตรองได้ในทุกวิกฤต

TEXT : กองบรรณาธิการ





     วงจรของธุรกิจยุคนี้สั้นลง โดยเฉพาะในยุคโควิดที่ผ่านมาระลอกแล้วระลอกเล่า จนมีความเสี่ยงว่าธุรกิจครอบครัวที่ทำมาอาจไม่ได้ยืนยาวได้จนถึงรุ่นถัดไป ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงกำลังง่วนกับการรับมือวิกฤตตรงหน้า แต่ระหว่างนี้อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับโลกอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย


     และนี่คือ 4 กลยุทธ์ที่จะทำให้ธุรกิจครอบครัวยุคนี้จะสามารถจัดการความเสี่ยงและสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับต่อยอดเป็นความสำเร็จในระยะยาวได้



 
 
1. สร้างความหลากหลายให้ธุรกิจจากการมองมุมใหม่
 

      การจัดการความเสี่ยงแบบดั้งเดิมอาจไม่เพียงพอ ในอนาคตนับจากนี้ไป ผู้ประกอบการจึงต้องมีมุมมองที่กว้างขึ้น เพื่อประเมินปัจจัยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมาในโลกธุรกิจยุคนี้ เช่น ภัยคุกคามด้านไซเบอร์ การเตรียมกระแสเงินสด การประเมินราคาต้นทุนที่อาจสูงขึ้น แม้กระทั่งการหยุดชะงักของซัพพลายเชนเพราะคู่ค้าไม่อาจข้ามพ้นวิกฤตโควิด
               

     ธุรกิจครอบครัวจำเป็นต้องปรับปรุงสภาพคล่องของเงินทุน และกระจายความหลากหลายในธุรกิจ จะว่าไปแล้วก็คือการปรับสมดุลใหม่ ลดการลงทุนแบบกระจุกตัวอยู่ในธุรกิจหลัก แล้วมองหาโอกาสใหม่ๆ ก็จะช่วยกระจายความเสี่ยงได้




 
2. ใช้ประโยชน์จากโลกดิจิทัล และยอมลงทุนเพื่อตอบโจทย์เทรนด์ “อยู่ที่บ้าน” 


     ก่อนหน้าการระบาด online shopping และการ work from home เป็นแนวคิดที่ไม่ได้ใกล้ตัวสักเท่าไร แต่ตอนนี้มันกลายเป็น “วิถี” ของการทำธุรกิจยุคนี้ไปแล้ว เพราะผู้บริโภคซื้อสินค้าออนไลน์จนเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่ฝั่งพนักงานก็เคยชินกับการทำงานจากที่บ้าน (หรือที่ไหนก็ตาม) เป็นที่เรียบร้อย
ดังนั้นธุรกิจครอบครัว โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานให้เข้ากับเศรษฐกิจแบบ “อยู่บ้าน” เปิดช่องทางดิจิทัลและให้บริการจากระยะไกล ดังนั้น จึงต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีและให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ ไปจนถึงพัฒนาทักษะตลาดและการบริหารจัดการผ่านดิจิทัล และหาโซลูชัน “บริการจัดส่ง” ที่เหมาะสมกับสินค้าหรือบริการของธุรกิจ




 
3. พึ่งพา “ท้องถิ่น” ลดความเสี่ยง เพิ่มโอกาส 


      พอมีโควิด ก็ต้องปิดประเทศ ดังนั้นแล้ว ธุรกิจต้องหันมาพึ่งพาท้องถิ่นมากขึ้น ทั้งห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ซัพพลายเออร์ไปจนถึงผู้บริโภค หากสามารถผลิตในท้องถิ่น ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ลดการพึ่งพาการนำเข้าก็จะสามารถป้องกันการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ไปจนถึงลดต้นทุน ทำให้การดำเนินธุรกิจมีความมั่นคงมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันอาจเป็นการเปิดจุดเด่นของชุมชน แล้วสร้างโอกาสในการท่องเที่ยวในประเทศได้อีกต่างหาก เท่ากับ วิน-วิน ทั้งผู้ประกอบการธุรกิจและคนในท้องถิ่น




 
4. แสวงหาโอกาสการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน 


     ธุรกิจครอบครัวหรือธุรกิจขนาดเล็กจะเพิ่มความสามารถในการทำธุรกิจและแบ่งปันความเสี่ยงได้ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรเป็นบริษัทอื่น หรือนักลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ และที่สำคัญเป็นการสร้างพอร์ตโฟลิโอให้กลายเป็นแบรนด์สุดปังที่พร้อมสำหรับการเติบโตหลังการระบาดจบลงด้วย
 



 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

จับตาผลกระทบการค้าชายแดนไทย เส้นทางธุรกิจแม่สอดเปลี่ยนเป็นสนามรบ

กับสถานการณ์การสู้รบในเมียนมาใกล้ชายแดนไทยยังคงร้อนระอุนับตั้งแต่กองกำลังกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังปกป้องประชาชน PDF “เข้ายึดฐานปฏิบัติการ 275 ในเมียวดี” ส่งผลต่อกระทบเส้นทาง “แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC)” ของไทย

ทำธุรกิจซัก-รีด ยังไงให้มีรายได้สาขาละแสน ล้วงความลับกับเจ้าของแบรนด์ ตั้งใจซัก

หนึ่งในธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เสือนอนกิน” นั้นต้องมีธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญติดในลิสต์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่สนใจเปิดธุรกิจนี้มากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจเสือนอนกิน ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเสือที่ได้กินธุรกิจนี้ง่ายๆ

Erabica Coffee ผู้ปักหมุด กาแฟน่าน ให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ

นี่คือสองสามีภรรยา ที่อยากมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่น่าน คิดสร้างแบรนด์กาแฟของตัวเองขึ้นมาในชื่อ Erabica (เอราบิก้า) กลายเป็นการยกระดับกาแฟน่านเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น