หมูแพง สัญญาณแรงสู่ Recession ถ้าเศรษฐกิจถดถอย SME ต้องปรับตัวอย่างไร?

Text: ภัทร เถื่อนศิริ

 

เปิดปีเสือมากับภาวะค่าครองชีพแพงขึ้นกันเลยทีเดียวครับ ซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญแสดงให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่กำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือไม่ แล้วถ้าใช่ SME อย่างเราควรจะปรับตัวอย่างไร

ขอเริ่มต้นกับพื้นฐานเรื่องอัตราเงินเฟ้อก่อนนะครับ

     เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือถ้าพิจารณาจากค่าของเงิน เงินเฟ้อ คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ค่าเงินมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจะซื้อของชิ้นเดิมนั้นต้องใช้เงินมากกว่าเดิม แปลง่าย ๆ อีกแบบก็คือของแพงขึ้นนั่นเอง

ตั้งแต่ต้นปีนี้เงินเฟ้อทั่วโลกสูงขึ้นเร็วมาก จนคนเริ่มพูดกันเยอะว่า “เงินเฟ้อสูง” แค่ชั่วคราวหรือถาวร ?

ปกติแล้วเงินเฟ้อสูงจะเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 

1) ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (demand-pull inflation) แต่ผลิตได้ไม่พอรองรับ ทำให้ราคาปรับสูงขึ้น

2) ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น (cost-push inflation) ผู้ผลิตจึงปรับราคาสูงขึ้น

     สาเหตุที่เงินเฟ้อโลกสูงในช่วงปีนี้เห็นได้ชัดว่ามาจากทั้ง 2 สาเหตุ อย่างแรกคือ ความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นมากหลังเศรษฐกิจโลกทยอยฟื้นตัว แต่สินค้าและบริการผลิตมาได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้จ่ายที่อัดอั้นมานาน (revenge spending) จากช่วงล็อกดาวน์ โดยเฉพาะคนที่มีเงินออมสะสมไว้เยอะในช่วงโควิด อีกสาเหตุคือ ต้นทุนการผลิตแพงขึ้นจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่สูงขึ้นมาก เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ ถ่านหิน เหล็ก ทองแดง เพราะการผลิตหยุดชะงักหรือชะลอลงไปในช่วงโควิดระบาดรุนแรง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตที่แพงขึ้นยังมาจากปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทาน (supply chain disruption) โดยเฉพาะการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในการขนส่งสินค้า และการขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ความต้องการเยอะขึ้นมากในช่วง work from home 

     นอกจากสาเหตุคลาสสิคของเงินเฟ้อสูง 2 ข้อที่กล่าวมา ทั่วโลกเริ่มพูดถึง “เงินเฟ้อจากกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อม” (greenflation) ที่อาจซ้ำเติมปัญหาราคาพลังงานโลกสูง เพราะหลายประเทศตื่นตัวมากขึ้นในการปรับโครงสร้างพลังงาน เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

     สิ่งที่ต้องกลัว คือ เมื่อผู้คนเริ่มปรับการคาดการณ์เงินเฟ้อว่าจะอยู่ในระดับสูง และปรับพฤติกรรมไปในทิศทางเดียวกัน ยิ่งทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นต่อเนื่อง (self-fulfilling inflation spiral) เช่น ผู้บริโภคเร่งใช้จ่ายกลัวเงินเฟ้อสูง ผู้ผลิตปรับขึ้นราคาสินค้าในวงกว้าง และแรงงานเรียกร้องให้ขึ้นค่าจ้าง

 Fed : ธนาคารกลางสหรัฐ ส่งสัญญาณอย่างไร ?

      ธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณมาตลอดเรื่อง QE Tapering แต่เป็นการทยอยดึงเงินอัดฉีดออกจากระบบ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับ Fund Flow ในระบบมากเกินไป เหมือนในอดีตที่เหมือนดึงพรมออกทันทีส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจค่อนข้างมาก

     คนส่วนหนึ่งมั่นใจว่าธนาคารกลางสหรัฐจะไม่กล้าปรับดอกเบี้ยขึ้นสูงมาก เพราะปัจจุบันโลกมีหนี้สินสูงมากเป็นประวัติการณ์ (หนี้ทั้งหมดของโลกประมาณ 256% ของจีดีพีหรือมูลค่า 226 ล้านล้านดอลลาร์) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้ของรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันสูงถึง 29 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 125% ของจีดีพีสหรัฐ

     ประเด็นนี้สำคัญเพราะเมื่อหนี้สาธารณะสูงถึง 125% ของจีดีพี การปรับดอกเบี้ยขึ้นเพียง 2% จะหมายความว่าภาระดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2x1.25=2.50% ของจีดีพี ในขณะที่รัฐบาลกลางของสหรัฐมีรายได้จากภาษีเท่ากับประมาณ 17% ของจีดีพี

     ซึ่งอาจจะกลายเป็น Debt Jubilee หรือ การชักดาบครั้งใหญ่สุดของโลกก็ได้

     แล้วตอนนี้เรากำลังจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยใช่หรือไม่ ?

     Lawrence Summers นักเศรษฐศาสตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐได้เล็งเห็นถึงความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยโดยกล่าวถึง Circular Stagnation ที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐซึมยาวไปอีกหลายปี (โดยที่เอกชนเก็บเงิน ลงทุนน้อย ทุกคนลดการจ่ายเงิน ส่งผลให้เงินฝืด ทำให้เงินไม่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ)

     สำหรับประเทศไทย แม้ตอนนี้แบงก์ชาติมองว่าผลกระทบเงินเฟ้อโลกสูงมายังเงินเฟ้อไทยมีไม่มาก เพราะเศรษฐกิจไทยฟื้นช้ากว่าประเทศอื่น กำลังซื้อยังไม่กลับมาเต็มที่ ธุรกิจยังไม่รีบปรับขึ้นราคา นอกจากนี้ การส่งผ่านราคาพลังงานโลกมาเงินเฟ้อในประเทศก็มีผลจำกัด

     อย่างไรก็ดี ประเทศไทยก็ไม่อาจวางใจกับผลกระทบเงินเฟ้อโลกสูงได้เสียทีเดียว หากตัวช่วยที่กล่าวมาหายไป เช่น กำลังซื้อประชาชนฟื้นกลับมาเต็มที่ ผู้ผลิตอั้นการปรับราคาขึ้นได้ไม่นาน มาตรการอุดหนุนราคาพลังงานของรัฐบาลสิ้นสุดลง ก็อาจเห็นการส่งผ่านผลของเงินเฟ้อโลกสูงมายังเงินเฟ้อไทยสูงขึ้นได้ “เงินเฟ้อโลกสูง” จึงเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องจับตา เพราะกระทบความเป็นอยู่ของทุกคน 

     โดยส่วนตัวคิดว่ามีเปอร์เซนต์ที่สูงที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย จากสัญญาณหลายๆ อย่างที่แสดงออกมา โดยที่สถานการณ์ “หมูแพง” ในปัจจุบันเป็นเหมือน Physical Evidence : หลักฐานเชิงประจักษ์ ที่แสดงให้เห็นถึงสัญญาณแรงของต้นทุนต่างๆที่ทยอยปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และอาจจะเจอผลกระทบจาก Purchasing Power ของผู้บริโภคหดหายร่วมด้วย จากการที่เผชิญภาวะโลกระบาดมาอย่างยาวนาน ทำให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของค่อนน้อย รวมไปถึงความถังแตกของรัฐบาลที่อัดฉีดเงินพยุงเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่องหลายปีที่ผ่านมา

แล้ว SME อย่างเราๆ ควรปรับตัวอย่างไร ?

1. อันดับแรกให้พิจารณาเรื่องหนี้ก่อนเลย ว่าเราทำ Leverage Debt ไว้มากน้อยขนาดไหน และความสามารถในการชำระหนี้ (ที่กำลังจะมากขึ้นจากดอกเบี้ยที่กำลังจะสูงขึ้น) ของเรามีมากน้อยขนาดไหน พยายามปิดหนี้ที่ไม่จำเป็น

2. พยายามเจรจาดอกเบี้ยให้คงที่ไว้ที่อัตรา ณ ปัจจุบันที่สุด หรือ ถ้าเป็นอัตราลอยตัวอยู่ก็ปรับมาเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ไว้

3. พยายามวางแผนหา Revenue Stream ที่เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ให้มากขึ้น เตรียมรองรับการขึ้นของอัตราดอกเบี้ย

4. พยายามเรียนรู้ เปิดโอกาสกับสิ่งใหม่ๆ Reskill ให้ทันโลก เพื่อเปิดโอกาสให้กับโอกาสธุรกิจใหม่ๆ

Only the Paranoid Survive !!!

      หวังว่าเศรษฐกิจจะดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ และฟื้นตัวได้เร็วเพื่อให้เราผ่านพ้นช่วงเวลาของ Recession ไปได้อย่างรวดเร็ว การเตรียมตัวไว้ก่อนก็จะช่วยให้เรารับแรงกระแทกได้ดียิ่งขึ้น ขอให้ทุกคนโชคดีครับ

 

Ref :

https://www.bangkokbiznews.com/columnist/980537

https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_20Nov2021.aspx

https://www.finnomena.com/maniemeetang/what-is-inflation/

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน