​“ค่าลดหย่อน” ที่จะช่วยให้คุณแฮปปี้ เมื่อยื่นภาษี

 


เรื่อง จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด

    เข้าสู่โค้งสุดท้ายของการยื่นภาษีประจำปี 2557 กันแล้ว หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีรายได้ และมีหน้าที่ต้องยื่นแบบเพื่อคำนวณภาษีประจำปี แต่ยังไม่ได้ยื่น ขอชวนคุณมาสำรวจสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีดูก่อนว่า ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งค่าลดหย่อนภาษีในส่วนนี้เองจะช่วยให้คุณเสียภาษีน้อยลง และยังอาจได้เงินภาษีคืนอีกด้วย

    1. เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

    2. เงินสะสม กบข. ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

    3. เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

    4. เงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท  ของค่าจ้างหรือเงินเดือนของการทำงาน 300 วันสุดท้าย

    5. บุตรหรือบุตรบุญธรรม หักได้คนละ 15,000 บาท และเฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในประเทศให้ลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท

    6. อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท

    7. อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ หักได้คนละ 60,000 บาท โดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย

    8. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

    9. เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

    10. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หักได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนกบข. กองทุนสงเคราะห์ครู    โรงเรียนเอกชนและRMF แล้วไม่เกิน 500,000 บาท

    11.ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนกบข. กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วไม่เกิน 500,000 บาท

    12.ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หักได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท

    13.ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตาม จำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท กรณีร่วมกันกู้ยืม ให้เฉลี่ยค่าลดหย่อนตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง และไม่เกิน 100,000 บาท

    14.เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หักได้ตามจำนวนที่ส่งเข้ากองทุนประกันสังคม สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

    15.เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

    16.เงินบริจาค ลดหย่อนได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น

    17.ภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ หักได้ 10% ของราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เกิน 5 ล้านบาทในโครงการบ้านหลังแรก เป็นเวลา 5 ปี

    18.ค่าเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ สามารถนำใบเสร็จรับเงินค่าทัวร์-ค่าที่พักมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
 
          จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันผู้เสียภาษีมีช่องทางในการใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้หลายรูปแบบ อย่าลืมใช้สิทธิ์ของคุณเพื่อประหยัดภาษีกัน สำหรับผู้ที่ยื่นภาษีไปแล้ว สามารถใช้ข้อมูลเบื้องต้นเป็นแนวทางในการวางแผนภาษีสำหรับปีต่อไปได้ วางแผนดีๆ ปีหน้าคุณจะได้แฮปปี้กับเงินคืนภาษีแน่นอน

 

RECCOMMEND: FINANCE

ไขข้อข้องใจ! ทำไม SME ถึงเข้าแหล่งเงินทุนยาก ฟังแนวทางแก้ไขจากกูรูด้านการเงิน

รู้หรือไม่จำนวน SME ของไทยกว่า 3.2 ล้านราย มี SME ไม่ถึงครึ่งที่เข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงิน ทั้งๆ ที่ SME คือฟันเฟืองที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่การที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนสถาบันการเงินกลับไม่ใช่เรื่องง่าย

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน