ทำความรู้จัก ไม้ยืนต้น 58 ชนิด ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ขอสินเชื่อได้




        ไม่ใช่แค่ต้นไม้ด่างหรือไม้ฟอกอากาศที่มีค่าราคาเป็นแสนเท่านั้น เพราะไม้ยืนต้นจำนวน 58 ชนิดก็มีค่าสามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้
 
 
         ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้เพิ่มให้ "ไม้ยืนต้น" กลายมาเป็นสินทรัพย์ที่สามารถใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อได้แล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าอยากจะให้ผู้ประกอบการรายย่อยหรือเกษตรกร สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น
 
 
         สำหรับหลักเกณฑ์ที่สถาบันการเงินใช้พิจารณาไม้ยืนต้นที่จะใช้เป็นหลักทรัพย์คือ ต้นไม้มีอายุ 1 ปีขึ้นไป มีลำต้นสูงเกิน 2 เมตร อยู่บนที่ดินตัวเอง หรือเกณฑ์อื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่กำหนดเอาไว้ โดยเจ้าของที่ดินจะสามารถใช้ต้นไม้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าทั้งหมด



 
 
วิธีการคำนวณ
 
 
        จากที่เคยกู้เงินโดยใช้ที่ดินเป็นหลักประกัน มูลค่าที่ดิน 1,000,000 บาท ธนาคารให้กู้ได้ 500,000 บาท
แต่.. บนที่ดินนั้นปลูกต้นไม้ตามรายชื่อที่กำหนด มีมูลค่าต้นไม้อีก 600,000 บาท ธนาคารก็จะปล่อยกู้เพิ่มอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าต้นไม้ หรือ 300,000 บาท เท่ากับว่า จากเดิมกู้ได้เพียง 500,000 บาท ก็จะสามารถกู้ได้ถึง 800,000 บาท
 
 
          สำหรับรายชื่อต้นไม้ทั้ง 58 ชนิด ตามรายชื่อด้านล่างนี้





ที่มา :
https://www.opsmoac.go.th/chumphon-dwl-preview-431391791906
https://gfms.gistda.or.th/node/72




www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้

ฟังผู้บริหาร บสย. แนะ SME เสริมสภาพคล่อง เข้าถึงสินเชื่อในระบบ

ในยุคที่เศรษฐกิจผันผวนและการแข่งขันที่รุนแรง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต่างต้องการ “เงินทุน” ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน แต่ “การเข้าถึงสินเชื่อในระบบ” ยังเป็นอุปสรรคสำคัญของผู้ประกอบการ ทางออกหนึ่งคือการหันไปหา “เงินกู้นอกระบบ”