​SME D Bank แพลตฟอร์มใหม่ เติมทุน-เสิร์ฟความรู้ เพื่อ "เอสเอ็มอีคนตัวเล็ก"





 

     ในยุค 4.0 ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ การให้บริการของสถาบันการเงินจำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบ เพื่อให้การจะสนับสนุนผู้ประกอบการ SME โดยเฉพาะรายย่อยให้สามารถทำได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) หรือ ธพว. ได้เปิดบริการ SME D Bank แพลตฟอร์ม (Platform) เพื่อมอบความสะดวกสบายในการเข้าถึงแหล่งทุน และยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะรายย่อย หรือคนตัวเล็ก ให้สามารถปรับตัวสู่ยุค 4.0 ในรูปแบบแอปพลิเคชัน (Application) บนสมาร์ทโฟน (Smart Phone)





     ในเรื่องนี้ มงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธพว. เปิดเผยว่า เนื่องจากการทำวิจัยระหว่าง ธพว.กับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า เอสเอ็มอีคนตัวเล็กส่วนใหญ่จะไม่กล้าเดินเข้ามาหาสถาบันการเงิน  เพราะขาดความพร้อมด้านคุณสมบัติ  ดังนั้น ระบบบริการผ่าน SME D Bank จะช่วยให้ธนาคารรู้ตัวตนและสถานประกอบการของเอสเอ็มอีคนตัวเล็ก สามารถทำหน้าที่เป็นฝ่ายเดินเข้าไปสนับสนุนเอสเอ็มอีด้วยตัวเองอย่างฉับไว และถึงถิ่น โดยมีบริการหลักสำคัญ 3 ด้าน  ประกอบด้วย
 

     1.ระบบยื่นขอสินเชื่อออนไลน์ ให้บริการได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ โดยผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบอัตราการผ่อนชำระต่อวงเงินยื่นกู้ รวมถึง ยื่นขอกู้ได้ทันที เพียงกรอกข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งข้อมูลจะส่งต่อไปยังสาขาธนาคารในพื้นที่ตั้งสถานประกอบการของผู้ยื่นกู้ จากนั้น หน่วยบริการเคลื่อนที่ “รถม้าเติมทุน” จะวิ่งเข้าไปหาพบ ภายใน 7 วัน เพื่อตรวจสภาพกิจการจริง ช่วยให้คนตัวเล็กเพิ่มความสะดวกเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยถูกของธนาคารได้ง่ายยิ่งขึ้น
 




     2. Tools Box บริการเครื่องมือด้านดิจิทัล เพื่อยกระดับธุรกิจสู่ยุค 4.0 รวบรวมแอปพลิเคชัน และซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้เอสเอ็มอียกระดับและลดต้นทุนทางธุรกิจ เช่น ระบบงานขายหน้าร้าน ระบบการเขียนแผนธุรกิจ ระบบบริหารงานบุคคล ระบบคลังสินค้า ระบบจัดการขนส่ง ระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ดูฮวงจุ้ยร้านค้า เป็นต้น โดยเบื้องต้นเปิดให้ทดลองใช้ฟรีกว่า 50 แอปพลิเคชัน และจะเพิ่มเติมเครื่องมือใหม่ถึง 100 แอปพลิเคชันภายในสิ้นปีนี้ (2561) 
 

     3. e-Library บริการข้อมูลความรู้ ข่าวสาร และ How to ในการประกอบธุรกิจ รวบรวม ความรู้ที่จำเป็นสำหรับเอสเอ็มอี ไม่ว่าจะเป็นด้านบริหารจัดการ การตลาด มาตรฐานคุณภาพ ฯลฯ นำเสนอในรูปแบบบทความประกอบภาพ คลิปวิดีโอ อินโฟกราฟิก เป็นต้น ช่วยให้ผู้ประกอบการมีภูมิคุ้มกันทางธุรกิจสูงขึ้น โดยจะอัพเดทข้อมูลให้ทันสมัยเสมอ เหมาะแก่การนำไปประยุกต์ใช้งานจริง    
 




     มงคล กล่าวต่อว่า  บริการดิจิทัลแบงก์กิ้งของธนาคารทั่วไป จะเน้นให้บริการธุรกรรมทางการเงิน  แต่สำหรับแพลตฟอร์ม SME D Bank มุ่งให้ความสำคัญในการอำนวยความสะดวกพาเอสเอ็มอีคนตัวเล็กเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยถูก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เช่น สินเชื่อเถ้าแก่ 4.0 ดอกเบี้ย 1% และสินเชื่อเศรษฐกิจติดดาว ดอกเบี้ย 3% เป็นต้น พร้อมต่อยอดด้วยความรู้ และเครื่องมือด้านดิจิทัล เพื่อให้สามารถอยู่รอด และเติบโตอย่างยั่งยืน
 

     นอกจากนั้น ยังเสริมบริการพิเศษ SME Privilege  มอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ผู้ใช้งาน  โดยทุกกิจกรรมที่ผู้ใช้งานปฏิบัติในระบบ SME D Bank  จะถูกเก็บสะสมเป็นแต้ม ตัวอย่างเช่น เพียงแค่ลงทะเบียนเข้าใช้งาน รับทันที 50 แต้ม , เข้าระบบทุกวัน รับวันละ 1 แต้ม , อ่านบทความ รับ 10 แต้ม และดูคลิปวิดีโอจนจบ รับ 10 แต้ม เป็นต้น สามารถนำแต้มไปใช้แลกสิทธิประโยชน์ต่างๆ  ได้จากเครือข่ายพันธมิตร และลูกค้าของธนาคาร เช่น 30 แต้ม รับฟรี โค้ดแลก 25 LINE Point , 10 แต้ม รับฟรี โดนัท 2 ชิ้นจาก Mister Donut , 75 แต้ม รับส่วนลดแทนเงินสด 50 บาท จาก Tesco Lotus และ 100 แต้ม รับฟรี Starbucks eCoupon มูลค่า 100 บาทจากร้าน Starbucks เป็นต้น นอกจากนั้น บางรายการเพียงแค่แสดงว่า โหลดใช้แพลตฟอร์ม SME D Bank แล้ว รับสิทธิประโยชน์ได้เลย เช่น ส่วนลด 20% พัก “แพ 500 ไร่” และส่วนลดเครื่องเล่นทุกชนิด 20% จากทองสมบูรณ์คลับ เป็นต้น  


     สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น SME D Bank เพื่อเข้าใช้งานได้ที่ Play Store และเร็วๆ นี้ที่ App Store ด้วย เบื้องต้นคาดจะมีผู้ดาวน์โหลดและลงทะเบียนใช้งานประมาณ 10,000 คน  


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน