อีคอมเมิร์ซช่องทางไหนทำเงินได้ดีมีโอกาสมากสุด ฟังผู้บริหาร Priceza เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ

 

     เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว การค้าขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซของจีนเติบโตอยู่ที่ราว 5 เปอร์เซ็นต์จากการค้าปลีกทั้งประเทศ

    แต่ในปี 2020 หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตลาดอีคอมเมิร์ซจีนกลับเติบโตเพิ่มเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ และในปี 2021 ที่ผ่านมากลับเติบโตเพิ่มสูงขึ้นเป็น 35 เปอร์เซ็นต์

     จากข้อมูลดังกล่าวของประเทศมหาอำนาจอย่างจีนแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการค้าขายในตลาดออนไลน์หรืออีคอมเมิร์ซโลกเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ดังนั้นจึงเป็นโอกาสสำคัญทางธุรกิจหากผู้ประกอบการจะหันมาใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซอย่างจริงจัง ลองฟัง ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด “Priceza” เว็บไซต์เปรียบเทียบราคาสินค้าแนะข้อมูลแนวโน้ม 3 ช่องทางอีคอมเมิร์ซอนาคตไกลน่าสนใจไว้ดังนี้

Marketplace Commerce

 Marketplace คือ ช่องทางอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในไทย มีสัดส่วนมากถึง 32 เปอร์เซ็นต์

     อาทิ Shopee, Lazada โดยเมื่อเจาะลึกลงไปพบว่าเป็นสินค้าในประเทศเพียง 37 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่เหลืออีก 63 เปอร์เซ็นต์ คือ สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเบอร์ 1 คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจากจีน

     โดยสิ่งที่น่าสนใจสำหรับช่องทางมาร์เก็ตเพลสในอนาคต ก็คือ การซื้อขายแบบไร้พรมแดนข้ามประเทศได้อย่างเสรีมากขึ้น หรือเรียกว่า Crossbody E-commerce ต่อไปแค่มีร้านค้าอยู่บนมาร์เก็ตเพลสเราอาจจะไม่ได้ขายของให้กับลูกค้าแค่ในเมืองไทยเท่านั้น แต่ยังกระจายไปประเทศอื่นๆ ได้ด้วย

     ยกตัวอย่างล่าสุดที่ Shopee ได้ทดลองชักชวนผู้ประกอบการในสิงคโปร์และมาเลเซียนำสินค้ามาขายไปประเทศเพื่อนบ้าน  โดยผ่านช่องทางของช้อปปี้เพื่อไปยังไทย เวียดนาม ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียได้เลย แถมในปี 2022 นี้ไทยยังอยู่ในกลุ่มประเทศ RCEP เขตการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลกด้วย ซึ่งมีประเทศมหาอำนาจ อย่างจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลียอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย จึงยิ่งเป็นโอกาสให้ขยายธุรกิจไปต่างประเทศที่ไม่ใช่แค่ประเทศเพื่อนบ้านหรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

     การซื้อขายข้ามพรมแดนในยุคใหม่นั้นจะไม่ใช่รูปแบบที่ต้องสั่งนำเข้ามาทีละตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งทางเรือเหมือนเก่าและใช้เวลารอนาน แต่ลูกค้าสามารถสั่งออร์เดอร์ทีละชิ้นได้เลย รอแค่ไม่กี่วัน เพราะขนส่งทางอากาศ จึงนับเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่น่าสนใจต่อผู้ประกอบการอย่างมาก หากใครยังไม่ทำตลาดช่องทางนี้ ก็ควรทำได้แล้ว ซึ่งการที่แบรนด์จะสามารถทำการแข่งขันได้ในยุคที่คู่แข่งล้นทะลักเข้ามาจากทุกช่องทาง ก็คือ การสร้างเอกลักษณ์ให้แตกต่าง เน้นคุณภาพสินค้า ที่สำคัญ คือ สร้างการบริการที่ประทับใจ จนลูกค้าไม่อยากเปลี่ยนใจไปซื้อเจ้าอื่น

Social Commerce

Social Media เป็นช่องทางอีคอมเมิร์ซที่คนไทยนิยมใช้งานมากเป็นอันดับ 2 มีสัดส่วนอยู่ที่  21 เปอร์เซ็นต์

     โดยหากลองเทียบกับผู้บริโภคในประเทศอื่นๆ แล้ว ผู้บริโภคชาวไทยมีการซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ เวียดนาม 36 เปอร์เซ็นต์ และอินโดนีเซีย 29 เปอร์เซ็นต์

     รูปแบบโมเดลโซเชียลมีเดียคอมเมิร์ซที่ไทยและประเทศในเอเชียใต้นิยมทำ คือ

  • ปิดการขายจบบนโซเชียลมีเดียเลย โดยใช้แอดมิน
  • พูดคุย ให้ข้อมูลกับลูกค้า เพื่อให้กลับไปสั่งซื้อบน Lazada กับ Shopee
  • การขายของผ่านแอพบางอย่าง เช่น TikTok ซึ่งในต่างประเทศเริ่มมีการพัฒนาให้สามารถกดปุ่มเลือกซื้อสินค้า และทำการชำระเงินครบจบในแอพได้เลย สร้างประสบการณ์ไร้รอยต่อให้กับลูกค้า โดยหากสนใจซื้อ ก็สามารถกดส่งได้เลย

 

      โดยหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของโซเชียลคอมเมิร์ซ คือ การใช้อินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งคนไทยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์มีการติดตามอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ไม่ว่าจะเป็นดารา นักร้อง บุคคลมีชื่อเสียง ยูทูบเปอร์ แต่สำหรับในบ้านเรานั้น ณ ปัจจุบันการใช้อินฟลูเอนเซอร์กระตุ้นยอดขายจะทำแค่เพียงการบอกเล่าสื่อสาร ต่างจากในจีนหรือประเทศอื่นๆ ที่จะมีการไลฟ์ผ่านแพลตฟอร์มหากสนใจก็สามารถกดสั่งซื้อและชำระเงินได้เลยทันทีแบบไลฟ์รอยต่อ ทำกันเป็นอาชีพจริงจัง ไลฟ์ขายกันในมูลค่าสูงๆ ปริมาณเยอะๆ โดยไม่แน่ใจอนาคตบ้านเราอาจก้าวไปถึงจุดนั้นก็ได้

     สรุปจุดเด่นของโซเชียลคอมเมิร์ซ ก็คือ การได้รู้สึกสัมผัสกับคนจริงๆ ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ อุ่นใจ ไม่ว่าจะเป็นการตอบข้อสงสัย การให้คำปรึกษา หรือการรีวิวแนะนำก็ตาม ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรอัพเดตเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าและช่วยกระตุ้นยอดขายได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็อย่าละทิ้งหัวใจบริการด้วย จริงใจแค่ไหนผู้บริโภคสัมผัสได้

Quick Commerce

เป็นช่องทางอีคอมเมิร์ซที่มีการใช้งานมากเป็นอันดับ 3 ในไทย มีสัดส่วนอยู่ที่ 13 เปอร์เซ็นต์

     ซึ่งความจริงแล้ว Quick Commerce คือ การต่อยอดจากฟู้ดเดลิเวอรีที่เติบโตขึ้นมากในช่วงสองปีที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัลโควิด-19 ผู้คนเว้นระยะห่างใช้ชีวิตอยู่บ้านมากขึ้น การสั่งซื้ออาหารผ่านแอปฯ ต่างๆ ในช่องทางออนไลน์จึงเพิ่มมากขึ้น โดยหลังเกิดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ยอดการเติบโตของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีในไทยปี 2020 เติบโตขึ้นมากกว่า 183 เปอร์เซ็นต์ โดยแอปพลิเคชั่นที่มีการเติบโตมากที่สุด คือ Grab = 50 เปอร์เซ็นต์ และ foodpanda = 23 เปอร์เซ็นต์

     แม้ปัจจุบันหลายคนจะเริ่มกลับมาทำงานและใช้ชีวิตภายนอกมากขึ้น แต่ความคุ้นชินดังกล่าวก็ยังคงอยู่ ฟู้ดเดลิเวอรีได้ทำให้พฤติกรรมผู้คนผูกติดกับซูเปอร์แอปเหล่านี้มากขึ้น จึงเป็นเหมือนตัวจุดระเบิดให้เกิดการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น มีทราฟฟิกเยอะมากอยู่ในซูเปอร์แอป ดังนั้นอนาคตการต่อยอดธุรกิจของแอปฯ เหล่านี้จึงอาจไม่ใช่เพียงแค่การส่งอาหารเพียงอย่างเดียวต่อไป แต่อาจเป็นการจัดส่งสินค้าหรืออื่นๆ ที่เข้ามาตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็วในรูปแบบโมเดลที่เรียกว่า “Quick Commerce” ก็ได้ จึงเป็นอีกช่องทางในอนาคตที่น่าสนใจให้ผู้ประกอบการขบคิดว่าจะสามารถใช้ประโยชน์จาก Quick Commerce ที่จะเกิดขึ้นนี้ได้ยังไง กลุ่มลูกค้าของเรามีพฤติกรรมความต้องการเพื่อใช้สินค้าหรือบริการเร่งด่วนอะไรไหม ถ้าหาเจอคุณก็จะได้เพิ่มยอดขายจากจุดนี้ได้มากทีเดียว

TEXT : เรียบเรียงจากงานสัมมนา “10 Ways  to improve your business”

ตอน : "สร้างจุดแข็งให้เหนือคู่แข่งบนโลกอีคอมเมิร์ช"

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน