ตลาดโปรตีนทางเลือกนับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตามอง ด้วยศักยภาพของสินค้าที่ตอบโจทย์เทรนด์บริโภคเรื่องสุขภาพ-สิ่งแวดล้อม ประกอบกับการรุกเข้าสู่ตลาดนี้อย่างจริงจังของผู้ประกอบการหลายราย ทั้งกลุ่มผลิตอาหารและผู้ประกอบการที่เดิมไม่ได้อยู่ในธุรกิจผลิตอาหารอย่าง กลุ่มพลังงานและค้าปลีก เป็นต้น
ถ้ามองในภาพรวมคงทำให้อุตสาหกรรมนี้เกิดการลงทุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้นตามมา ทั้งในมิติของรสชาติที่ถูกปาก ราคาที่แข่งขันได้ ช่องทางจำหน่ายที่ทั่วถึง ทำให้คาดว่ามีโอกาสที่อัตราการบริโภคสินค้ากลุ่มนี้จะยังขยายตัวในระยะข้างหน้า
อย่างไรก็ดีถ้ามองในภาคการผลิตแล้ว วัตถุดิบหลักในการผลิตโปรตีนทางเลือกของไทย ส่วนใหญ่ยังมาจากถั่วเหลือง และไทยยังพึ่งพาการนำเข้าถั่วเหลืองในสัดส่วนที่สูง ดังนั้น ภายใต้สถานการณ์ราคาธัญพืชโลก ราคาพลังงานและค่าขนส่งที่ยังมีแนวโน้มขยับขึ้นได้อีกในช่วงที่เหลือของปี 2565 อาจทำให้ธุรกิจมีภาระต้นทุนที่ขยับสูงขึ้น ทั้งนี้ ในระยะข้างหน้าการพัฒนาวัตถุดิบทางเลือกน่าจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งการเลือกใช้วัตถุดิบใดๆ คงต้องคำนึงถึงต้นน้ำหรือระบบการผลิตที่ต้องมีความมั่นคงเพียงพอในระยะยาวและอาจคำนึงถึงวัตถุดิบท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์เพื่อสร้างความแตกต่างควบคู่ไปด้วย
5 วัตถุดิบยอดฮิต นำมาผลิตโปรตีนทางเลือกในไทย
ถั่วเขียว โปรตีน 26 กรัม
ให้โปรตีนและคาร์โบไฮเดตรสูง ปลูกได้ในหลายพื้นที่
เมล็ดกัญชง โปรตีน 25 กรัม
องค์ประกอบคล้ายไข่ดาว เนื้อสัมผัสนุ่ม ย่อยง่าย
ขนุนอ่อน โปรตีน 1.6 กรัม
มีเนื้อสัมผัสคล้ายเนื้อสัตว์ ไฟเบอร์สูง แต่น้ำตาลน้อย
เห็ดแครง โปรตีน 17 กรัม
เบต้ากลูเคน ไฟเบอร์สูง เนื้อสัมผัสคล้ายสัตว์
จิ้งหรีด โปรตีน 18 กรัม
โปรตีนและไฟเบอร์สูง มีสารต้านอนุมูลอิสระรวมถึงโอเมก้า 3 6 9
ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี