​SME D Scaleup Society โปรเจ็กต์ต่อยอดปั้นสตาร์ทอัพ-เอสเอ็มอีแจ้งเกิด!



 
     จากโครงการเอสเอ็มอีดีสเกลอัพ (SME D Scaleup) ความรู้คู่เงินทุน ซึ่งเป็นโครงการของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ที่เริ่มนำมาใช้ในการพัฒนาผู้ประกอบการ ผ่านเครือข่ายระบบสถาบันการศึกษาที่นำผู้เชี่ยวชาญแต่ละแห่งมาช่วยในการพัฒนา เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว และประสบความสำเร็จอย่างสูง ล่าสุด SME D Bank จึงได้ขยายผลจากโครงการดังกล่าว มาสู่ “โครงการ SME D Scaleup Society” โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกรมการค้าต่างประเทศและ 4 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อสร้างระบบ Ecosystem ที่เอื้อต่อการเติบโตและพัฒนาสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีไทย
 

     มงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธนาคารได้นำโครงการ SME D Scaleup มาขยายผลเติบโตขึ้นภายใต้โครงการ SME D Scaleup Society เพื่อต่อยอดความสำเร็จไปสู่ผู้ประกอบการในกลุ่มคลัสเตอร์ต่างๆ โดยมีแนวทางการดำเนินการดังนี้

 


     มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะดำเนินโครงการภายใต้แนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่มเครื่องแกงและเครื่องเทศ โดยพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและศักยภาพของแกงไทยด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนากลุ่มสมุนไพรและเครื่องเทศเพื่อพัฒนาอาหารสุขภาพและแนวคิดพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแกงไทยสู่ตลาดโลก และโครงการ Hackathon เพื่อปั้นสตาร์ทอัพรุ่นใหม่นำกระบวนการไอเดียมาสร้างแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพาราตั้งแต่จุดเริ่มต้นสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป
 

     เคเอกซ์ ภายใต้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งมีแนวคิดที่จะยกระดับเทคโนโลยีในการผลิตของผู้ประกอบการให้มุ่งไปสู่ระบบการผลิต 4.0  โดยเน้นกระบวนการทางเทคนิคอุตสาหการ ระบบอัตโนมัติ ระบบ IOT (Internet of Things) และระบบการใช้หุ่นยนต์ปฏิบัติงาน หรือนำเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตหรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เกิดประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
 




     มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีชื่อเสียงความโดดเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์และการสร้างผู้ประกอบการใหม่ จะนำความรู้ความเชี่ยวชาญมาดูแลผู้ประกอบการในกลุ่มชา กาแฟ และผ้าพื้นเมือง ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการสร้างองค์ความรู้และโอกาสการขยายธุรกิจโดยปฏิรูปธุรกิจเดิมไปสู่การทำธุรกิจยุคดิจิทัลและเรียนรู้ยุทธศาสตร์การวางแผนธุรกิจสามารถขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศพัฒนาสู่ความยั่งยืนต่อไป
 

     สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงเชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจ จะนำความรู้การบริหารจัดการที่ทันสมัยมาเพิ่มและยกระดับผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์การวางแผนและการจัดการอย่างเป็นระบบ รวมถึงเสริมทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยการเรียนรู้เทคนิคและการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ยกระดับประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
 

     กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จะเพิ่มโอกาสและร่วมผลักดันด้านการตลาด ติดต่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงโครงการ YEN-D Program ที่จะสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (Young Entrepreneur Network Development Program) 4 ประเทศ CLMV คือ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่จะมาช่วยสร้างโอกาสทางการตลาดให้ธุรกิจเติบโตสอดรับกับในวาระที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน จะช่วยส่งเสริมภาคผู้ประกอบการร่วมมือกันใกล้ชิดมากขึ้น
 




     อย่างไรก็ดี โครงการ SME D Scaleup Society นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายภาคีสถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน ภาครัฐ และเอกชนที่จะผนึกกำลังผลักดันเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพผ่านกระบวนการบ่มเพาะส่งเสริมเทคโนโลยี นวัตกรรม นำงานวิชาการสู่เชิงพาณิชย์ส่งเสริมการตลาดสู่ตลาดโลก  และในอนาคตจะขยายผลสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้กว้างขวางและครอบคลุมการพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่มคลัสเตอร์ต่างๆ ยิ่งขึ้นต่อไป


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน