ธุรกิจทำเงินสุดแปลก แปรซากสัตว์เป็นงานศิลปะ ลูกค้าแห่ใช้บริการเพียบที่สิงคโปร์

TEXT : วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

Main Idea

  • สัตว์เลี้ยงเหมือนลูกรักของคนในยุคนี้ ทำให้เกิดธุรกิจมากมายขึ้นมารองรับกลุ่ม Pet lover

 

  • หลายคนยิ่งทำใจไม่ได้เมื่อต้องสูญเสียสัตว์รักไป ทำให้เกิดบริการแปรซากสัตว์เป็นงานศิลปะ หรือ การทำให้ซากสัตว์คงสภาพเหมือนมีชีวิตด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์หรือที่เรียกว่าการสตัฟฟ์สัตว์นั่นเอง

 

  • มีผู้ใช้บริการมากมายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมราว 500 ตัว แมลงและสัตว์เลื้อยคลานกว่า 1,000 ตัว สัตว์ตัวเล็กสุดที่คือมด ใหญ่สุดคือม้า

 

  • ทำให้ธุรกิจ Black Crow Taxidermy & Art ขยายทีมเพิ่มถึง 8 คน

 

     เมื่อสัตว์เลี้ยงแสนรักเสียชีวิตลง เชื่อว่าหลายคนที่ยังทำใจไม่ได้คงต้องการหาวิธีได้อยู่ด้วยกันไปนาน ๆ และวิธีหนึ่งนั้นคือ “Taxidermy” การทำให้ซากสัตว์คงสภาพเหมือนมีชีวิตด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์หรือที่เรียกว่าการสตัฟฟ์สัตว์นั่นเอง ซึ่งคนที่จะทำได้ก็คือ Taxidermist งานแบบนี้ หากเป็นก่อนหน้าคงจำจัดเฉพาะในแวดวงพิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์หรือสถาบันเพื่อการเรียนรู้ แต่ปัจจุบันมีนัก Taxidermist ไม่น้อยที่รับงานเชิงพาณิชย์จากลูกค้าทั่วไป ทำให้ซากสัตว์คงสภาพเหมือนมีชีวิต

     บนเส้นทางสู่การเป็นนัก Taxidermist เริ่มต้นที่บ้านเกิดของวิเวียนที่เมืองอิโปห์ รัฐเปรักของมาเลเซีย ในวัยเด็กเธอมักจะติดตามพี่ชายเข้าไปในป่าใกล้บ้านเพื่อเก็บซากแมลงที่ตายแล้ว ความประทับในในสีสันและรูปทรงของแมลงชนิดต่าง ๆ ทำให้เมื่อโตขึ้น เธอเลือกเรียนสัตววิทยาที่มหาวิทยาลัยมาเลเซียซาราวัก จากนั้นก็ศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านพยาธิวิทยา ระหว่างทำงานในฐานะนักสัตววิทยาที่สิงคโปร์ และต้องศึกษาซากสัตว์จำนวนมากเพื่องานวิจัย หลังเสร็จโครงการ แทนที่จะทิ้งซากสัตว์เหล่านั้น อาศัยความรู้จากการสตัฟฟ์สัตว์ระหว่างฝึกงานที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติมาเลเซียเธอจึงทำการสตัฟฟ์สัตว์เหล่านั้นไว้

     เนื่องจากอาชีพนัก Taxidermist ไม่แพร่หลายและวิเวียนชอบทำงานคนเดียว เธอจึงค้นพบเส้นทางที่ชอบ และเริ่มฝึกฝนการสตัฟฟ์สัตว์อย่างจริงจัง กลางปี 2020 เธอเริ่มนำผลงานที่เป็นแมลงต่างๆ และผีเสื้อซึ่งเธอมองว่าเป็นงานศิลปะวางขายทางออนไลน์ กระทั่งเริ่มมีคนมาขอให้สตัฟฟ์สัตว์เลี้ยงให้ ปลายปี 2021 เธอจึงเปิดสตูดิโอ Black Crow Taxidermy & Art ขึ้นในแฟลตที่พักอาศัยของเธอ

     ลูกค้าช่วงแรกๆ เป็นมิตรสหายใกล้ตัวที่นำสัตว์เลี้ยง เช่น แมว และสุนัขมาให้สตัฟฟ์ ก่อนนำไปโพสต์ลงบนโซเชียลมีเดียวเพื่อโชว์ความสวยงามสมจริง ทำให้วิเวียนเริ่มเป็นที่รู้จัก และลูกค้าเริ่มมากขึ้น เธอจึงขยับขยายไปเปิดสตูดิโอในพื้นที่กว้างขึ้นในย่านไชน่าทาวน์ของสิงคโปร์ เธอเผยว่าบริการรักษาซากสัตว์ของเธอจะมี 5 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ การสตัฟฟ์ (ทำให้ซากสัตว์คงสภาพเหมือนมีชีวิต) การทำให้แห้ง การดองในสารเคมี การกลายสภาพให้เป็นมัมมี่ และการทำเป็นโครงกระดูก

     เนื่องจากวิเวียนกลางวันทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ห้องแล็บที่โรงพยาบาลสัตว์แห่งหนึ่งในสิงคโปร์ เธอจึงรับงานได้ไม่เยอะ ลูกค้าต้องรอคิวบางทีนาน 6 เดือนถึง 1 ปีเลยทีเดียว ลูกค้าโดยมากเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยง และนักวิชาการ เช่น นักกีฏวิทยาที่ศึกษาเรื่องแมลง เธอเล่าว่าลูกค้าบางคนเก็บซากสัตว์ไว้ในตู้แช่แข็งนานนับปีก่อนจะมาเจอเธอ จนถึงขณะนี้ วิเวียนทำผลงานไปแล้วมากมาย เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมราว 500 ตัว แมลงและสัตว์เลื้อยคลานกว่า 1,000 ตัว เล็กสุดที่เคยทำคือมด ใหญ่สุดคือม้า สำหรับราคา ถ้าเป็นสุนัขและแมว เริ่มต้นที่ตัวละ 1,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 6.4 หมื่นบาท) ถ้าเป็นสัตว์เล็ก เช่น หนูแฮมสเตอร์ ราคาประมาณ 260 ดอลลาร์หรือประมาณเก้าพันบาทเศษ

     นอกจากบริการสตัฟฟ์สัตว์แล้ว ที่สตูดิโอของวิเวียนยังเปิดเวิร์กช้อปให้บุคคลทั่วไปได้มาเรียนรู้และทดลองสตัฟฟ์สัตว์ด้วย ลูกค้ามีทุกเพศทุกวัย อายุน้อยสุดเป็นเด็กหญิงวัย 7 ขวบที่สนใจเกี่ยวกับผีเสื้อ ขณะที่ลูกค้าอายุเยอะสุดเป็นคุณตาวัย 78 ปีที่มาเรียนรู้การสตัฟฟ์นกเพื่อใช้ตกแต่งบ้าน และมีนักเรียนจำนวนไม่น้อยมาเข้าเวิร์กช้อปเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะเข้าสู่อาชีพที่เกี่ยวกับสัตว์ เช่น สัตวแพทย์ดีหรือไม่

     ปัจจุบันธุรกิจ Black Crow Taxidermy & Art คืนทุน มั่นคง และได้รับการยอมรับ จากที่ทำงานคนเดียว วิเวียนก็ขยายทีมมีพนักงานและอาสมัครมาช่วยงานอีก 8 คน วิเวียนเล่าว่ากว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ต้องต่อสู้กับความเชื่อของคนในสังคมเอเชีย ที่คนส่วนใหญ่ยังเชื่อมโยงความตายกับผีและวิญญาณ สำหรับคนรุ่นเก่า เมื่อสัตว์เลี้ยงตายมักจะเลือกเผาหรือฝัง มาถึงจุดนี้ คนรุ่นใหม่เริ่มมองการสตัฟฟ์สัตว์เป็นงานวิทยาศาสตร์ที่ผสมผสานงานศิลปะ สัตว์ที่สตัฟฟ์ก็ไม่ต่างจากงานที่แสดงในพิพิธภัณฑ์ 

ที่มา : https://cnalifestyle.channelnewsasia.com/living/singapore-taxidermist-vivian-tham-black-crow-taxidermy-298751

https://www.straitstimes.com/multimedia/graphics/2022/11/singapore-preservation-taxidermy/index.html?shell

https://www.cnbc.com/2023/05/26/singapore-millennials-run-taxidermy-business-to-bring-5-figures-a-month.html

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

จับตาผลกระทบการค้าชายแดนไทย เส้นทางธุรกิจแม่สอดเปลี่ยนเป็นสนามรบ

กับสถานการณ์การสู้รบในเมียนมาใกล้ชายแดนไทยยังคงร้อนระอุนับตั้งแต่กองกำลังกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังปกป้องประชาชน PDF “เข้ายึดฐานปฏิบัติการ 275 ในเมียวดี” ส่งผลต่อกระทบเส้นทาง “แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC)” ของไทย

ทำธุรกิจซัก-รีด ยังไงให้มีรายได้สาขาละแสน ล้วงความลับกับเจ้าของแบรนด์ ตั้งใจซัก

หนึ่งในธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เสือนอนกิน” นั้นต้องมีธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญติดในลิสต์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่สนใจเปิดธุรกิจนี้มากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจเสือนอนกิน ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเสือที่ได้กินธุรกิจนี้ง่ายๆ

Erabica Coffee ผู้ปักหมุด กาแฟน่าน ให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ

นี่คือสองสามีภรรยา ที่อยากมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่น่าน คิดสร้างแบรนด์กาแฟของตัวเองขึ้นมาในชื่อ Erabica (เอราบิก้า) กลายเป็นการยกระดับกาแฟน่านเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น