7 กลยุทธ์การทำธุรกิจ สไตล์โอ้กะจู๋ ความสำเร็จของกิจการขายผักสลัด 800 ล้านบาท

TEXT : Momin

PHOTO: OHKAJHU

Main Idea

  • โอ้กะจู๋ มองความสำเร็จ อาจไม่ต้องตั้งว่าจะโตแค่ไหน แต่เริ่มจากเล็ก แล้วค่อยๆ ขยาย

 

  • การทำธุรกิจต้องมาพร้อมกับการแก้ปัญหา และคุณภาพคือหัวใจ ต้องควบคุมได้ตั้งแต่ต้นทาง

 

  • การทำธุรกิจก็ไม่ต่างจากการปลูกผัก ที่ต้องมีย่างก้าวในการเติบโต

 

     ในการทำธุรกิจยุคนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายในเศรษฐกิจแบบนี้ อย่างร้านอาหารเองก็ต้องเจออุปสรรคที่หนักสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา นั่นคือโควิด-19 ที่ทำให้หลายธุรกิจปิดตัวลงไปเลยก็มี แต่ที่ยังอยู่ต่อได้ก็มีอีกไม่น้อย วันนี้มีตัวอย่างธุรกิจที่นอกจากไม่ปิดตัวแล้วปีที่ผ่านสามารถทำรายได้รวมถึง 800 กว่าล้านบาท นั่นก็คือโอ้กะจู๋ ธุรกิจที่เริ่มต้นจากสองเพื่อนสนิท “อู๋-ชลากร เอกชัยพัฒนกุล” และ “โจ้-จิรายุทธ ภูวพูนผล” และหุ้นส่วนอีกคนคือ “ต้อง-วรเดช สุชัยบุญศิริ ธุรกิจที่เริ่มทำจากการปลูกผักสวนครัวทานกันเองในบ้าน สู่ ธุรกิจจำหน่ายผักสลัดออร์แกนิก และร้านอาหารสุขภาพ ที่มี 20 สาขา และยังทำธุรกิจอยู่แบบยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้ และจะมีสูตรสำเร็จอะไร ตามมาดูเลย

ความสำเร็จของโอ้กะจู๋ เหมือนกับขั้นตอนการปลูกผัก

 ขั้นตอนที่ 1 : การเพาะต้นกล้า

     ขั้นตอนของการปลูกผักอย่างแรกก็คือการเพาะต้นกล้า เพื่อที่ว่าจะเลือกต้นกล้าที่แข็งแรงที่สุดในการนำไปปลูกในแปลงใหญ่ต่อไป ซึ่งก็เหมือนกับเคล็ดลับความสำเร็จของโอ้กะจู๋ที่ว่า

     สูตรสำเร็จ 1 ไม่ตั้งเป้าว่าจะโตแค่ไหน แต่เริ่มจากเล็ก แล้วค่อยๆ ขยาย เริ่มจากจุดเล็กๆ โดยทำโรงเรือนขนาด 6 x 30 เมตร ซึ่งเป็นโรงเรือนหลังแรก แล้วทยอยปลูกผัก ค่อยๆ เรียนรู้ลองผิดลองถูกอยู่ประมาณ 2 ปี

ขั้นตอนที่ 2 : การดูแลรักษา

     ในการปลูกผักก็ต้องเจอปัญหาและอุปสรรคต่างๆ นานา เช่น สภาพอากาศ วัชพืช โรคต่างๆ ที่มากับสภาพอากาศ เพราะฉะนั้นการปลูกผักในขั้นตอนนี้ ก็ต้องดูแลเป็นพิเศษ ทั้งการรดน้ำ ให้ปุ๋ยต่างๆ บางครั้งเราอยากให้ผักเติบโตอย่างแข็งแรง จึงใส่ปุ๋ยให้ผักของเราอย่างไม่หวงของ แต่การให้ปุ๋ยมากเกินไปอาจทำให้ผักที่เราปลูกไว้เน่าเสียจนตายได้ แม้ว่ามันล้มเหลว แต่อย่างน้อยก็รู้ว่าทำไมมันถึงล้มเหลว จากนั้นค่อยนำไปแก้ปัญหาในการปลูกผักในครั้งต่อๆ ไป ซึ่งเหมือนกับสูตรสำเร็จของโอ้กะจู๋ 3 ข้อที่ว่า

     สูตรสำเร็จ 2 ทำธุรกิจไปพร้อมกับการแก้ปัญหา  ในการขยายสาขามาเมือง ต้องเสียค่าเช่าสูงกว่า และเจอปัญหาเรื่องการขนส่ง จึงต้องเริ่มจากการเปิดร้านเล็กๆ เพื่อดูความเป็นไปได้ และลองหาวิธีแก้ปัญหา หาแนวทางแก้ไขให้ลงตัว

     สูตรสำเร็จ 3 คุณภาพคือหัวใจ ต้องควบคุมได้ตั้งแต่ต้นทาง เน้นความสดใหม่ของผักทุกวัน ตั้งแต่เริ่มเก็บเกี่ยวจากฟาร์มที่เชียงใหม่ ส่งตรงมายังกรุงเทพฯ โดยผักทุกจานจะถูกจัดเตรียมและเสิร์ฟให้ลูกค้าภายใน 28 ชั่วโมง ภายหลังการเก็บเกี่ยว ที่สำคัญผักเกือบทั้งหมดมาจากฟาร์มของตัวเอง

     สูตรสำเร็จ 4 ชีวิตผิดพลาดได้ อย่าไปกลัวความล้มเหลว “ตั้งแต่เริ่มทำมาก็มีข้อผิดพลาดมาตลอด ช่วงแรกๆ ยิ่งผิดพลาดเยอะมาก ทั้งเรื่องของการบริการ อย่างในช่วงไฮซีซั่นของปีแรกที่เปิดร้าน เราก็บริการลูกค้าไม่ทัน อาหารทำไม่ทัน ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เราไม่เคยรู้มาก่อน พอรู้แล้วก็ค่อยๆ หาทางแก้ปัญหา เพิ่มคนเข้าไป เพิ่มอุปกรณ์เข้าไปที่จะช่วยลดเวลา”

ขั้นตอนที่ 3 การเก็บเกี่ยว

     ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการเก็บเกี่ยว ถ้าหากเก็บเกี่ยวไม่ดีอาจทำให้ผลผลิตของเราเสียหายได้ ซึ่งเหมือนกับสูตรสำเร็จของโอ้กะจู๋ที่ว่า

       สูตรสำเร็จ 5 สร้างองค์กรคนรุ่นใหม่ กล้าแสดงความเห็น มีทักษะที่หลากหลาย  ซึ่งคนทำงานในโอ้กะจู๋มีทักษะที่หลากหลาย หนึ่งคนสามารถทำได้หลายอย่าง แม้แต่พนักงานเสิร์ฟก็อาจผันตัวมาเป็นไรเดอร์ หรือพนักงานส่งอาหารได้ พวกเขาพยายามจัดกิจกรรมที่ทำให้ผู้บริหารและพนักงานได้สื่อสารกันตลอดเวลา มีการแชร์ความคิดและเรียนรู้ไปด้วยกัน 

ขั้นตอนที่ 4 การส่งขายถึงมือลูกค้า

     ในขั้นตอนนี้ต้องรู้ว่าลูกค้าของเราคือใคร และมีวิธีการจัดการดูแลลูกค้าอย่างไรให้ซื้อผักที่เราปลูกไปนานๆ ซึ่งเหมือนกับสูตรสำเร็จของโอ้กะจู๋

     สูตรสำเร็จ 6 มอง “ลูกค้า” เหมือนคนในครอบครัว ที่เริ่มจากความต้องการที่จะทำให้คนในครอบครัวมีสุขภาพดี ไม่อยากให้ครอบครัวได้รับสารพิษและสารเคมีตกค้าง เรียกว่าปรารถนาดีต่อครอบครัวอย่างไร โอ้กะจู๋ ส่งต่อคุณภาพและสิ่งดีๆ ให้ลูกค้าดังเช่นคนในครอบครัว

     สูตรสำเร็จ 7 รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทุกวันนี้อาหารที่เหลือจากลูกค้า โอ้กะจู๋ จะนำไปแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลด Food Waste รวมถึงลดการใช้พลาสติกให้ได้มากที่สุด 

และนี่คือ 7 สูตรสำเร็จของโอ้กะจู๋  สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/6562.html

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

จับตาผลกระทบการค้าชายแดนไทย เส้นทางธุรกิจแม่สอดเปลี่ยนเป็นสนามรบ

กับสถานการณ์การสู้รบในเมียนมาใกล้ชายแดนไทยยังคงร้อนระอุนับตั้งแต่กองกำลังกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังปกป้องประชาชน PDF “เข้ายึดฐานปฏิบัติการ 275 ในเมียวดี” ส่งผลต่อกระทบเส้นทาง “แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC)” ของไทย

ทำธุรกิจซัก-รีด ยังไงให้มีรายได้สาขาละแสน ล้วงความลับกับเจ้าของแบรนด์ ตั้งใจซัก

หนึ่งในธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เสือนอนกิน” นั้นต้องมีธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญติดในลิสต์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่สนใจเปิดธุรกิจนี้มากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจเสือนอนกิน ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเสือที่ได้กินธุรกิจนี้ง่ายๆ

Erabica Coffee ผู้ปักหมุด กาแฟน่าน ให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ

นี่คือสองสามีภรรยา ที่อยากมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่น่าน คิดสร้างแบรนด์กาแฟของตัวเองขึ้นมาในชื่อ Erabica (เอราบิก้า) กลายเป็นการยกระดับกาแฟน่านเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น