กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอี อนุมัติสินเชื่อแล้ว 7,000 ล้าน


 
 
 
     ธพว. เปิดตัวเลขยอดขอสินเชื่อเอสเอ็มอีผ่านกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ 2.4 หมื่นล้านบาท พร้อมอนุมัติไปแล้ว 7,000 ล้าน โดยมีกรอบวงเงินปล่อยสินเชื่อรวม 3.8 หมื่นล้านบาท
 
     นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เปิดเผยว่า ธพว. ได้ร่วมกับ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลงพื้นที่ทำโครงการคลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ เพื่อเร่งปล่อยสินเชื่อผ่านช่องทางต่างๆ ตามนโยบายรัฐบาล มีกรอบวงเงินรวม 3.8 หมื่นล้านบาท ล่าสุดมียอดผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขอสินเชื่อแล้ว 2.4 หมื่นล้านบาท อนุมัติแล้ว 7,000 ล้านบาท
 
     ทั้งนี้ แยกเป็น กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เริ่มเปิดตัวเมื่อเดือนเมษายน 2560 ล่าสุดมียอดขอสินเชื่อแล้ว 1.5 หมื่นล้านบาท ยอดปล่อยกู้เฉลี่ยจังหวัดละ 180-200 ล้านบาท โดยจะให้อุตสาหกรรมแต่ละจังหวัดเป็นผู้คัดเลือกผู้ประกอบการ แยกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ อุตสาหกรรมเป้าหมายรัฐบาล 10 ประเภท หรือ S-Curve, กิจการที่อยู่ตามยุทธศาสตร์จังหวัด และกิจการที่อยู่ในพื้นที่ เช่น อุตสาหกรรมเซรามิก ท่องเที่ยวชุมชน
 
     นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อ SME Transformation Loan วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท เริ่มเมื่อมีนาคม 2560 อนุมัติเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย, โครงการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงิน 2,000 ล้านบาท, โครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม (Turn Around) วงเงิน 1,000 ล้านบาท
 
     สำหรับในเวลานี้ได้ลงพื้นที่ไปแล้ว 26 จังหวัด ซึ่งมีผู้ประกอบการทยอยยื่นขอสินเชื่อเข้ามาแล้ว 2.4 หมื่นล้านบาท ที่เหลืออีก 50 จังหวัดกำลังจะเดินทาง 
 
     สำหรับคุณสมบัติของเอสเอ็มอีที่จะเข้าโครงการกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ต้องเป็นเอสเอ็มอีที่ประกอบกิจการอยู่แล้ว หรืออยู่ในช่วงเริ่มต้นที่เป็นนิติบุคคล หรือเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพและมีอุปสรรคด้านการเงินที่ไม่สามารถเข้าสู่แหล่งเงินทุนปกติได้ และไม่มีหนี้เสีย (NPL)
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 
 
 
 
 
 
 

RECCOMMEND: FINANCE

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้

ฟังผู้บริหาร บสย. แนะ SME เสริมสภาพคล่อง เข้าถึงสินเชื่อในระบบ

ในยุคที่เศรษฐกิจผันผวนและการแข่งขันที่รุนแรง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต่างต้องการ “เงินทุน” ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน แต่ “การเข้าถึงสินเชื่อในระบบ” ยังเป็นอุปสรรคสำคัญของผู้ประกอบการ ทางออกหนึ่งคือการหันไปหา “เงินกู้นอกระบบ”