ถอดบทเรียน Nick Mowbray นักธุรกิจพันล้านดอลลาร์ ที่ไม่แคร์ใบปริญญาจากมหาวิทยาลัย

TEXT : กองบรรณาธิการ

 Main Idea

  • เพราะไม่อยากเสียเวลาไปเรียนหนังสือ Nick Mowbray จึงลาออกมาทำของเล่นขายกับพี่ชาย

 

  • เงินที่เขาหามาได้ในวัย 18 ปีนั้นยังไม่ถึง 2 เหรียญสหรัฐต่อวัน

 

  • ยิ่งไปกว่านั้นช่วงแรกความไร้เดียงสาพาเขาไปก๊อปปี้ของเล่นจนโดนเจ้าของลิขสิทธิ์มาตะโกนว่าถึงที่บูธ ความผิดพลาดครั้งนั้นคือ แรงผลักดันให้เขาก้าวเข้าสู่เจ้าของอาณาจักรธุรกิจของเล่น Zuru พันล้านดอลลาร์

 

     Nick Mowbray หนุ่มนิวซีแลนด์เริ่มธุรกิจในวัย 18 ปีกับพี่ชาย มีรายได้ไม่ถึง 2 เหรียญสหรัฐต่อวัน แต่การไม่เคยแพ้ทำงานหนักของพวกเขาได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า

     ทว่าภายใต้ความสำเร็จที่ต้องเผชิญอุปสรรคมากมาย เหนืออื่นใดการไม่ยอมแพ้ ค่อยๆ แก้ปัญหาทำให้ความผิดพลาดกลายเป็นความสำเร็จ เมื่อกิจการของเล่น Zuru สามารถขายได้ทั่วโลกค่อยๆ เติบโตจนมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ปัจจุบัน Nick มีธุรกิจสามแบรนด์ได้แก่ Zuru Toys, Zuru Edge และ Zuru Tech

     นี่คือบทเรียนสำคัญที่สุดของ Nick ค้นพบระหว่างทางที่จะประสบความสำเร็จ

กฎมีไว้แหก

    หลายคนมองว่าใบปริญญาคือ ใบเบิกทางสู่ความสำเร็จ แต่นั่นอาจไม่ใช่กับ Nick Mowbray ที่สนใจชื่นชอบการผลิตของเล่นถึงกับลงทุนใช้พื้นที่เล็กๆ จากฟาร์มโคนมของพ่อแม่สร้างเป็นโรงงานผลิต ที่เขาต้องแลกพื้นที่นั้นด้วยการรีดนมวัวและฉีดยาฆ่าหญ้า เพราะความสุขที่เกิดจากการทำของเล่นมีมากกว่าการเดินทางไปเรียนหนังสือ ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจลาออกในขณะที่กำลังเรียนทางด้านกฏหมายเพื่อทุ่มเทเวลาอย่างเต็มที่ให้กับการผลิตของเล่น

     “ทำไมไม่ลองเสี่ยงโชคที่ประเทศจีนดูล่ะ?

     ในวัย 18 ปี Nick หันหลังให้ใบปริญญาพร้อมกับพาตัวเองไปยังฮ่องกง  พร้อมเงินกู้ 20,000 ดอลลาร์จากพ่อแม่ แต่ยังขาดทั้งเครื่องไม้เครื่องมือและความเข้าใจในธุรกิจ

ไร้เดียงสาเกือบพาสู่หายน

     “เราไร้เดียงสามาก เราไม่รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่” นิคเล่าย้อนไปถึงความคิดของเขา การขาดความรู้และไร้ประสบการณ์จึงเกิดผลเสียตามมาโดยไม่รู้ตัว เช่น การทำผลิตภัณฑ์ที่ไปลอกแบบมาจากอินเทอร์เน็ต

     "เป็นการละเมิด IP [ทรัพย์สินทางปัญญา] โดยที่ผมยังไม่รู้ว่า IP คืออะไร"

     กระทั่งปัญหาใหญ่ก็ตามมาเมื่อพวกเขาไปออกงานแฟร์ของเล่นแค่วันแรก ก็โดนบริษัทที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มาตะโกนต่อว่าเราที่บูธ ประสบการณ์ในวันนั้นทำให้พวกเขาหยุดผลิตสินค้าที่ลอกเลียนแบบโดยเด็ดขาด หันมาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ นั่นเท่ากับเป็นการเดินทางใหม่อีกครั้งที่ต้องใช้เวลาหกเจ็ดปีเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จแบบไร้ข้อกังขา

ไม่มีคำว่า “พนักงาน” ในพจนานุกรม

     Zuru ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยพี่น้องตระกูล Mowbray ในปี 2003 เริ่มต้นจำหน่ายสินค้าที่มีอยู่แล้ว เช่น บูมเมอแรงที่มีรูปร่างเหมือนกับเฮลิคอปเตอร์ ต่อมาก็ผลิตของเล่นของตัวเองอย่าง Bunch O Balloons ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเป่าลูกโป่งน้ำ 100 ลูกได้ภายในเวลา 60 วินาที

     Nick Mowbray บอกว่าเขาไม่เคยใช้คำว่า 'พนักงาน' เพราะเขาเชื่อเสมอว่าทุกคนในบริษัทต่างก็สำคัญ เพียงแต่ว่าบทบาทของแต่ละคนแต่ละตำแหน่งก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าถ้าเราโค้ชทีมและผู้เล่นทุกตำแหน่งให้ที่ดีที่สุดก็จะได้ทีมงานที่มีประสิทธิภาพสูง

     “ในความคิดผมการมีผู้เชี่ยวชาญที่ดีเพื่อจัดการในแต่ละแผนกย่อมดีกว่าการมีผู้จัดการแผนกโดยที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านนั้น ที่บริษัทผมมีนักออกแบบที่ดีที่สุดที่เป็นผู้จัดการดูแลนักออกแบบ ผมคิดว่ามันสำคัญมาก”

งานต้องดีขึ้นทุกอาทิตย์

     Nick มีประโยคหนึ่งที่ไว้พูดกับทีมงานเสมอคือ: 'เรายอมลำบากในวันนี้เพื่ออนาคตที่ดี' อย่างน้อยเมื่อมองย้อนกลับไปทุกๆ ปี สามารถพูดได้ว่าตอนนี้เราดีขึ้นมากแล้ว' การพัฒนาไม่เคยหยุดนิ่ง สองพันปีที่แล้วมนุษย์เรายังอาศัยอยู่ในถ้ำ แต่เพราะการพัฒนาของมนุษย์ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเรื่อย

“การทำงานผมต้องมีข้อมูลเชิงลึกอยู่เสมอ และพยายามทำให้ได้ตามข้อมูลเชิงลึกอย่างไม่ลดละ ถ้าผมทำไม่ได้ ผมไม่เรียกว่าแพ้ แต่ถือว่าได้เรียนรู้ที่สามารถนำปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ผมมีความคิดอย่างหนึ่งว่าทุกสัปดาห์ต้องปรับปรุงให้งานดีขึ้นกว่าเดิมอย่างน้อย 2%”

มาตรฐานสูง ก้าวเล็กๆ สู่ความสำเร็จ

     “การปรับปรุงตัวเองอยู่ตลอดเวลา สามารถพาคุณก้าวไปสู่จุดที่สูงมากขึ้นได้อย่างรวดเร็วจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลกำไร ยิ่งคุณกำหนดมาตรฐานไว้สูงและลงรายละเอียดให้ชัดเจน จะทำให้ทีมงานทุกคนมีระดับและมาตรฐานที่จะขับเคลื่อนผลงานได้อย่างแท้จริง”

ผู้ชนะไม่เคยยอมแพ้

     “ผมจำได้เมื่อตอนทำเงินล้านแรกได้ ได้ทำเรื่องใหญ่ขึ้น ตอนนั้นผมน่าจะอายุ 21 ปีได้รับคำสั่งซื้อมูลค่า 28 ล้านเหรียญสหรัฐจาก Walmart ให้ทำ David Beckham Tamagotchi รู้สึกตื่นเต้นมากเพราะตอนนั้นเป็นเงินจำนวนมหาศาล แต่ตื่นเต้นได้ไม่นานก็ต้องเสียใจแทนเมื่อผมไม่สามารถหาเงินทุนได้ ในที่สุด Walmart ก็ยกเลิกคำสั่งซื้อทั้งหมด และสุดท้ายก็สูญเสียเงินเกือบ 200,000 เหรียญสหรัฐภายในหนึ่งเดือน หลังจากเหตุการณ์นี้ ผมนั่งลงและคิดว่าตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป จะไม่ยอมให้สูญเสียเงินอีก

     “แม้ว่าผมจะไม่ได้ทำสินค้านั้น แต่ก็พยายามสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ต่อไป ออกมาขายให้กับผู้ค้าปลีกทั่วโลก เพื่อสร้างโอกาสทำเงินต่อไป และยอมทำงานหนักขึ้นแม้นอนหลับใต้โต๊ะทำงานก็เคยมาแล้ว”

     การเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จนั้นยากก็จริงๆ แต่ถ้าคุณไม่ยอมแพ้ก็ยังมีโอกาส ขอเพียงแค่ต้องทำสิ่งนั้นเป็นระยะเวลานานจริงๆ และไม่หยุดที่จะเรียนรู้

     อย่างน้อยก็เท่ากับชนะใจตัวเอง

ที่มา : https://www.theceomagazine.com/business/start-ups-entrepreneurs/nick-mowbray-zuru/

https://www.nzherald.co.nz/business/nick-mowbrays-toy-story-takes-a-new-twist-after-health-scare/WYST5V652FIJ2YJCBME4PH5DIY/

https://www.bbc.com/news/business-50469922

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

กว่าจะเป็น สุขกับป๊อกกี้ ร้านลับ ชื่อเท่ เมืองสัตหีบ ที่ใครมาก็ต้องได้ความสุขกลับไป

“สุขกับป๊อกกี้” คาเฟ่ & ร้านอาหารชื่อแปลกหู อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ที่แค่ฟังก็รู้ว่าต้องเป็นพื้นที่แห่งความสุข

บ้านอยู่ดีมีความสุข เกาะสีชัง กับแนวคิดทำธุรกิจให้มีขยะน้อยที่สุด

เราไม่สามารถลดขยะให้เป็นศูนย์ได้ แต่สามารถลดให้น้อยลงได้ แค่ลองตั้ง Mindset ค่อยๆ ลงมือทำไปทีละนิด ไม่ว่าใครก็ทำได้ เหมือนกับ “บ้านอยู่ดีมีความสุข” ที่พักเล็กน่ารักบนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี ที่เริ่มต้นทำจากจุดเล็กๆ ไปทีละอย่าง

บ้านๆ น่านๆ ตำนานที่พัก+ห้องสมุด รายแรกของไทย ใช้สิ่งที่รักต่อยอดธุรกิจโตกว่าทศวรรษ

เพราะความรู้ ความบันเทิง ความรื่นรมย์ไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือ แต่มันอยู่ในชีวิตเราทุกรูปแบบ นี่คือ เหตุผลที่ทำให้ "ชโลมใจ ชยพันธนาการ" (ครูต้อม) อดีตครูสอนวิชาภาษาไทยผันตัวมาเป็นเจ้าของที่พัก “บ้านๆ น่านๆ” ที่มีจุดขาย คือ มีห้องสมุดไว้สำหรับหนอนหนังสือเป็นรายแรกของไทย