ไม่รู้ไม่ได้แล้ว! CBDC คืออะไร? แล้ว SME ต้องปรับตัวอย่างไร เมื่อคนไทยจะใช้สกุลเงินดิจิทัลเป็นวิถีชีวิต

TEXT : นเรศ เหล่าพรรณราย





      นอกเหนือไปจากกระแสของ Cryptocurrency ที่กำลังมาแรงแล้ว หน่วยงานทางด้านการเงินของรัฐทั่วโลกก็กำลังเร่งที่จะพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางหรือ CBDC (Central Bank Digital Currency) ขึ้นมาด้วยเช่นกัน จุดประสงค์หลักเพื่อที่จะปรับโครงสร้างทางการเงินของประเทศให้มีประสิทธิภาพและลดต้นทุนลง


      โดยเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง CBDC ก็คือ DLT (Distributed Ledger Technology) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบล็อกเชนแต่แตกต่างไปจาก Cryptocurrency


       ทั้งนี้ CBDC คือ สกุลเงินปกติที่เราใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเงินบาท เงินดอลลาร์ เงินยูโร ฯลฯ เพียงแต่เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบของดิจิทัลและทำงานบนบล็อกเชนหรือเทคโนโลยี DLT และยังอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของธนาคารแต่ละประเทศ


      CBDC จึงแตกต่างจากบิทคอยน์ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ทำงานแบบ Decentralize ไม่มีผู้กำกับดูแล รวมถึง Altcoin อื่นๆ อย่าง Ethereum, XRP ซึ่งสร้างโดยภาคเอกชน แต่สกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติสร้างขึ้นโดยภาครัฐ จึงมีคุณสมบัติและการทำงานที่แยกจากกันอย่างสิ้นเชิง





      โดยประเทศไทยได้จัดตั้งโปรเจกต์ “อินทนนท์” ขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อปรับโครงสร้างทางการเงินของประเทศไทยให้เข้าสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อที่จะส่งเสริมการเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) อย่างเต็มตัว
แม้ในช่วงแรกของการพัฒนาจะมีเพียงแค่การทำธุรกรรมกันเองของธนาคารพาณิชย์รวมถึงการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ในเฟสที่ 3 ของโปรเจกต์จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนไทยมากขึ้นเพราะจะลงมาสู่การใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน


     ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้อนุมัติให้คนไทยและสิงคโปร์สามารถโอนเงินหากันได้ผ่านระบบ PromptPay โดยคนไทยที่ใช้บริการแอปพลิเคชันของ 4 ธนาคารใหญ่นั่นคือธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงไทย สามารถใช้บัญชี PromptPay โอนเงินไปยังผู้รับในประเทศสิงคโปร์ที่ใช้บัญชี Paynow ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับ PromptPay ของไทยโดยไม่มีค่าธรรมเนียมแต่อย่างไร





      บริการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการเงินที่จะเข้ามาทำให้การทำธุรกรรมการเงินในยุคต่อไปมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการจึงต้องเริ่มปรับตัวเข้าสู่กระแสใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
 

มองถึงตลาดในต่างประเทศ
 

     นอกจากประเทศไทยแล้วยังมีอีก 26 ประเทศทั่วโลกที่พัฒนา CBDC อย่างจริงจังโดยเฉพาะประเทศจีนที่เริ่มนำหยวนดิจิทัลออกมาใช้งานจริงแล้ว ในอนาคตธุรกรรมการเงินในการค้าขายและแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศจะไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไป SME ที่มีความเข้มแข็งแล้วจึงควรมองการขยายตลาดในต่างประเทศ
 

ช่องทางการรับเงินออนไลน์
 

       ประเทศไทยมีการเติบโตของการใช้จ่ายออนไลน์ที่สูงอันดับต้นๆ ของโลก ผู้ประกอบธุรกิจจึงไม่ควรมองข้ามในการพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับรองรับการชำระเงินทางออนไลน์เพื่อรองรับ Cashless Society ที่กำลังจะเกิดขึ้น



 

      การลดต้นทุนของธุรกรรมทางการเงินมีส่วนช่วยให้ธุรกิจ SME สามารถเดินหน้าต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกันจึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้
 
 



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจSME

RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน