มาตราการพักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วย SME ได้จริงหรือไม่

TEXT: นเรศ เหล่าพรรณราย
 

 
       จากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดทำให้ภาคธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดโครงการมาตราการพักชำระหนี้เป็นระยะเวลา 2 เดือน ไม่ว่าจะเป็นธนาคารเฉพาะกิจของรัฐหรือธนาคารพาณิชย์ต่างเปิดให้ลูกค้ายื่นความจำนงที่จะเข้าร่วมโครงการ 


       แต่ในความเป็นจริง โครงการนี้ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้จริงหรือไม่??


       ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่าเอสเอ็มอีที่จะเข้าร่วมโครงการได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้คือ


       หนึ่ง..ยังไม่ได้เป็นหนี้เสียหรือถูกจัดให้เป็นลูกหนี้ NPL แล้วถึงจะสมัครเข้าร่วมโครงการได้


      สอง..เป็นกิจการที่มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวะที่รัฐบาลประกาศให้มีการ Lockdown จนต้องปิดกิจการชั่วคราว ไม่นับรวมกิจการที่ยังเปิดดำเนินกิจการอยู่ได้ แม้จะได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐเหมือนกัน





      หลังจากที่ได้รับการพิจารณาจากธนาคารเจ้าหนี้เรียบร้อยแล้ว กิจการดังกล่าวจะได้รับการ “พักจ่ายหนี้” ทั้งในส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 2 เดือน อย่างไรก็ต้องต้องเข้าใจว่าเป็นเพียงการ “พักจ่ายหนี้” ไม่ได้ยกหนี้ให้ไม่ต้องจ่ายอีก มูลหนี้ที่พักไปยังเป็นภาระของผู้ประกอบการต่อไป


       อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยในช่วงสองเดือนที่พักไปจะยังคงเท่าเดิมไม่มีการเรียกเก็บเพิ่ม ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ โดยหนี้ที่พักไปจะถูกรวบไปเป็นส่วนที่ต้องจ่ายต่อจากส่วนของสัญญาเดิม เช่น เดิมกำหนดชำระหนี้ก้อนสุดท้ายในเดือนธันวาคม สถาบันการเงินอาจจะใช้วิธีขยายมูลหนี้ที่พักไปสองเดือนต้องมาชำระในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ หรืออาจจะใช้วิธีการเกลี่ยมูลหนี้ทั้งส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ยไปรวมในยอดหนี้สองเดือนสุดท้ายแล้วแต่การตัดสินใจของสถาบันการเงิน





       ทั้งนี้ลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการจะไม่ถือว่าผิดนัดชำระหนี้จึงไม่มีประวัติในเครดิตบูโรแต่อย่างไรซึ่งสถาบันการเงินจะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ เพิ่มเติม รวมถึงลูกหนี้ที่เพิ่งผ่านการปรับโครงสร้างหนี้อยู่แต่ยังไม่ได้เป็น NPL ก็สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้


       ประเภทของสินเชื่อที่สามารถเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ 2 เดือนได้มีตั้งแต่สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต จึงถือว่าครอบคลุมสำหรับลูกหนี้ทุกประเภท





       โดยสรุปคือมาตรการดังกล่าวเหมาะสมกับเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากมาตราการของภาครัฐโดยตรง แม้ว่ามูลหนี้จะไม่ได้หายไปเพียงแค่ชะลอการชำระออกไปเพื่อไม่ให้อยู่ในสถานะของการผิดนัดชำระหนี้ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการยังคงสถานะของลูกหนี้ชั้นดีต่อไปได้และต้นทุนของหนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นซึ่งยังดีกว่าไม่มีมาตรการช่วยเหลือใดๆออกมาเลย


       การคงสถานะลูกหนี้ที่ดีโดยรักษาสถานะของตัวเองไม่ให้เป็น NPL อย่างน้อยก็เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินยังคงเชื่อมั่นที่จะปล่อยเงินกู้ให้ต่อไปซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าหลังจากที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดหายไปอาจจะมีมาตราการช่วยเหลืออื่นๆตามมาซึ่งผู้ประกอบการที่ยังมีเครดิตที่ดียังมีโอกาสที่จะเข้าร่วมได้อยู่ แต่ถ้าขาดเครดิตไปอาจจะไม่มีทางเข้าร่วมโครงการอื่นๆ ได้อีก จึงแนะนำให้เอสเอ็มอีที่ได้รับความเดือดร้อนจากมาตราการภาครัฐให้เจรจากับสถบันการเงินเพื่อเข้าร่วมโครงการนี้ดูไม่ได้เป็นเรื่องที่เสียหายแต่อย่างไร
 
 




www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้

ฟังผู้บริหาร บสย. แนะ SME เสริมสภาพคล่อง เข้าถึงสินเชื่อในระบบ

ในยุคที่เศรษฐกิจผันผวนและการแข่งขันที่รุนแรง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต่างต้องการ “เงินทุน” ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน แต่ “การเข้าถึงสินเชื่อในระบบ” ยังเป็นอุปสรรคสำคัญของผู้ประกอบการ ทางออกหนึ่งคือการหันไปหา “เงินกู้นอกระบบ”