ทำไมผู้นำโลกเทคโนโลยีอย่างไต้หวัน ให้ความสำคัญกับดีไซน์ ล้วงความลับกับ Oliver Lin, Vice President of TDRI

 TEXT : Neung Cch.

PHOTO : เจษฏา ยอดสุรางค์

Main Idea

  • แม้ว่าเทคโนโลยีอาจทำให้ธุรกิจไปได้ไกล แต่จะได้ใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นถ้ามีการผสมผสานการออกแบบที่ดีเข้าไปด้วย

 

  • นั่นทำให้รัฐบาลไต้หวันได้ตั้งหน่วยงานที่ชื่อว่า สถาบันวิจัยด้านการออกแบบแห่งไต้หวัน (Taiwan Design Research Institute หรือ TDRI) เพื่อพัฒนาการออกแบบของประเทศไต้หวัน เผื่อยกระดับให้เกาะแห่งนี้ไม่ได้มีดีแค่เรื่องเทคโนโลยีเพียงมิติเดียว

 

     แม้จะได้รับฉายาว่าเป็นเกาะมหาอำนาจ เป็นประเทศที่สามารถเป็นทั้งผู้ผลิตและส่งออก Semiconductor ให้กับบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลกยอมรับแล้ว ทางรัฐบาลไต้หวันยังมองเห็นว่าเรื่องการออกแบบไม่ได้สำคัญยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การออกแบบนั้นสำคัญอย่างไรกับธุรกิจถึงกับขนาดที่รัฐบาลไต้หวันต้องยอมลงทุนก่อตั้ง TDRI ขึ้นมา ไขคำตอบกับ Oliver Lin, Vice President of Taiwan Deign Research Institute

Q: ช่วยอธิบายถึงบทบาทหน้าที่ของ TDRI ของไต้หวัน

     TDRI เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ให้ช่วยมาให้โฟกัสเรื่องการออกแบบของไต้หวัน ทำให้สินค้าไต้หวันดูดีขึ้นในทุกแง่ทุกมุม

Q: ทำไมรัฐบาลไต้หวันถึงให้ความสำคัญกับการออกแบบสำคัญและการออกแบบจะมีส่วนช่วยผลักดันธุรกิจได้อย่างไร

     อย่างที่รู้กันดีว่าไต้หวันเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออก Semiconductor ให้กับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำทั่วโลก แต่รัฐบาลมองเห็นว่าเรื่องการออกแบบสำคัญไม่แพ้กัน เพราะมันสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้า เพิ่มมูลค่าแบรนด์ รวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศไต้หวันด้วยว่านอกจากเทคโนโลยีที่ดีแล้วไต้หวันยังมีเรื่องออกแบบที่ดีมาเสริมด้วย

     โดย TDRI จะแบ่งการทำงานออกเป็น 5 ส่วน 1. DESIGN POLICY คือ กำหนดนโยบายการออกแบบแห่งชาติ 2. INDUSTRIAL INNOVATION คือ การทำนวัตกรรมอุตสาหกรรมต่างๆ 3. PUBLIC SERVICE DESIGN คือ การออกแบบเพื่อสาธารณะ 4. DESIGN FOR SOCIAL INNOVATION คือ การออกแบบเพื่อนวัตกรรมของสังคม 5. DESIGN DIPLOMACY ออกแบบเพื่อกำหนดนโยบายภาพลักษณ์ของไต้หวันว่าจะไปทางใดทำแบรนด์ให้คนรู้จักประเทศเขามากขึ้น

Q: ช่วยยกตัวอย่าง Success case ที่ทาง TDRI ได้เข้าไปช่วยในการทำธุรกิจ

     นอกจากที่ทาง TDRI จะได้รับโจทย์ให้ช่วยออกแบบงานจากรัฐบาลไม่ว่าจะเป็น ออกแบบสถานีรถไฟใต้ดิน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย เรือเฟอรารี่ แล้ว ธุรกิจในไต้หวันเองประมาณ 98% เป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อม ที่ทาง TDRI ได้มีโอกาสเข้าไปช่วย ยกตัวอย่าง คาร์ฟูร์เป็นห้างค้าส่งเริ่มหันมาทำค้าปลีก ได้เปิดบริษัทชื่อว่า impact store ทางเราได้ช่วยไกด์ไลน์ว่า ควรเลือกซื้อสินค้าอย่างไรมาขาย การตกแต่งร้านที่ควรจะเป็นมิตรกับสัตว์ด้วยเพราะเป็นเทรนด์สัตว์เลี้ยงมาแรง ตอนนี้ธุรกิจก็ได้ขยายไปกว่า 10 shop แล้ว

     ในการทำงานที่สำคัญคือ ทุกโปรเจ็กต์เราจะทำวิจัยก่อน เน้นกลยุทธ์ว่าลูกค้าต้องการอะไร ด้วยความที่เราเป็นแพลตฟอร์มเป็นเหมือน facilitate หาบริษัทที่เก่งมีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ทั้งเรื่องการออกแบบ การตกแต่ง ฯลฯ แล้วนำมา matching กับผู้ประกอบการ ช่วยควบคุมดูให้เหมาะกับงบประมาณ ช่วยหาคนที่เหมาะสม คอยคุมด้านการเงิน คุมคุณภาพ เป็นที่พี่งหรือที่ปรึกษาของบริษัท SME เพื่อให้ได้งานที่ดีออกมาตรงกับความต้องการมากที่สุด

Q: TDRI มีจำนวนทีมงานมากน้อยแค่ไหน

     ตอนนี้มีพนักงานอยู่ประมาณ 180 คน โดย 50% ของพนักงานเรียนจบมาทางด้านออกแบบ พนักงานประมาณ 60-70 คนเรียนจบระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ปลายปีก็จะรับพนักงานเพิ่มอีกคาดว่าสิ้นปีนี้จะมีพนักงานทั้งหมด 200 คน โดยอายุเฉลี่ยของพนักงานคือ 36 ปี ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรหนุ่มสาวทันสมัย

Q: คำแนะนำสำหรับ SME ที่ต้องการออกแบบสินค้าให้ประสบความสำเร็จควรเริ่มอย่างไร 

     ก่อนอื่นต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าให้ดีว่าลูกค้าต้องการอะไร ลูกค้าเราคือใคร ส่วนการออกแบบสินค้านั้นก็สามารถนำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะเมืองไทยเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรม มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวมากมาย อยากให้ใช้จุดเด่นวัฒนธรรมตรงนี้มาเป็นไอเดียหลักออกแบบสินค้าเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาซื้อ นำสิ่งเหล่านี้มาใช้ในการออกแบบสินค้าให้เป็นเอกลักษณ์ได้

     ทั้งนี้ทั้งนั้นในการออกแบบสินค้าอยากให้ใช้กระบวนการดีไซน์ thinking เพราะการออกแบบสินค้าไม่ใช่แค่การออกแบบอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจบ แต่มันคือการช่วยคิดและปรับปรุงทั้งกระบวนการให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ทำให้เรามองเห็นวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ตลอดจนสร้างนวัตกรรมตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ เช่น การออกแบบสินให้ตอบโจทย์เรื่องกระแสสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นเทรนด์แรงตอนนี้

Q: เทรนด์การออกแบบสินค้าในอนาคตควรให้ความสำคัญกับเรื่องใดบ้าง

     เทรนด์การออกแบบสินค้าในอนาคตจะเน้นไปที่ 3 เรื่องคือ 1. Sustainability หรือ Green design ทางไต้หวันเองก็ใช้งบประมาณในการออกแบบเรื่องนี้ขึ้นเยอะมาก 2. เทคโนโลยี ดีไซเนอร์ควรดูว่าเทคโนโลยีไปถึงไหนแล้ว สามารถออกแบบยังไงให้เข้ากับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยได้ เช่น เทคโนโลยี 5G ไปดูว่าคนสมัยนนี้ใช้ชีวิตกันอย่างไร ทำงานกันอย่างไร อยู่กันอย่างไร เอาเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาคนทั่วไปได้อย่างไร 3. สิ่งสุดท้ายคือเรื่องวัฒนธรรม ควรจะเอาวัฒนธรรมท้องถิ่น ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นเรื่องสำคัญควรจะนำเอาเข้ามาใส่ในตัวสินค้าการออกแบบก็จะช่วยได้เช่นกัน

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน