รวมเทรนด์ต้องรู้ ก่อนบุกตลาดเครื่องสำอางโกยเงินหยวนในจีน

             

     ถึงแม้ว่าหน้ากากอนามัยกลายเป็นสินค้าขายดีและของต้องมีของคนยุคนี้ ทำให้หลายคนคิดว่ากระทบกับสินค้าเครื่องสำอาง แต่หาได้กระทบกับตลาดเครื่องสำอางในประเทศจีน

     จากรายงานของ Deloitte พบว่า ยอดขายของเครื่องสำอางบน Tmall ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน 2020 มีมูลค่าอยู่ที่ 45,875 ล้านบาท ซึ่งเติบโตเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019 ที่มียอดขาย 22,695 ล้านบาท

     ในขณะที่ข้อมูลสถิติการนำเข้าจาก Global Trade Atlas พบว่าในปี 2019 จีนนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเครื่องสำอาง (HS code: 3301-3307,3401-3404 ) เป็นมูลค่า 20,503 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 21.21% จากปีก่อนหน้า โดยนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมากสุดเป็นอันดับหนึ่งด้วยมูลค่า 4,808,196,110 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับสองคือ เกาหลีใต้ 3,625,920,418 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่จีนเครื่องสำอางจากไทยเป็นลำดับที่ 13 ด้วยมูลค่า 259.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น

     ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า ล่าสุดได้รับรายงานจากทูตพาณิชย์ ณ เมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ถึงแนวโน้มสำคัญที่จะมีผลต่ออุตสาหกรรมเครื่องสำอางของจีน และโอกาสทางการค้า การส่งออกสินค้าเครื่องสำอางของไทยเข้าสู่ตลาดจีน

     ทั้งนี้ เว็บไซต์ CBN Data ได้เปิดเผย 11 แนวโน้มสำคัญที่มีผลต่ออุตสาหกรรมเครื่องสำอางจีน ได้แก่

     1.ความปลอดภัยในเครื่องสำอางเด็ก ตั้งแต่ 1 ม.ค.2565 คณะกรรมการอาหารและยาของจีนได้ออกข้อกำหนดในการจัดการคุณภาพการผลิตเครื่องสำอางเด็กอย่างเข้มงวด หากมีการกระทำผิด จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง และตั้งแต่ 1 พ.ค.2565 เครื่องสำอางเด็กที่ขอขึ้นทะเบียน จะได้รับโลโก้พิเศษ Xiaojindun เพื่อการันตีคุณภาพและความปลอดภัย

     2.วัตถุดิบที่นำมาผลิตเครื่องสำอางทุกชนิดต้องขึ้นทะเบียน เพื่อให้สามารถติดตามที่มาของวัตถุดิบและติดตามตัวผู้ผลิต

     3. การแข่งขันด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) ที่หลายแบรนด์หันมาลงทุนมากขึ้น

     4. สินค้าเครื่องสำอางประเภทชะลอวัย (Anti-aging) มีการเติบโตเพิ่มขึ้น และมีการขึ้นทะเบียนมากที่สุดในปี 2563 เกือบ 5,000 รายการ

     5. น้ำหอม เครื่องสำอางสำหรับผู้ชาย ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก มีแนวโน้มเติบโต คาดว่าในปี 2568 จะมีมูลค่าถึง 5.4 แสนล้านหยวน

     6. การแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในตลาดจีนสูงขึ้น แบรนด์ขนาดกลางและเล็กปิดตัวลงถึง 26 กิจการในปี 2564 และปี 2565 คาดว่าจะปิดตัวน้อยลง และมีแบรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้น

     7. การระดมทุนของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางมีโอกาสเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

     8.การใช้ Virtual Influencer ในการทำกิจกรรมโปรโมตสินค้า

     9. การขายออนไลน์และออฟไลน์เริ่มชะลอตัว

     10. Douyin ยังคงเป็นช่องทางการทำการตลาดหลักของเครื่องสำอาง และในปัจจุบันแพลตฟอร์ม Douyin มีร้านค้าบนแพลตฟอร์มกว่า 600 ล้านร้านค้า

     11. แบรนด์หันมาจัดไลฟ์สดเอง แทนการจ้าง KOL

     ศุภรา เสกาจารย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว กล่าวว่า ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในจีนมีแนวโน้มผันผวน เนื่องจากการควบคุมคุณภาพของสินค้าที่เข้มงวดขึ้น แต่ความต้องการสินค้าเครื่องสำอางในจีนยังมีช่องว่างที่สามารถเติบโตได้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเครื่องสำอางประเภทชะลอวัย เครื่องสำอางสำหรับผู้ชาย สินค้าน้ำหอม หรือผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก เป็นต้น จึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยที่จะศึกษา 11 แนวโน้มสำคัญของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางนี้ เพื่อพัฒนาสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคจีน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า อีกทั้งยังต้องศึกษาขั้นตอนการขออนุญาตนำเข้าเครื่องสำอางในจีนอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อลดอุปสรรคในการนำเข้าสินค้าสู่ประเทศจีน

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

กว่าจะเป็น สุขกับป๊อกกี้ ร้านลับ ชื่อเท่ เมืองสัตหีบ ที่ใครมาก็ต้องได้ความสุขกลับไป

“สุขกับป๊อกกี้” คาเฟ่ & ร้านอาหารชื่อแปลกหู อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ที่แค่ฟังก็รู้ว่าต้องเป็นพื้นที่แห่งความสุข

บ้านอยู่ดีมีความสุข เกาะสีชัง กับแนวคิดทำธุรกิจให้มีขยะน้อยที่สุด

เราไม่สามารถลดขยะให้เป็นศูนย์ได้ แต่สามารถลดให้น้อยลงได้ แค่ลองตั้ง Mindset ค่อยๆ ลงมือทำไปทีละนิด ไม่ว่าใครก็ทำได้ เหมือนกับ “บ้านอยู่ดีมีความสุข” ที่พักเล็กน่ารักบนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี ที่เริ่มต้นทำจากจุดเล็กๆ ไปทีละอย่าง

บ้านๆ น่านๆ ตำนานที่พัก+ห้องสมุด รายแรกของไทย ใช้สิ่งที่รักต่อยอดธุรกิจโตกว่าทศวรรษ

เพราะความรู้ ความบันเทิง ความรื่นรมย์ไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือ แต่มันอยู่ในชีวิตเราทุกรูปแบบ นี่คือ เหตุผลที่ทำให้ "ชโลมใจ ชยพันธนาการ" (ครูต้อม) อดีตครูสอนวิชาภาษาไทยผันตัวมาเป็นเจ้าของที่พัก “บ้านๆ น่านๆ” ที่มีจุดขาย คือ มีห้องสมุดไว้สำหรับหนอนหนังสือเป็นรายแรกของไทย