จับตาคราฟท์แอลกอฮอล์ ว่าที่ธุรกิจดาวรุ่ง กับปัจจัยที่มีผลต่อเทรนด์ตลาดน้ำเมาในปัจจุบัน

TEXT: วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

Main Idea

  • กลายเป็นกระแสร้อนแรงอย่างมากเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำเองที่มีลักษณะเป็นงานฝีมือ (คราฟท์)

 

  • หลัง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลไปออกรายการทีวีแล้วเมนชั่นถึงบรรดาแบรนด์สุราพื้นบ้านที่ผลิตในจังหวัดต่างๆ จนทำให้แฮชแท็ก #สุราก้าวหน้า ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ไปหลายวัน

 

  • ผู้คนแห่อุดหนุนเหล้าพื้นบ้านแต่ละแบรนด์จนหมดเกลี้ยงและโรงกลั่นแต่ละที่ผลิตไม่ทันเลยทีเดียว

 

     สุราก้าวหน้าเป็นหนึ่งในนโยบายที่เกิดจากความพยายามของพรรคก้าวไกลในการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฉบับใหม่ขึ้นมา เพื่อไปแก้ไขเพิ่มเติมฉบับเดิมที่มีอยู่ โดยเพิ่มเงื่อนไขเพื่อปลดล็อกให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถขออนุญาตผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ จุดประสงค์เป็นการกระจายรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อย และเปลี่ยนสินค้า “โภคภัณฑ์” ประเภท อ้อย ข้าว ธัญพืชและผลไม้ให้เป็น “ผลิตภัณฑ์” ที่มีมูลค่าเพิ่ม

ญี่ปุ่นได้รับแรงบันดาลใจจากไทยในการผลิตสุรากลั่น

     เท่าที่ทราบมา ในหลายประเทศทั้งฝั่งอเมริกา ยุโรปและเอเชียก็เคยมีกฎหมายควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ภายหลังมีการทยอยคลายกูฏเหล็กทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ได้เสรีขึ้น ยกตัวอย่างที่เห็นชัดสุดคือญี่ปุ่น ไทยกับญี่ปุ่นมีตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขนาดใกล้เคียงกันคือ 400,000 แสนล้านบาท/ปี แต่หลังญี่ปุ่นปลดล็อคภาษีเหล้าเบียร์เมื่อปี 1994 จำนวนผู้ผลิตสาเกและเบียร์รายย่อยแบบ sme เพิ่มขึ้นรวมแล้วกว่า 20,000 ราย มากกว่าจำนวนผู้ผลิตในไทยเป็นพันเท่าเลยก็ว่าได้

     หลายวันก่อน ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเที่ยมชมพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่นที่อยุธยา ข้อมูลตอนหนึ่งระบุว่าญี่ปุ่นได้รับแรงบันดาลใจจากไทยในการผลิตสุรากลั่น โดยพบหลักฐานจากเครื่องปั้นดินเผาจากอยุธยาที่ใช้บรรจุเหล้าจำนวนมากที่โอกินาวา สอดคล้องกับการเป็นเส้นทางการค้าระหว่างไทยญี่ปุ่นในสมัยโบราณ นักวิชาการญี่ปุ่นเองก็เชื่อว่าชาวริวกิว (โอกินาว่า) เรียนรู้การกลั่นสุราจากชาวอยุธยา กว่า 600 ปีผ่านไป “อาวาโมริ” ได้กลายเป็นเหล้ากลั่นที่เก่าแก่สุดและมีชื่อสุดของญี่ปุ่น ที่สำคัญยังใช้กรรมวิธีการผลิตและวัตถุดิบที่เป็นข้าวไทยเหมือนเดิม เรียกได้ว่าเป็นเหล้าทำเงินของญี่ปุ่นที่ใช้ภูมิปัญญาของไทยแท้ ๆ  

ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดเทรนด์ในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

     มีรายงานว่าการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำเองที่มีลักษณะเป็นงานฝีมือ (คราฟท์) มีส่วนในการขับเคลื่อนเทรนด์หลัก ๆ ในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โลก ตลอดช่วง 15 ปีที่ผ่านมาหรือมากกว่านั้น เทรนด์หลักในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มคือเรื่องของ “คุณภาพ” จนมาถึงปัจจุบัน เทรนด์นั้นได้ขยายมายังความเป็นพรีเมี่ยมในตลาดเฉพาะกลุ่มหรือ niche market เริ่มต้นจากการปฏิวัติในวงการคราฟท์เบียร์ และสุรา เช่น เหล้ายิน และรัม ผู้ผลิตต่างกำลังพัฒนาคุณภาพและความเป็นงานฝีมือในเครื่องดื่มของตน ทำให้เกิดวิวัฒนาการของรสชาติและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หมวดหมู่ใหม่ ๆ มาดูกันว่าปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดเทรนด์ในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีอะไรบ้าง

     ลูกค้าคาดหวังสิ่งใหม่ๆ การเติบโตของคราฟท์เบียร์จะเกิดขึ้นไปอีกระยะหนึ่ง อย่างในตลาดสหรัฐฯ บริษัทแอลอีเค คอนซัลติ้งระบุตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา ตลาดเหล้าคราฟท์เติบโตเฉลี่ยปีละ 20 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มจะโต 15-20 เปอร์เซ็นต์ในปีต่อไปโดยมีคลื่นลูกใหม่ของคราฟท์เบียร์ช่วยจุดประกายให้ผู้คนหันมาโฟกัสคุณภาพของสุรามากขึ้น โดยเฉพาะเหล้ายินที่ขยายตัวอย่างมากทำให้เกิดแบรนด์ยอดนิยมหลายแบรนด์ อาทิ เฮนดริกส์ จินมาเร่ และมังกี้47    

     ก่อนหน้านั้น เหล้าคราฟท์มักจำหน่ายในปริมาณไม่มากและจำเพาะไปที่บาร์หรือร้านอาหารบางแห่ง แต่ปัจจุบัน  หากเดินดูตามซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านค้าจะเห็นเหล้าคราฟท์วางขายตามชั้นเกือบทุกที่ มีความหลากหลายทั้งรสชาติ วัตถุดิบ และสมุนไพรที่ใช้ในการผลิต ทำให้ผู้ดื่มมีทางเลือกมากขึ้น ผู้บริโภคในปัจจุบันต้องการและคาดหวังอะไรใหม่ๆ เหล้าทางเลือกเหล่านี้จึงมีส่วนสำคัญในการสร้างประสบการณ์และความสนใจให้กับผู้บริโภค 

     ค็อกเทลช่วยดันตลาดให้โต วัฒนธรรมเครื่องดื่มที่มีเหล้าผสมหรือค็อกเทลมีส่วนในการทำให้ผลิตภัณฑ์เหล้าและเบียร์คราฟท์ได้รับความนิยม โดยเฉพาะเมื่อบาร์เทนเดอร์ในร้านอาหารและบาร์ได้ลองคิดค้นสูตรเครื่องดื่มจากสุราทางเลือกเพื่อเอาใจและสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ลูกค้า ในอังกฤษ เครื่องดื่มทั้งแบบคลาสสิกและรังสรรค์ขึ้นมาใหม่ถูกบรรจุในเมนูของร้านอาหารและบาร์กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ทั่วประเทศ ส่งผลให้ยอดขายค็อกเทลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ นอกจากนั้น อีกปัจจัยที่ผลักดันให้ตลาดเครื่องดื่มคราฟท์โตคือผู้บริโภคที่กระหายความแตกต่าง ลูกค้ากลุ่มนี้ไม่ต้องการเหมือนใครจึงมักแชร์เครื่องดื่มแปลกลงในไอจีหรือโซเชี่ยลมีเดียอื่นๆ  

     การเกิดใหม่ของเหล้าต่างๆ เพราะเครื่องดื่มในหมวดหมู่เดิมๆ เริ่มมีความอิ่มตัว จึงเปิดโอกาสให้โรงกลั่นขนาดเล็กได้ลองทำอะไรที่แตกต่างออกไป The Spirits Business สื่ออังกฤษที่นำเสนอข้อมูลในอุตสาหกรรมสุราคาดการณ์ว่าการคิดนอกกรอบของเจ้าของโรงกลั่น เช่น การคิดค้นเครื่องดื่มข้ามสายพันธุ์ การพัฒนาเทคนิคการกลั่น และการทดลองวัตถุดิบที่แตกต่างทำให้เกิดสุราหมวดหมู่ใหม่ที่พวกเขานิยามขึ้นมาเองและมีความแตกต่างจากของเดิม

     ยกตัวอย่างการเกิดใหม่ของเหล้าอิตาเลี่ยนโบราณ อาทิ “อิตาลิคัส” (Italicus) เหล้ายุคศตวรรษ 15 ที่ใช้กลีบกุหลาบในการทำ แต่สมัยใหม่มีการดัดแปลงใช้มะกรูดและมะนาวเหลืองแทน และผลิตด้วยเทคนิคที่ต่างออกไป หรือ “คาเดลโล” ซึ่งเป็นเหล้าอิตาเลี่ยนจากยุคศตวรรษ 18 ซึ่งมีส่วนผสมของวัตถุดิบ 8 อย่าง รวมถึงโป๊ยกั๊ก เฮเซลนัท มินต์ และกาแฟที่ทำให้กลายเป็นเหล้ารสชาติเอกลักษณ์เฉพาะตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการลองของใหม่ 

     Less is more น้อยแต่เน้นๆ บ่อยครั้งที่คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ หลายคนไม่ได้เน้นดื่มเยอะ แต่เน้นความรื่นรมย์ในการร่ำสุรามากกว่า ผู้บริโภคกลุ่มนี้จึงยินดีจ่ายแพงกว่าเพื่อให้ได้สุราที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างพิถีพิถัน การเติบโตของตลาดสุรามีแนวโน้มจะย้ายไปยังกลุ่มสุราที่มีความหรูหราและพรีเมี่ยมโดยมีผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลช่วยผลักดันตลาด ข้อมูลระบุมูลค่าการบริโภคสุราพรีเมียมของกลุ่มมิลเลนเนียลนั้นมีสัดส่วนถึง 32 เปอร์เซ็นต์ ช่วงปี 2012-2017 ตลาดสุราพรีเมียมอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นปีละ 6-7 เปอร์เซ็นต์ มีการคาดการณ์ว่า 43 เปอร์เซนต์ของผู้บริโภคเลือกดื่มสุราพรีเมียมคุณภาพสูง ผู้ผลิตสุราจึงควรปรับการผลิตเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในตลาด 

     กระแส Homebrew กำลังมา หลังจากที่ได้ลิ้มลองคราฟท์แอลกอฮอล์ประเภทต่างๆ ตามบาร์และร้านอาหาร ผู้บริโภคหลายคนเริ่มติดใจถึงขนาดเริ่มทดลองทำเอง นั่นทำให้กระแส homebrew หรือการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เองในบ้านกลายเป็นที่สนใจ กอปรกับชุดอุปกรณ์การผลิตแบบครบครันและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตก็มีจำหน่ายทั่วไป แถมมีหลากหลายรสชาติให้เลือก ทำให้การทดลองทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คราฟท์เป็นเรื่องสนุก ก่อนผลิตเชิงพาณิชย์ หลายแบรนด์ก็เริ่มมาจากการเป็นมือสมัครเล่นลองผิดลองถูกมาก่อนนั่นเอง    

     จะเห็นว่าจากที่เป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม แต่กระแสตอบรับและเทรนด์ความต้องการของผู้บริโภค จึงทำให้มองได้ว่าไม่เพียงแทรกตัวในตลาดหลัก ในอนาคตผลิตภัณฑ์คราฟท์แอลกอฮอล์อาจผงาดเคียงข้างเครื่องดื่มที่แทสแล้วในตลาดก็ว่าได้

ที่มา : https://www.newfoodmagazine.com/article/89838/key-trends-alcoholic-market-craft/

https://thecraftycask.com/craft-spirits-liqueurs/what-is-craft-alcohol/

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน