ภาษีมรดก ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา

 



เรื่อง     ดร.โสภณ พรโชคชัย
            ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
            บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส


 
         เมื่อเร็ว ๆ นี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ ได้พิจารณาเนื้อหาในร่างกฎหมายเป็นรายมาตรา โดยมาตรา 12 ที่กำหนดการจัดเก็บภาษีจากส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท จากเดิม 50 ล้าน  โดยให้จัดเก็บภาษีร้อยละ 5  ข้อนี้ถือว่าพิจารณาโดยถือประโยชน์ของผู้มีทรัพย์มากเป็นหลัก  ไม่ได้ถือประโยชน์ของประชาชนโดยรวม

         ทั้ง ขอให้ข้อสังเกตที่แตกต่างออกไปดังนี้

         1. ในกรณีประเทศญี่ปุ่น กำหนดให้ผู้มีมรดกไม่เกิน 10 ล้านเยน (3 ล้านบาท) ต้องเสียภาษีมรดก ต้องเสียภาษี 10% ไปจนถึงอัตราสูงสุดคือ 50% (https://goo.gl/QjyNfR)

         2. ในอังกฤษ ผู้ที่มีมรดกตั้งแต่ 350,000 ปอนด์ (18 .15 ล้านบาท) ต้องเสียภาษีมรดก โดยเสียสูงถึง 40% ของมูลค่า (https://goo.gl/4q43Fx)

         3. ในสหรัฐอเมริกา ราคาขั้นต่ำของทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมรดกเป็นเงิน 5.34 ล้านดอลลาร์ หรือ 172.319 ล้านบาทในปี 2557  ส่วนในระดับมลรัฐ ผศ.กานดา ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าภาษีมรดกเก็บกับทรัพย์สินที่มีค่าตั้งแต่ 2 ล้านดอลลาร์ (64.5 ล้านบาท) ขึ้นไปโดยเก็บในอัตราสูงสุด 20%

         จะเห็นได้ว่าทุกประเทศกำหนดขีดคั่นที่ต้องเสียภาษีไว้ต่ำกว่าไทยเสียอีก  แต่ของไทยมีข้อยกเว้นที่หลวมกว่า ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงค่าของเงินแล้ว ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น กำหนดให้ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี มีมูลค่าต่ำกว่าของไทยมาก

         นี่แสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า ในประเทศตะวันตก เขาพยายามทำให้เกิดความเท่าเทียมกันมากกว่าไทย  แต่เดิม เราเชื่อกันว่า ภาษีมรดกคงไม่เกิดขึ้นในยุครัฐบาลจากการเลือกตั้ง  แต่ในความเป็นจริง แม้รัฐบาลจากรัฐประหาร ก็ไม่อาจเข็นกฎหมายภาษีมรดกได้เช่นกัน เพราะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก็ล้วนแต่มีฐานะดีทั้งสิ้น เข้าทำนองภาษิตกฎหมายที่ว่า "ชนชั้นใดเขียนกฎหมายก็เพื่อชนชั้นนั้น" นั่นเอง

         อันที่จริงแนวคิดการเสียภาษีมรดกมาจากการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมกัน อภิมหาเศรษฐีฝรั่งมีค่านิยมในการบริจาคเงินมหาศาลเพื่อสังคม เพราะเชื่อตามนายแอนดรูว์ คาร์เนกี อภิมหาเศรษฐีอเมริกันที่กล่าวว่า "คนที่ตายอย่างร่ำรวย ตายอย่างน่าอับอาย" (the man who dies thus rich dies disgraced) เขาบริจาคทรัพย์เกือบทั้งหมดให้การกุศลก่อนตาย เหลือไว้ให้ทายาทบางส่วน  ซึ่งต่างจากคติไทยที่ยินดีตายอย่างร่ำรวย

         ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าภาษีมรดกที่รัฐบาลทำท่าคึกคักว่าจะออกมานั้น ก็คงเป็นกฎหมายที่แทบไม่มีผลในทางปฏิบัตินัก  เป็นเพียงการออกกฎหมายเพื่อให้ได้ชื่อว่าได้ออกมาตามที่สัญญาไว้แล้ว  แต่ไม่ได้มีผลต่อการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมแต่อย่างใด  กฎหมายมรดกที่เกลี่ยความมั่งคั่งจะเกิดขึ้นในยุคสมัยที่ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศอย่างแท้จริง (ไม่ใช่แค่ในนาม) หรือประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นในประเทศตะวันตกเท่านั้น (ซึ่งไม่ทราบว่าจะเป็นเมื่อไหร่)



RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน