เชียงใหม่ อนาคตศูนย์กลางการผลิตรถ EV ภารกิจท้าทาย ประธานสมาพันธ์ SME ไทย จ.เชียงใหม่

TEXT : Neung Cch.

PHOTO : เจษฎา ยอดสุรางค์

Main Idea

  • ปัญหามลพิษทางอากาศ pm 5 ถูกพูดถึงและหยิบยกเป็นปัญหาระดับชาติ เพราะนอกจากทำลาย สุขภาพแล้วยังทำลายเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

 

  • ภาพรวมจังหวัดเชียงใหม่มีรถมอเตอร์ไซด์ประมาณ 8 แสนคัน รถยนต์ประมาณ 4 แสนคัน ถ้าสามารถ สร้าง Eco system ของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) นอกจากจะช่วยลดมลภาวะแล้วยังทำให้เกิดการค้าสอดรับกับนโยบาย BCG ของภาครัฐ

 

     ตัวเลขรายได้ที่หายไปถึงเดือนละหนึ่งหมื่นล้านบาทของจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงโควิด นับเป็นเรื่องใหญ่สมาพันธ์ SME ไทย จังหวัดเชียงใหม่ไม่ได้นิ่งดูดาย ในช่วงสองปีที่ผ่านมาทางสมาพันธ์ฯ จึงเน้นไปที่การขับเคลื่อนสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการเป็นหลัก ทว่าในปี 2566 นี้สมาพันธ์ SME ไทย จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีแนวทางที่จะกระตุ้นผู้ประกอบการหลายๆ ด้าน หนึ่งในนั้นคือ การผลักดันให้เชียงใหม่เป็น Eco system ของการผลิตรถยนต์ EV เพื่อสอดรับกับนโยบาย BCG ของภาครัฐแล้วยังช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งอยู่ในแผนยุทธ์ศาสตร์ 5 ปี ของเอสเอ็มอีจังหวัดเชียงใหม่

     แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ของเอสเอ็มอีจังหวัดเชียงใหม่จะเป็นอย่างไร ไปฟังคำตอบจาก อาคม สุวรรณกันธา ประธานสมาพันธ์ SME ไทย จังหวัดเชียงใหม่

Q : ปัจจุบันภาพรวมเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงใหม่เป็นอย่างไรบ้าง

     ก่อนโควิด GDP โดยรวมของเชียงใหม่ อยู่ที่สองแสนห้าหมื่นล้านบาท โดยเศรษฐกิจหลักๆ ของเชียงใหม่จะมาจากภาคการท่องเที่ยวประมาณ 70% รองมาคือ ภาคเกษตร คาดว่าเศรษฐกิจเชียงใหม่ปี 2566 จะมีการขยายตัว 2.5% จากปี 2565 ส่วนหนึ่งมาจากนักท่องเที่ยวเริ่มกลับมาแล้ว โดยเฉลี่ยเชียงใหม่มีนักท่องเที่ยวประมาณ 12-13 ล้านคน แบ่งเป็นคนไทย 70% ต่างประเทศ 30% ในนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 30% นั้นเป็นนักท่องเที่ยวจีน 70% ยุโรป 10% ฉะนั้นสิ่งที่เรามองว่าการฟื้นตัวเชียงใหม่พึ่งนักท่องเที่ยวไทยเป็นหลัก

Q : สมาพันธ์ SME ไทย จังหวัดเชียงใหม่ฯ มีนโยบายขับเคลื่อนเอสเอ็มอีอย่างไรบ้าง

     ช่วงสองปีที่ผ่านมา สมาพันธ์ SME ไทยเชียงใหม่เน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยการขับเคลื่อนสภาพคล่องเป็นหลัก ได้เข้าไปทำ MOU กับหลายๆ สถาบันการเงิน ปีนี้ก็จะทำให้เกิดการปฏิบัติการในเชิง ACTION รวมทั้งมีภารกิจ 5 ด้านคือ หนึ่ง Smart Agriculture การเกษตรที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยการทำธุรกิจ ช่วยเกษตกรลดต้นทุน มีรายได้เพิ่มขึ้น สอง ผลักดันให้ SME มีสภาพคล่อง ดอกเบี้ยต่ำ สาม สร้างเครือข่ายให้มีการเชื่อมโยงกันมากขึ้นทั้งภาครัฐ เอกชน สี่ เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการที่จะประสานปัญหาต่างๆ ไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ห้า ขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ การส่งผักผลไม้แปรรูปไปต่างประเทศ

     อย่างไรก็ดีโดยรวมพื้นที่ภาคเหนือเป็นเศรษฐกิจกระจุกตัว ความเจริญเหลื่อมล้ำสูง ประมาณ 40% ของภาคเหนือเป็นธุรกิจภาคเกษตร การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของภาคเหนือต้องเน้นขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชียงใหม่นั้นจะเน้นไปที่ 5 เรื่องคือ หนึ่ง Food เน้นไปที่ อาหารแห่งอนาคต และอาหารแปรรูป สอง Fashion สาม Film เป็นสถานที่ถ่ายภาพยนตร์เพื่อโปรโมตแหล่งท่องเที่ยว สี่ Fight ผลักดันให้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองแห่งมวยไทย ทำให้เป็น soft power และห้า Festival คือ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เชียงใหม่ได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองเทศกาลโลก World Festival and Event City ประจำปี 2022 จึงอยากสานต่อด้านการท่องเที่ยว อยากให้มี festival ทั้งปีเพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

Q : ทำไมถึงอยากให้เชียงใหม่เป็น Eco system ของการผลิตรถ EV

     ทั้งนี้ในเชียงใหม่เป็นจังหวัดหนึ่งมีปัญหาเรื่องมลภาวะอากาศ ค่า PM 2.5 เพิ่มสูงมาก ปีที่แล้วเราร่วมกับ Robinhood ส่งเสริมให้ไรเดอร์ใช้มอเตอร์ไซด์ EV เราพยายามศึกษาเรื่องนี้ต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SME เข้าสู่ธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวทาง BCG

     แนวทางการสร้าง Eco system ของการผลิตรถถยนต์ EV เชียงใหม่ที่วางไว้ อาทิ การไปโรดโชว์และ matching business ที่จีน เพื่อสร้างให้เกิด EV conversion แปลงรถยนต์ที่เก่า รถยนต์ที่ควันดำให้เป็นรถ EV มากขึ้น ในเชียงใหม่มีรถมอเตอร์ไซด์ประมาณ 1.8 แสนคัน รถยนต์ประมาณ 4 แสนคัน

     นอกจากจะได้เรื่องลดมลภาวะแล้ว ยังมีโอกาสสร้างงานให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ มีการสร้างช่างผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เกิด Eco System การผลิตรถ EV เพื่อรองรับอนาคต ถ้าเริ่มช้าเสียโอกาสเพราะประเทศเพื่อนบ้านก็เริ่มตื่นตัวกันแล้ว อย่างไรก็ตามตอนช่วงเริ่มต้นเราอาจรัฐบาลต้องเอื้อบางอย่าง เช่นลดภาษีนำเข้าบางอย่าง เพราะหนึ่งในปัจจัยของความสำเร็จคือ มีสถานีชาร์เจอร์ EV มากเพียงพอ

Q : คำแนะนำสำหรับ SME

ต้องมีความร่วมมือแตะมือกับคนรุ่นใหม่ เติมเรื่องนวัตกรรมเข้าไปในการทำธุรกิจ อีกทั้งเกาติดเรื่อง E commerce ที่เห็นได้ชัดคือตอนนี้หลายๆ ธุรกิจก็มีช่องทางการชำระเงินออนไลน์หมดแล้ว ผู้ประกอบการต้องพยายารมปรับตัวเองให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น มาช่วยการทำธุรกิจให้ต้นทุนลดลง พยายามสร้างโอกาสไปร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างการเติบโตแบบยั่งยืน

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

HEH ร้านอาหารย่านภูเก็ต เชฟใช้เวลาในครัวให้เหมือนอยู่ในสนามแข่ง ไม่อยากเป็นแค่ Just Another Restaurant

“HEH (เห)” ร้านอาหารสไตล์  Australian Contemporary กลางเมืองภูเก็ต สร้างเมนูอาหารให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะไม่อยากเป็นเพียง แค่ร้านอาหารร้านหนึ่ง

จงปังนมสด ร้านดังแห่งสุราษฎร์ธานี แจ้งเกิดเพราะแบรนด์ดิ้ง และไอเดียทำคอนเทนต์จนเป็นไวรัล

"จงปังนมสด" ร้านดังเมืองสุราษฎร์ธานี ที่กำลังโด่งเป็นไวรัลขณะนี้ จากคลิปตัดต่อที่นำเสียงของเจ้าของเจ้าของร้านขนมปังชื่อดังย่านกทม. อย่าง "มนต์นมสด" มาเป็นแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ