มาตรการด่วน! อุ้ม SME ผู้ประสบภัยพายุฮีโกส


 

     ธพว.พร้อมช่วยเหลือเคียงข้างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ประสบอุทกภัยพายุโซนร้อนฮีโกส ออก 2 มาตรการเร่งด่วน ให้สิทธิพักชำระหนี้ 6 เดือน และเติมทุนดอกเบี้ยต่ำพิเศษ นำไปใช้หมุนเวียนฟื้นฟูธุรกิจ
 

     นารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า ตามที่หลายจังหวัดของประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนฮีโกส ทำให้เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง มีน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจในพื้นที่ดังกล่าว ประสบปัญหาทางตรงและทางอ้อมในด้านการประกอบอาชีพ  ธนาคารมีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ออก 2 มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือลูกค้าธนาคารที่จะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในครั้งนี้ ได้แก่
 

     1.มาตรการพักชำระหนี้ สำหรับเงินกู้ยืมแบบมีระยะเวลา (Term loan) พักชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ส่วนสัญญาเบิกเงินทุนหมุนเวียนประเภทตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note : P/N) ออกมาตรการช่วยเหลือพักชำระดอกเบี้ยเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
 

     2.มาตรการสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการ  เพื่อให้ลูกค้าธนาคารที่ได้รับความเสียหาย มีเงินทุน นำไปฟื้นฟูและหมุนเวียนในกิจการ ซึ่งมีระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 5 ปี  ปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 1 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.99 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา วงเงินสินเชื่อสูงสุดต่อราย ดังนี้  1.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท ให้วงเงินกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท 2.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติรวมมากกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท  และ3.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติมากกว่า 5 ล้านบาท ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท ทั้งนี้รวมวงเงินเดิมแล้วไม่เกิน 15 ล้านบาท ส่วนหลักประกันให้พิจารณาหลักประกันเดิมก่อน และสามารถใช้หลักประกัน บสย. ค้ำประกัน เฉพาะมาตรการที่เพิ่มไม่เกิน 2 ล้านบาท
 

     ทั้งนี้  ธพว. กำหนดพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ โดยเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และดินสไลด์ 15 จังหวัด ได้แก่ น่าน, เชียงใหม่, แพร่, อุตรดิตถ์, ลำพูน, ลำปาง, เลย, หนองบัวลำภู, แม่ฮ่องสอน, พะเยา, อุดรธานี, สุโขทัย, เชียงราย, นครพนม และตาก และจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 8 จังหวัด ได้แก่ อำนาจเจริญ, สุรินทร์, สุราษฎร์ธานี, พังงา, ระนอง, นครศรีธรรมราช, ชุมพร และภูเก็ต
 

     นอกจากนั้น สำหรับเอสเอ็มอีที่ต้องการเงินทุนเพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว ธนาคารได้เตรียมสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษไว้รองรับ  สำหรับใช้ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ และหมุนเวียน  เช่น  สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan)  คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ บุคคลธรรมดา ปีที่ 1-3  เพียง 4.875% ต่อปี และนิติบุคคล   จะมีอัตราดอกเบี้ยถูกลงไปอีก ปีที่ 1-3 เพียง 2.875% ต่อปี และ สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash   อัตราดอกเบี้ยต่ำ 2 ปีแรก 3% ต่อปี  และปีที่ 3-5 คิดอัตราดอกเบี้ย MLR+1% ต่อปี ผ่อนชำระนานสูงสุด 5 ปี วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาทต่อราย ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นต้น
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 
 

RECCOMMEND: FINANCE

ไขข้อข้องใจ! ทำไม SME ถึงเข้าแหล่งเงินทุนยาก ฟังแนวทางแก้ไขจากกูรูด้านการเงิน

รู้หรือไม่จำนวน SME ของไทยกว่า 3.2 ล้านราย มี SME ไม่ถึงครึ่งที่เข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงิน ทั้งๆ ที่ SME คือฟันเฟืองที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่การที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนสถาบันการเงินกลับไม่ใช่เรื่องง่าย

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน