จับตา Carbon accounting โจทย์หิน SME ต้องรู้ ยุคโลกต้องการธุรกิจกิจสีเขียว

TEXT : Neung Cch.

Main Idea

  • ถ้าบอกว่าการทำบัญชีการเงินนั้นยุ่งยาก อนาคตการทำธุรกิจอาจเจองานยากขึ้นอีก

 

  • ต่อไปบริษัทจะต้องรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือ Carbon accounting อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2024 ตามความเห็นของคณะกรรมการมาตรฐานความยั่งยืนระหว่างประเทศ: ISSB

 

  • รวมทั้ง ก.ล.ต. สหรัฐประกาศว่า จะให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ต้องรายงานข้อมูลการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจก เช่นเดียวกับการรายงานข้อมูลทางการเงิน

 

Carbon accounting คืออะไร?

     Carbon accounting หรือ บัญชีก๊าซเรือนกระจก การทำบัญชีกิจกรรมทางธุรกิจที่มีต่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศของแต่ละองค์กร

ทำไม Carbon accounting จึงเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ

     จากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น รัฐบาลจากหลายประเทศลงความเห็นว่าไม่เพียงแค่ต้องจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแต่ยังจะต้องพยายามรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มมากไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียส หลายหน่วยงานจึงได้ออกกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อช่วยลดอุณหภูมิโลก

     ล่าสุด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2023 คณะกรรมการมาตรฐานความยั่งยืนระหว่างประเทศ (International Standards Board : ISSB) ได้ออกมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนฉบับแรก—IFRS S1(International Financial Reporting Standards) ที่เป็นข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน และ IFRS S2 ที่เป็นการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในมาตรฐาน IFRS S1 บริษัทจะต้องรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่ง Carbon accounting จะมีส่วนในการให้ข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการรายงานทั้งสองมาตรฐานนี้ และจะถูกกำหนดให้ใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2024

     ขณะนี้มาตรฐานดังกล่าวได้รับการสนับสนุนในระดับนานาชาติ หน่วยงานกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ The International Organization of Securities Commissions (IOSCO) และผู้นำ G20 และ G7 สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ไนจีเรีย และญี่ปุ่น ได้มีแผนนำมาตรฐานทั้งสองนี้ไปใช้แล้ว

ข้อมูลที่ต้องทำ Carbon accounting

     แน่นอนว่าเมื่อทั่วโลกเริ่มตระหนัก องค์กรใหญ่ๆ เริ่มขยับ ต่อไปการค้าขายในต่างประเทศหรือการค้าขายกับบริษัทใหญ่ SME ก็คงไม่อาจปฏิเสธกติกาในเกมการค้านี้ได้ ทั้งนี้ข้อมูลการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่บริษัทหรือองค์กรจะต้องทำบัญชีนั้นแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

     1. ข้อมูลทางตรง การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการกระบวนการผลิตหรือกิจกรรมหลักขององค์กร

     2. ข้อมูลทางอ้อม จากการใช้พลังงานภายในองค์กร

     3. ข้อมูลทางอ้อมด้านอื่นๆ เช่น กิจกรรมที่เกิดจากพนักงาน การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และครอบคลุมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในซัพพลายเชนคู่ค้าของบริษัทด้วย

ความท้าทายของการทำ Carbon accounting

     ทั้งนี้ในการทำบัญชีคาร์บอนเครดิตนี้ นอกจากจะเป็นเรื่องใหม่ที่ท้าทายสำหรับ SME ไม่น้อยแม้แต่องค์กรยักษ์ใหญ่อย่างเช่น PepsiCo บริษัทที่มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซกระจกให้เป็นศูนย์ พวกเขายังมองว่าการทำ Carbon accounting ในข้อที่ 3 นั้นค่อนข้างซับซ้อน แต่ก็เป็นข้อดีสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นเพื่อค้นหาวิธีลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

     นอกจากนี้ยังมีหลายฝ่ายกังวลถึง ความแม่นยำ และความถูกต้องในการวัด ข้อมูลที่ถูกต้องและการวัดปริมาณการปล่อยมลพิษจากแหล่งต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและประเทศกำลังพัฒนาที่อาจขาดทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับตรวจสอบและชี้วัดอย่างละเอียด

     ความสอดคล้องระหว่างประเทศในการเปรียบเทียบการปล่อยคาร์บอน ซึ่งประเทศและองค์กรต่าง ๆ อาจใช้วิธีการทางบัญชีในการบันทึก และปีฐานในการเปรียบเทียบคาร์บอนไม่เหมือนกัน เป็นต้น

อนาคตของธุรกิจ

     เมื่อโลกเริ่มตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีแรงกดดันมากขึ้นที่บริษัทต่างๆ จะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการทำ Carbon accounting และพร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูล ที่ SME ควรเริ่มให้ความสำคัญ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตสอดรับกับกระแสความยั่งยืนและสอดรับกับยุคที่โลกต้องการธุรกิจสีเขียว

ที่มา : https://www.persefoni.com/learn/carbon-accounting

https://www.reuters.com/legal/litigation/us-sec-set-unveil-landmark-climate-change-disclosure-rule-2022-03-21/

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน