ผลวิจัยใหม่ชี้เนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บ อาจทำโลกร้อนกว่าเนื้อวัวถึง 25 เท่า

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • มีผลการศึกษาใหม่ชี้ให้เห็นว่าเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการนั้นทำลายสภาพอากาศกว่าเนื้อวัวจริงถึง 25 เท่า!

 

ทำไมต้องมีเนื้อเพาะเลี้ยง?

     หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องมีการผลิต เนื้อเทียม หรือ เนื้อเพาะเลี้ยงจากห้องแล็บ ที่มาจากคำว่า Lab-grown meat หรือ Cultured meat ทั้งนี้เหตุผลหลักๆ ก็คือ นอกจากลดการเบียดเบียนการทานเนื้อสัตว์แล้ว ยังมีรายงานว่า การทำปศุสัตว์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 7,200 ล้านตัน หรือ 13% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด

     เรื่องนี้จริงจังถึงขนาดที่ประเทศนิวซีแลนด์ เตรียมเรียกเก็บค่าภาษี มลพิษจากปศุสัตว์ อาทิ การเลี้ยงแกะและการเลี้ยงวัว โดยจุดประสงค์ของเรื่องนี้ก็คือ ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของโลกให้น้อยลง 

     ประเด็นดังกล่าวทำให้เกิดการคิดค้นการผลิตเนื้อเทียมโดยการเพาะเลี้ยงในห้องแล็ปขึ้นมาทดแทน ที่ศาสตราจารย์ Mark Post นำเสนอต่อคนทั่วโลกเมื่อปี 2012 และต่อมาก็ทำให้มีคนให้ความสนใจกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อรับประทาน และการประยุกต์ใช้เนื้อเทียมจากสิ่งอื่นๆ 

     ปัจจุบันเนื้อเทียมที่มีขายโดยทั่วไป มักทำมาจาก Plant based protein เช่น ถั่วชนิดต่างๆ ข้าวสาลี ธัญพืช และมีไม่กี่ประเทศที่ออกกฎหมายเรื่องการขายเนื้อเทียมประเภทสังเคราะห์จากแล็บสู่ภาคประชาชนอย่างจริงจัง ซึ่งประเทศแรกที่อนุมัติเรื่องนี้คือ สิงค์โปร์

     ต่อมาก็มีเนื้อไก่ที่เพาะในแล็บที่ผลิตโดยบริษัท Eat Just ของสหรัฐฯ เสิร์ฟครั้งแรกที่ร้านอาหารสิงคโปร์ในปี 2020 และได้รับการอธิบายว่ามีรสชาติที่ 'เหมือนกับไก่ที่เลี้ยงในฟาร์ม'

     ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศให้เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์ปูทางให้สามารถจำหน่ายเนื้อสัตว์เหล่านี้ในอเมริกาได้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ธุรกิจเพาะเนื้อในห้องแล็บเติบโตจากสถิติปี 2565 มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจนี้มากกว่า 150 บริษัท

     อย่างไรก็ดีมีการคาดการณ์ว่าเนื้อจากห้องแล็บจะแพร่หลายมากขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า ชนิดที่ว่าแทบจะหาได้ในตู้เย็นทั่วไปของทุกบ้าน

     ถ้าเป็นตามนั้นการผลิตเนื้อเทียมจะต้องมีการขยายการผลิตกลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องใช้พลังงานมาก

 

เนื้อเทียม VS เนื้อวัวแท้

     เร็วๆ นี้คณะวิทยาศาสตร์อาหารและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส (Department of Food Science and Technology, University of California, Davis) ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบพลังงานที่จำเป็นสำหรับขั้นตอนของการเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์ในห้องปฏิบัติการ จากส่วนผสมที่เป็นตัวกลางในการเจริญเติบโตและพลังงานที่ต้องใช้ในห้องปฏิบัติการ และเปรียบเทียบกับเนื้อวัว โดยสิ่งที่นำมาใช้ในการเปรียบเทียบคือ ปริมาณของส่วนประกอบอาหารในการเลี้ยงวัว ได้แก่ กลูโคส กรดอะมิโน วิตามิน เกลือและแร่ธาตุ

     พวกเขาพบว่าการเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์ในห้องปฏิบัติการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 246 ถึง 1,508 กิโลกรัมต่อการผลิตเนื้อ 1 กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าการผลิตเนื้อวัว 4 ถึง 25 เท่า

     ทั้งนี้ทางทีมวิจัยได้ให้ความเห็นว่า แม้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อในห้องแล็บจะลดการทำลายป่าเพื่อทำฟาร์ม แต่ ในการเพาะเลี้ยงต้องใช้พลังงานและทรัพยากรสูง โดยเฉพาะถ้ามีการผลิตในจำนวนมากเพื่อเป็นธุรกิจขนาดใหญ่

     ประเด็นสำคัญ คือ การทำให้เนื้อแล็บสะอาดทานได้อย่างปลอดภัยนั้น ต้องมีการกำจัดสาร ‘เอนโดท็อกซิน’ (endotoxins) ซึ่งในกระบวนการนี้ใช้พลังงานสูงขึ้นมาก ทีมสรุปว่าแนวคิดเนื้อเพาะเลี้ยงนี้เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็สำคัญที่จะต้องศึกษาผลกระทบให้รอบด้าน

ที่มา : https://www.newscientist.com/article/2372229-lab-grown-meat-could-be-25-times-worse-for-the-climate-than-beef/

https://interestingengineering.com/science/lab-grown-meat-25-times-co2

https://www.iflscience.com/lab-grown-meat-up-to-25-times-worse-for-the-environment-than-beef-68859

https://blog.pttexpresso.com/cultured-meat/

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

ทำธุรกิจซัก-รีด ยังไงให้มีรายได้สาขาละแสน ล้วงความลับกับเจ้าของแบรนด์ ตั้งใจซัก

หนึ่งในธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เสือนอนกิน” นั้นต้องมีธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญติดในลิสต์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่สนใจเปิดธุรกิจนี้มากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจเสือนอนกิน ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเสือที่ได้กินธุรกิจนี้ง่ายๆ

Erabica Coffee ผู้ปักหมุด กาแฟน่าน ให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ

นี่คือสองสามีภรรยา ที่อยากมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่น่าน คิดสร้างแบรนด์กาแฟของตัวเองขึ้นมาในชื่อ Erabica (เอราบิก้า) กลายเป็นการยกระดับกาแฟน่านเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น

HEH ร้านอาหารย่านภูเก็ต เชฟใช้เวลาในครัวให้เหมือนอยู่ในสนามแข่ง ไม่อยากเป็นแค่ Just Another Restaurant

“HEH (เห)” ร้านอาหารสไตล์  Australian Contemporary กลางเมืองภูเก็ต สร้างเมนูอาหารให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะไม่อยากเป็นเพียง แค่ร้านอาหารร้านหนึ่ง