ออกแบบเครื่องดื่ม ให้น่ากิน น่าถ่ายรูป เคล็ดไม่ลับจาก Unicorn Signature ร้านชานมไต้หวันของเด็กสยาม

TEXT : Sir.nim

PHOTO : Pae Yodsurang

Main Idea

How to สร้างมูลค่าเพิ่มให้เครื่องดื่ม

  • ใช้จินตนาการ ลองคิดนอกกรอบ

 

  • ทดลอง ลงมือทำ

 

  • อร่อยคนเดียวไม่ได้ คนอื่นต้องอร่อยด้วย

 

     จากมูลค่าของตลาดชานมไข่มุกไทยปี 2565 กว่า 2.6 หมื่นล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย คือ ข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยนั้นนิยมบริโภคเครื่องดื่มกันค่อนข้างมาก จากตัวเลขดังกล่าววันนี้เราจึงชวนมาเจาะเคล็ดลับการครีเอทเมนูเครื่องดื่มให้สร้างมูลค่าเพิ่มและถูกใจผู้บริโภคกับ “Unicorn Signatureร้านชานมไต้หวันย่านสยามสแควร์ที่มีเมนูเครื่องดื่มให้เลือกกว่า 50 – 60 เมนูกัน

   

สุ่มขายออนไลน์อยู่ 2 ปี ถึงมาเปิดหน้าร้าน

     ณัฐพัชร์ รอดช่าง เจ้าของร้าน Unicorn Signature เล่าว่าก่อนจะมาเปิดร้านอยู่ใจกลาง Siam Square one ชั้น 1 เขาได้ทดลองเปิดขายผ่านช่องทางออนไลน์มาก่อนกว่า 2 ปี โดยแรงบันดาลใจได้มาจากที่เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศที่ไทเป ประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นแหล่งรวมชานมไข่มุกเลย เมื่อกลับมาจึงเกิดความคิดอยากเปิดร้านขายชานมไข่มุกพรีเมียมในไทย ในราคาที่จับต้องได้ง่าย กินได้เรื่อยๆ โดยตัวเขาเองนั้นก็ไม่เคยทำชานมไข่มุกมาก่อน อาศัยหัดเรียนจาก YouTube บ้าง ค้นคว้าด้วยตัวเองบ้าง ทดลองทำมาแล้วเป็นพันๆ สูตร จนในที่สุดก็ได้ออกมา 50 เมนูที่ลงตัวเพื่อใช้ในร้าน ทั้งชานมไต้หวัน และเมนูเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น โกโก้, กาแฟ, ชาผลไม้, น้ำผลไม้โซดา จำหน่ายในราคาย่อมเยาแก้วละ 50 – 70 บาทเท่านั้น

     โดยนอกจากจะให้ความสำคัญกับรสชาติที่ถูกปากคนไทยแล้ว ณัฐพัชร์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์เมนูแปลกใหม่ เพื่อเอาใจลูกค้ายุคนี้ด้วย

     “ผู้บริโภคยุคนี้ต้องการความว้าว! ความแตกต่าง และหลากหลาย เราอาจไม่จำเป็นต้องทำทุกเมนูให้แปลกใหม่ แต่การมีกิมมิกใส่ลงไปในบางเมนูเสริมเข้ามา จะช่วยสร้างโอกาสธุรกิจให้เราได้เพิ่มขึ้น เพราะบางทีลูกค้าก็ไม่ได้อยากกินแต่เมนูเดิมๆ ซ้ำๆ เหมือนเดิมทุกวัน การเพิ่มกิมมิกจะทำให้เขาสนุกในการกินเครื่องดื่มมากขึ้น เป็นการสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ที่แตกต่าง”

     ตัวอย่างเมนูแปลกใหม่ที่ขึ้นชื่อของร้าน เช่น โกโก้มาชเมลโล่พ่นไฟ เป็นโกโก้เข้มข้น ราดนม มีกิมมิกโดยใส่มาชเมลโล่พ่นไฟลงไปด้วย วิธีการกิน คือ ลูกค้าสามารถนำมาชเมลโล่จุ่มลงไปในโก้โก้เข้มข้น แล้วตักกินได้เหมือนขนม เป็นต้น

How to สร้างสรรค์เมนูเครื่องดื่มยังไงให้น่ากิน น่าถ่ายรูป

     โดยณัฐพัชร์ได้ให้คำแนะนำ How to การคิดค้นเมนูแปลกใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เครื่องดื่มของเขาไว้ดังนี้

  • ใช้จินตนาการ ลองคิดนอกกรอบ

             

     “ในการเริ่มต้นคิดเมนูใหม่ๆ สิ่งแรก คือ ผมจะลองจินตนาการก่อนว่า เราอยากให้รสชาติ หรือวิธีการกินของเครื่องดื่มเราเป็นแบบไหน ซึ่งส่วนใหญ่ก็อาจมาจากประสบการณ์ของตัวเราเองก็ได้ ลองคิดออกนอกกรอบ เพราะบางทีอาจสร้างความแปลกใหม่ให้เกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างตัวโกโก้มาชเมลโล่ ผมเอามาจากที่เคยได้กินมาชเมลโล่กับหลานๆ โดยอาไปลองล่นไฟดู เลยคิดว่าถ้าเอามาใส่กับเครื่องดื่มได้ก็น่าจะดี

  • ทดลอง ลงมือทำ

 

     “ขั้นต่อมา ก็คือ ลงมือทำ คอ จริงๆ มันมีผ่านมาเข้ามาในหัวเราเยอะมาก แต่ถามว่าแล้วจะเอาเมนูไหนดี เราต้องลองมองดูความน่าจะเป็นได้ก่อนด้วย เสร็จแล้วก็ค่อยทดลอง ลองดูตั้งแต่ขั้นตอนการทำว่าทำได้ไหม ยุ่งยากหรือเปล่า ถ้าจะเอาไปทำขายจริงจะทำได้ไหม และทำแค่ไหนถึงจะพอดี จนถึงว่าทำออกมาแล้วอร่อยไหม เวิร์กไหม”

  • อร่อยคนเดียวไม่ได้ คนอื่นต้องอร่อยด้วย

             

    “ข้อสุดท้าย หลังจากเราได้คิดและทดลองทำแล้ว จนสามารถสำเร็จออกมาเป็นเมนูได้แล้ว สิ่งสำคัญ คือ เราต้องให้คนอื่นได้ทดลองชิมด้วยว่ามันเวิร์ก หรืออร่อยจริงอย่างที่เราคิดหรือเปล่า อร่อยคนเดียวไม่ได้ คนอื่นต้องอร่อยด้วย ซึ่งต้องลองหลายๆ คน อย่างที่ร้านกว่าจะได้ออกมาแต่ละเมนูผมให้คนทดลองชิมเยอะมาก ทั้งพนักงาน เพื่อนฝูง คนในครอบครัว จนเรามั่นใจแล้ว ถึงทำออกมา แต่สมมติตัดสินใจทำออกมาแล้ว เราก็ต้องมาดูฟีดแบ็กลูกค้าอีกทีด้วยว่าเขาชอบ ไม่ชอบยังไง ต้องปรับอะไรไหม หรือจะไปได้หรือเปล่า เพื่อสุดท้ายให้เกิดผลดีทั้งสองฝ่าย เราเองก็ขายได้ ลูกค้าได้ก็ได้ประสบการณ์แปลกใหม่ด้วย”

     และนี่คือ How to แบบฉบับง่ายๆ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เครื่องดื่มของคุณได้ที่หนุ่มคนนี้อยากฝากเอาไว้

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน