เกาะติด 10 ข้อเศรษฐกิจไทยปี’63 ที่จะพลิกเกมธุรกิจ SME ปี’64

TEXT : กองบรรณาธิการ





Main Idea
 
 
     ปัจจัยที่ต้องจับตาในเศรษฐกิจไทยปี 2563
 
 
  • ปัจจัยลบภายในประเทศยังดึงเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวช้า
 
  • คาดการท่องเที่ยวต้องใช้เวลา 3-5 ปี กว่าจะกลับไปเหมือนจุดก่อนโควิด
 
  • ความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
 
  • สถานการณ์โควิดในยุโรปและสหรัฐอเมริกายังน่ากังวล
 
  • ตลาดการเงินและเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะต้องติดตามสถานการณ์
 
 

               

     เศรษฐกิจปีหน้าจะเป็นอย่างไร ต้องดูกันที่แนวโน้มในปีนี้  เพราะยังมีหลายปัจจัยให้ผู้ประกอบการ SME ต้องจับตา หลังประเทศไทยต้องเผชิญสถานการณ์โควิด-19 มาตั้งแต่ต้นปี เศรษฐกิจยังฟื้นตัวช้า ความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศยังต้องจับตา สถานการณ์โควิดในหลายประเทศยังน่ากังวล ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังคงต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าจะกลับมาอยู่ในจุดก่อนที่จะเกิดวิกฤตโควิด



               

     ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดทำสรุป 10 ข้อเศรษฐกิจไทย 2563 และปัจจัยเบื้องต้นที่จะผลักดันเศรษฐกิจในปี 2564 จะมีอะไรที่ SME ต้องจับตาบ้างนั้นไปดูกันเลย

 
1. เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดของปีไปแล้ว
   

     คาดว่าทั้งปีเศรษฐกิจจะหดตัวลงร้อยละ 8 อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวน่าจะเป็นไปอย่างช้า จากปัจจัยลบภายในประเทศ และความไม่แน่นอนต่างประเทศ โดยคาดจะฟื้นกลับมาเติบโตที่ร้อยละ 2 ในปี 2564




 
2. ตัวเลขส่งออกส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น

     ตัวเลขส่งออกของประเทศเกิดใหม่ และภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น แต่กลไกขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย คือ การท่องเที่ยว ยังไม่ฟื้น ดังนั้น ถึงแม้ว่าการส่งออกจะดีขึ้น แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมจะยังไม่มั่นคง ถ้าการท่องเที่ยวยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้
 
 
3. จับตามองบทบาททีมเศรษฐกิจชุดใหม่


     อีกเรื่องที่ต้องจับตามองคือทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งว่าจะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับตลาดการเงินได้มากน้อยเพียงใด หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งใช้เวลากว่าสามเดือนกว่าจะได้ทีมใหม่




 
4. ประเด็นความเคลื่อนไหวทางการเมือง


     ความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ครุกรุ่นอยู่ในตอนนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร บนพื้นฐานว่าเศรษฐกิจไทยยังติดลบอยู่ ประเด็นนี้อาจกระทบการฟื้นตัวได้

               
5. สถานการณ์ค่าเงินบาท


     จากที่มีการเปลี่ยนทีมเศรษฐกิจและรอนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทีมใหม่ ในขณะที่การเมืองยังอยู่ในช่วงติดตามดูสถานการณ์ ส่งผลให้ไม่กระทบต่อค่าเงินบาทมากนัก โดยธนาคารคาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ราว 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในสิ้นปีนี้



 

6.นักลงทุนต่างชาติมองภาพระยะไกล


     นักลงทุนต่างชาติอาจไม่ได้มองเพียงภาพในระยะสั้น แต่ยังมองระยะไกลด้วย โดยเฉพาะกับคำถามว่า เมื่อไหร่เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้อย่างชัดเจน เมื่อไหร่ประเทศจะได้เห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 40 ล้านคน ซึ่งเป็นระดับในช่วงก่อนโควิด

 
            7. การปรับกลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศ


     เชื่อว่าโควิดทำให้ประเทศไทยเห็นความจำเป็นต่อการปรับกลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศ จากเดิมที่มองที่จำนวนนักท่องเที่ยว เริ่มมีแนวคิดเปลี่ยนเป็นการท่องเที่ยวที่เน้นมูลค่า และพยายามลดการพึ่งพาตลาดใดตลาดหนึ่ง




               
8. เศรษฐกิจยังต้องเกาะติดสถานการณ์


     ภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้ยังอยู่ในลักษณะติดตามสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคลัง การเบิกจ่าย สถานการณ์การเมือง การเริ่มเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว การคิดค้นวัคซีนต้านโควิด เพราะฉะนั้น ยังอาจไม่มีปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความมั่นใจได้อย่างมีนัยสำคัญ ตลาดการเงินอาจจะเริ่มมั่นใจได้มากขึ้น หากเริ่มเห็นการเบิกจ่ายของรัฐบาลในทิศทางที่ดีขึ้น การลงทุนของรัฐบาล น่าจะเป็นตัวนำให้ภาคเอกชนลงทุนในประเทศตาม เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ

 
                9. ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับนโยบายตามสถานการณ์


     เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย อยู่ในภาวะติดตามสถานการณ์เช่นเดียวกัน ถ้าสถานการณ์ยังทรงตัวและเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น ธปท.น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงในช่วงในไตรมาสนี้ โอกาสที่ ธปท. จะลดดอกเบี้ยไปที่ 0.25 เปอร์เซ็นต์ ก่อนสิ้นปี ก็เป็นไปได้

           
 10.นโยบายที่ตลาดการเงินให้ความสนใจต่อเนื่องถึงปีหน้า


     ตลาดการเงินยังให้ความสนใจว่า นอกเหนือจากการลดดอกเบี้ย ธปท.มีนโยบายการเงินทางเลือกอะไร ที่อาจนำมาใช้ในปี 2564 จะเป็น QE หรือ Yield curve control หรือ นโยบายช่วยเหลือ SME เพิ่ม รูปแบบ ประสิทธิภาพ ความเหมาะสมของนโยบายเหล่านั้นสำหรับเศรษฐกิจไทย ผลลัพธ์คาดการณ์ น่าจะเป็นประเด็นที่ตลาดการเงินและนักลงทุนให้ความสนใจต่อเนื่องไปถึงปีหน้า
 
               
     นี่คือภาพรวมของสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในห้วงเวลาก่อนสิ้นปี 2563 และกำลังเดินทางเข้าสู่ปี 2564 ตามการคาดการณ์ของสถาบันการเงิน ซึ่ง SME ในฐานะคนทำธุรกิจก็ต้องเกาะติดและติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้นำมาวางแผนรับมือและอยู่ให้รอดท่ามกลางความท้าทายที่เกิดขึ้น
 
 
     ที่มา : ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

 

RECCOMMEND: FINANCE

ไขข้อข้องใจ! ทำไม SME ถึงเข้าแหล่งเงินทุนยาก ฟังแนวทางแก้ไขจากกูรูด้านการเงิน

รู้หรือไม่จำนวน SME ของไทยกว่า 3.2 ล้านราย มี SME ไม่ถึงครึ่งที่เข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงิน ทั้งๆ ที่ SME คือฟันเฟืองที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่การที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนสถาบันการเงินกลับไม่ใช่เรื่องง่าย

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน