กรณีศึกษาร้านซูชิสายพานแก้ปัญหายังไง เมื่อเจอลูกค้าพิเรนทร์ จนมูลค่าบริษัทตก 4.3 พันล้านบาท

TEXT: Momiin

Main Idea

  • การทำธุรกิจมักต้องเจอกับอุปสรรคเสมอ ซึ่งเหมือนกับร้านซูชิสายพานที่ประเทศญี่ปุ่น ที่โด่งดังเรื่องนี้

 

  • แต่วันนี้กับเจอปัญหาที่คาดไม่ถึง เมื่อมีเด็กชายเล่นพิเรนทร์ เลียขวดซอสและจานชามของผู้อื่น จนทำเอาราคาหุ้นถึงกับตกลง 4.18% และมูลค่าบริษัทตก 4.3 พันล้านบาท

 

  • และเมื่อเกิดปัญหาก็ต้องมีการแก้ไข ซึ่งมีร้านซูชิสายพานร้านหนึ่งเมื่อเจอกับผลกระทบของเรื่องนี้ ก็ได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้ เพื่อแก้ไขกับปัญหาที่เกิดขึ้น

 

     อย่างที่เพื่อนๆ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรู้ดีว่า ร้านอาหารสายพานกำลังเป็นที่นิยมในช่วงที่ผ่านมา และตอนนี้ผู้บริโภคก็ยังให้ความสนใจอยู่ อย่างร้านสุกี้จินดาที่ ใช้สายพานในการเสิร์ฟวัตถุดิบให้กับลูกค้า และยังมีอีกหลายๆ ร้านที่ทำแบบนี้ เนื่องจากเป็นเพราะว่าการใช้สายพานในการเสิร์ฟอาหารเป็นการช่วยลดต้นทุนด้านการจ้างพนักงานให้กับธุรกิจร้านอาหารได้

ต้นกำเนิดของการใช้สายพานเสิร์ฟอาหาร

      ต้องบอกก่อนว่าการใช้สายพานเกิดขึ้นเมื่อปี 1950 ซึ่งร้านแรกที่ใช้ ก็คือ Mawaru Genroku Sush เป็นร้านซูชิสายพาน ในโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ที่ถูกคิดค้นโดย โยชิอากิ ชิราอิชิ ที่ปัจจุบันได้ขึ้นชื่อว่าเป็น บิดาแห่งซูชิสายพาน ซึ่งไอเดียเกิดหลังจากที่เขาได้ไปดูงานที่โรงเบียร์ Asahi และได้เห็นขวดเบียร์เรียงบนสายพานตามขั้นตอนการบรรจุ ก็ทำให้ชิราอิชิเกิดความคิดขึ้นมาว่า เขาน่าจะลองเอาระบบสายพานอุตสาหกรรมไปลองใช้กับร้านซูชิของเขาดูบ้าง

     และสืบเนื่องจากในตอนนั้นเกิดการขาดแคลนแรงงานทำให้การจ้างเชฟซูชิทำได้ยาก และเมื่อไม่มีคนงานก็เกิดปัญหาการเสิร์ฟซูชิให้ลูกค้า ซึ่งชิราอิชิมองว่าการใช้คนเสิร์ฟเสียทั้งเวลาและเงินโดยเปล่าประโยชน์ และด้วยความที่ร้านอาหารของเขากำลังไปได้สวย เขาจึงมีความคิดที่จะติดสายพานในการลำเลียงซูชิเพื่อตัดปัญหาในการส่งซูชิ และซูชิสายพานก็ถือกำเนิดขึ้นแต่ตั้งวันนั้นมาจนถึงวันนี้ และแนวคิดนี้ก็ประสบความสำเร็จมาก

     แต่เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาก็เกิดเรื่องขึ้นที่ร้านซูชิสายพาน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ณ ร้านซูชิเจ้าดังอย่าง Sushiro หลังจากที่มีเด็กชายถ่ายวิดีโอลงโซเชียลมีเดีย ทำพฤติกรรมอันไม่สมควร โดยการเลียถ้วยและขวดซอสที่ยังไม่ได้ถูกใช้ของลูกค้าท่านอื่นๆ และยังมีการเลียนิ้วมือและนำไปแตะซูชิที่อยู่บนสายพานอีกด้วย

     ซึ่งหลังจากที่คลิปถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้เป็นกระแสไวรัล และมีผู้เข้าชมมากกว่า 98 ล้านครั้งบน Twitter และจากเหตุการณ์นี้ทำให้ราคาหุ้นของ Food & Life Companies Ltd ซึ่งเป็นบริษัทเจ้าของ Sushiro ตกลงไป 4.18% และทำให้มูลค่าบริษัทตก 4.3 พันล้านบาท เพราะเด็กเล่นพิเรนทร์เพียงคนเดียว แต่สุดท้ายเด็กชายก็ออกมาขอโทษและมอบตัวกับทางตำรวจแล้ว จากเคสนี้สร้างความเสียหายไม่น้อยให้กับซูชิสายพาน และรวมถึงร้านอาหารที่ใช้สายพานในการลำเลียงอาหารด้วยไม่น้อยเลย

ปัญหาย่อมมีทางออก

      การแก้ไขกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางร้านที่เกิดเหตุได้มีการเปลี่ยนขวดซอสถั่วเหลืองทั้งหมดและทำความสะอาดทุกถ้วยอย่างละเอียดเพื่อสร้างความสบายใจต่อลูกค้า

     แต่ร้านอาหารหลายแห่งไม่สามารถไล่ทำความสะอาดขวดซอสและถ้วยชามทั้งหมดระหว่างการรับประทานอาหารแต่ละครั้งได้ ทำให้ร้านซูชิหลายแห่งต้องคิดวิธีการเสิร์ฟซูชิใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหา ซึ่งใช้กล้อง AI ในการตรวจจับในการเปิดและปิดฝาของซูชิ เมื่อจานไหนดูน่าสงสัย ระบบจะแจ้งเตือนพนักงานทันที และร้านแรกที่ใช้คือร้าน Kura Sushi

     จากเคสนี้ทำให้เราเห็นว่าแม้ว่าธุรกิจจะเจอกับอุปสรรคอะไรก็ตาม วิธีแก้ ก็คือ การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นั้นๆ แม้ว่ามันอาจจะไม่เกิดขึ้นกับธุรกิจของเพื่อนๆ ผู้ประกอบการ แต่ก็อาจจะได้รับผลกระทบเล็กๆ น้อยๆ สิ่งที่ธุรกิจต้องทำ คือ การปรับตัวให้รวดเร็วที่สุด อย่างเคสข้างต้นนั่นเอง

ที่มา :  https://designtaxi.com/news/422225/Japan-To-Combat-Sushi-Terrorism-At-Conveyor-Belt-Restaurants-With-AI-Cameras/

https://asia.nikkei.com/Spotlight/Comment/How-sushi-was-ruined-by-the-separation-of-supply-and-demand

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน