เป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ก็ขอสินเชื่อได้ แค่ใช้ข้อมูลแทนหลักประกัน

Text : Wattar, Photo : กฤตพล วิทย์ว่องไว





Main Idea

 
  • คนทำธุรกิจปรับตัวสู่โลกออนไลน์มากขึ้น และซื้อขายของผ่านทาง E-Marketplace ซึ่งนอกจากจะเปลี่ยนช่องทางการขายแล้วยังการมีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจในส่วนอื่นๆ ด้วย ทั้งการบริหารจัดการร้าน ไปจนถึงด้านการเงินการลงทุน
 
  • โลกออนไลน์คือโลกของข้อมูล ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในการพิจารณาสินเชื่อให้กับผู้ค้าออนไลน์โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องยื่นเอกสารจำนวนมาก ไม่ต้องมีหน้าร้าน หรือใช้หลักประกันอีกต่อไป
 
  • สินเชื่อเพื่อธุรกิจออนไลน์จะสามารถแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ ทั้งในแง่การอนุมัติสินเชื่อให้กับธุรกิจเล็กในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าการให้สินเชื่อธุรกิจแบบดั้งเดิม




     ในวันนี้ไม่มีใครไม่ขยับ คนค้าขายปรับเปลี่ยนจากการมีหน้าร้านแบบดั้งเดิมสู่การทำธุรกิจบนโลกออนไลน์กันมากขึ้น เห็นได้จากสถิติในสหรัฐอเมริกา 15 เปอร์เซ็นต์ของการซื้อขายอยู่บนออนไลน์ และส่วนใหญ่ผ่านช่องทาง E-Marketplace พร้อมกับการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มอีกถึง 2-3 เท่าภายใน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเมื่อหันกลับมามองในเมืองไทยก็พบสัดส่วนไม่ต่างกัน


     พร้อมพงษ์ พัฒนธีระเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารผลิตภัณฑ์และพอร์ตโฟลิโอธุรกิจเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี กล่าวว่า “เราพบว่าพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน เซ็กเมนต์ที่เราเรียกว่าเป็น Seller (ผู้ค้า) มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนจากร้านค้าที่มีหน้าร้านมาเป็นออนไลน์มากขึ้นเพราะผู้บริโภคเปลี่ยน ทุกคนก็ขยับตามลูกค้าของตัวเองหมด”




 
ปัญหาเมื่อ SME ขยับสู่โลกออนไลน์
               

     สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เปลี่ยนแค่ช่องทางการขายเท่านั้น แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปถึงเบื้องลึกเบื้องหลังในธุรกิจอีกหลายอย่าง เรื่องแรกที่เห็นคือ ผู้ประกอบการมีความต้องการด้านการเงินต่างออกไปจากเดิม คือ ต้องได้เงินเร็วขึ้น เพราะร้านค้าออนไลน์จะมีเทศกาลเซลล์ครั้งใหญ่ ซึ่งมาร์เก็ตเพลสจะเชิญร้านค้าเข้ามาร่วมรายการ โดยบอกล่วงหน้าประมาณ 1-2 เดือนเท่านั้น เพราะฉะนั้นเจ้าของร้านมีเวลาเตรียมตัวไม่มากนัก ซึ่งในวันนั้นยอดขายมีโอกาสจะกระโดดขึ้นมา บางร้านโตถึง 50 เท่า นั่นหมายถึงการบริหารจัดการร้านต้องปรับให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
               

     เรื่องที่สอง ผู้ค้าออนไลน์ย่อมคุ้นเคยกับโลกออนไลน์ พวกเขาไม่ชอบไปทำธุรกรรมทางการเงินที่สาขาของธนาคารอีกต่อไป เพราะ SME ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของเองและบริหารจัดการร้านค้าด้วยตัวเอง ต้องเฝ้าหน้าจอและโต้ตอบกับลูกค้าแทบจะตลอดเวลา การเดินทางไปทำธุรกรรมการเงินที่สาขานั่นหมายถึงการเสียเวลา เสียโอกาสทางธุรกิจ
               

     “เราพยายามอยู่ในที่ๆ ลูกค้าอยู่ เพื่อความสะดวกของลูกค้า เมื่อก่อนเราค้นพบว่าธุรกรรมเกิดขึ้นที่ตลาด จะเห็นว่าทุกธนาคารก็จะมีสาขาที่ตลาด แต่ตอนนี้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นตลาดออนไลน์ เราก็ต้องตามมาเพื่อให้บริการเขาได้ดีมากขึ้นในแง่ของการเข้าถึงบริการ รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เราให้บริการก็จะเปลี่ยนไปด้วย”
               

      เรื่องที่สาม คือการเข้าถึงสินเชื่อธนาคาร เป็นปัญหาสำหรับ SME ไม่ใช่เฉพาะแค่คนที่ค้าขายออนไลน์ เนื่องด้วยผู้ประกอบการรายเล็กมักไม่ค่อยมีเอกสาร และไม่ค่อยมีหลักประกัน โดยปกติแล้ววิธีการที่ธนาคารจะให้สินเชื่อต้องขอเอกสารประกอบจำนวนมาก หากผู้ประกอบการไม่ได้มีการเตรียมพร้อมที่ดี มีเอกสารไม่เพียงพอก็ต้องขอหลักประกัน แต่จากการศึกษาพบว่า SME ส่วนใหญ่ไม่มีหลักประกัน ไม่ได้เป็นเจ้าของพื้นที่หรือเป็นเจ้าของบ้านตัวเอง พอเป็นแบบนี้ก็ไม่สามารถกู้ธนาคารได้ต้องไปพึ่งพาการกู้นอกระบบที่คิดดอกเบี้ยแพงมาก     
 




เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นหลักประกันสินเชื่อ

               

     บนโลกออนไลน์คือโลกแห่งข้อมูล ในอนาคตจะมีข้อมูลเยอะมากให้หยิบจับมาใช้ประโยชน์ ซึ่ง TMB ก็เล็งเห็นตรงนี้แล้วนำมาใช้ในการออกแบบ สินเชื่อธุรกิจ TMB SME Smart BIZ เพื่อธุรกิจออนไลน์
               

     “มีข้อมูลหลายอย่างที่ธนาคารอยากได้มานานแล้วแต่เราไม่เคยได้ เวลาที่เราอยากบอกว่าคนนี้ดีหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าร้านค้าหรือให้ธุรกิจนั้นให้บริการลูกค้าเขาดีแค่ไหน เราเชื่อว่าองค์กรใดที่ให้บริการลูกค้าดี ทำให้ลูกค้ามีความสุขได้ ธุรกิจนั้นจะเจริญรุ่งเรือง ซึ่งในอดีตเราไม่สามารถรู้ได้ ถ้าเป็น SME แบบดั้งเดิมมาขอกู้ต้องส่งรายการเดินบัญชี (Bank Statement) มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เคยเห็นมากที่สุดประมาณ 300 หน้าซึ่งลูกค้าลำบากมากในการจัดเตรียมข้อมูลพวกนี้”
               

     แต่เมื่อขยับมาค้าขายออนไลน์การเข้าถึงสินเชื่อจะต่างออกไป โดยเฉพาะเมื่อเป็นพันธมิตรกับเจ้าของมาร์เก็ตเพลสที่มีข้อมูลอยู่แล้ว สามารถรู้ได้ทันทีว่าผู้ค้าแต่ละรายมีรายการขายแบบใด รู้เรตติ้ง ความพึงพอใจ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีค่ามหาศาล
               

     “สิ่งที่ TMB พยายามจะทำตั้งแต่วันนี้และต่อไปในอนาคตคือพยายามเปลี่ยนข้อมูลนี้ให้มาแทนหลักประกัน โดยที่ไม่ต้องใช้หลักประกันอีกต่อไป ในความเป็นจริงแล้วคนค้าขายต้องการเงินทุนทั้งนั้น และออนไลน์แพลตฟอร์มเพิ่มโอกาสให้เราเห็นคุณภาพในการดำเนินธุรกิจของร้านค้ามากขึ้น”
               

     นี่จึงเป็นเหตุผลที่ TMB จับมือเป็นพันธมิตรกับมาร์เก็ตเพลสเพื่อให้ได้ข้อมูลเหล่านี้มา โดยเริ่มต้นจากรายใหญ่อย่าง Lazada ผู้นำด้านอีคอมเมิร์ซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
               

     ซึ่งสินเชื่อธุรกิจ TMB SME Smart BIZ เพื่อธุรกิจออนไลน์ มี 2 รูปแบบ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของธุรกิจร้านค้าออนไลน์ได้อย่างครบถ้วน คือ (1) สินเชื่อเพื่อธุรกิจออนไลน์ พร้อมสร้างยอดขายช่วงเทศกาล ด้วยการให้วงเงินสินเชื่อ 15,000 – 500,000 บาท สำหรับใช้ซื้อสต็อกสินค้าในช่วงแคมเปญพิเศษ ระยะเวลาในการกู้ 60 วัน ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ยื่นกู้สะดวก อนุมัติเร็ว รับเงินไว ผ่านช่องทางออนไลน์ (2) สินเชื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจ สำหรับร้านค้าออนไลน์ วงเงินสินเชื่อ 30,000 – 1,000,000 บาท สำหรับใช้หมุนเวียนกิจการ ด้วยระยะเวลาในการกู้ 1 ปี
               

     มร.แจ็ค จาง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า “ลาซาด้ามีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับผู้นำสินเชื่อธุรกิจอย่าง TMB การร่วมมือกันครั้งนี้ เป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำธุรกิจให้กับผู้ขายและผู้ประกอบธุรกิจ SME บนแพลตฟอร์มของเรา เพิ่มโอกาสให้ผู้ขายสามารถเข้าถึงเงินทุนได้อย่างง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะช่วงแคมเปญใหญ่ของลาซาด้าที่จัดขึ้นในทุกๆ ปี เช่น แคมเปญ 9.9 และ 11.11 การเข้าถึงสินเชื่อธุรกิจได้รวดเร็วจะทำให้ผู้ขายมีประสิทธิภาพมากขึ้นในจัดการธุรกิจบนแพลตฟอร์มลาซาด้า เช่น การสต๊อกสินค้าให้เพียงพอต่อยอดสั่งซื้อ ซึ่งถือเป็นการสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้ทั้งผู้ขายและผู้ประกอบธุรกิจ SME บนแพลตฟอร์มของลาซาด้า”
               

     และสำหรับผู้ค้าหรือเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอีที่สนใจต่อยอดธุรกิจเติบโตบนออนไลน์ที่ลาซาด้า สามารถสมัครได้ง่ายๆที่ https://bit.ly/30RzQn4 หรือ Application ของลาซาด้า เพียงแค่ลงทะเบียนโดยใช้เบอร์โทรศัพท์หรืออีเมลล์ ทำตามขั้นตอนเพียงง่ายๆ ไม่กี่นาที ก็สามารถลงขายสินค้าในแพลตฟอร์มลาซาด้าได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถเข้าถึงลูกค้าคนสำคัญของคุณได้ทั่วทุกพื้นที่ในประเทศ
               

     นอกจากนี้ TMB ยังพร้อมที่จะสนับสนุนร้านค้าออนไลน์ในแพลตฟอร์มอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมให้เจ้าของธุรกิจร้านค้าออนไลน์สามารถเติบโตและคว้าโอกาสทางธุรกิจได้มากกว่า
 

คว้าโอกาสได้มากกว่า 
               

     ตอนนี้ธนาคารสามารถพิจารณาให้สินเชื่อผู้ค้าที่มีรายได้ไม่ถึง 1 แสนบาทต่อเดือนได้แล้ว ด้วยข้อมูลของผู้ประกอบการในโลกออนไลน์ อีกทั้งสามารถนำเครื่องมือดิจิทัลเข้ามาช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการได้ เป้าหมายในระยะสั้น TMB ต้องการให้ลูกค้าสมัครวันนี้ได้เงินพรุ่งนี้ และในปีหน้าจะทำให้สมัครวันนี้ได้เงินวันนี้ ซึ่งเร็วกว่าการให้สินเชื่อ SME แบบดั้งเดิมที่อนุมัติสินเชื่อและได้รับเงินภายใน 15 วันโดยประมาณ
               

     “เราพยายามทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด ทั้งนี้การทำงานกับคนที่เรามีข้อมูลอยู่แล้ว ทำให้เราไม่ต้องขอข้อมูลเยอะเพราะรู้จักกันดีอยู่แล้ว เพื่อให้การสมัครและใช้ผลิตภัณฑ์เป็นไปอย่างดีที่สุดและง่ายที่สุด นั่นคือหลักการในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะทำให้เราแตกต่างจากคนอื่น”
               

     สำหรับเจ้าของธุรกิจร้านค้าออนไลน์ที่สนใจ สามารถคลิกสมัครได้ที่ ปุ่มขอสินเชื่อกับทีเอ็มบี ผ่านแอปพลิเคชันลาซาด้า หรือ www.tmbbank.com/sme/lazada และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี โทร. 02-828-2828 ในวันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 8.00 – 20.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดธนาคาร
 

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน