เทคโนโลยีการเงินที่เอสเอ็มอีต้องจับตาในปี 2022

Text: นเรศ เหล่าพรรณราย

 

     เทรนด์ของเทคโนโลยีการเงินหรือฟินเทคยังคงเป็นเมกะเทรนด์ที่มีโอกาสจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในปี 2022 บางเทคโนโลยีสามารถที่จะเป็นตัวช่วยให้กับเอสเอ็มอีหรือสตาร์ทอัพได้เช่นกัน เราลองไปดูกันว่าเทคโนโลยีทางการเงินใดบ้างที่ผู้ประกอบการควรต้องศึกษาเอาไว้

บาทดิจิทัลหรือ Retail CBD

     หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการใช้ Digital Currency กับภาคธุรกิจและระหว่างธนาคารกลางที่เป็นพันธมิตรมาได้ระยะเวลาหนึ่ง ปี 2022 จะเป็นครั้งแรกที่จะเริ่มต้นทดสอบการใช้งาน Digital Currency สำหรับผู้ใช้รายย่อยทั่วไปหรือเงินบาทดิจิทัล

     แม้ว่าปัจจุบันร้านค้าจะมีการใช้เทคโนโลยีอย่าง Promptpay หรือ QR Code Payment อยู่แล้ว แต่การมาของเงินบาทดิจิทัลของผู้ใช้งานรายย่อยทั่วไปจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงินของประเทศไทยครั้งสำคัญที่ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะมีการปรับตัวตาม และอาจถึงขั้นมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของการให้บริการ ผู้ประกอบการจึงควรต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

Cryptocurrency Payment

     ปี 2021 เป็นปีที่ภาคธุรกิจหันมาเปิดรับการชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลหรือ Cryptocurrency กันเป็นอย่างมาก ปี 2022 คาดว่ากระแสดังกล่าวจะยังคงเติบโตและน่าจะเป็นโอกาสของธุรกิจเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพที่จะมีการปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยีดังกล่าวมากขึ้น

     อย่างไรก็ตามธนาคารแห่งประเทศไทยได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการนำสกุลเงินดิจิทัลมาใช้ในการชำระเงินและส่งสัญญาณว่าจะเข้ามาควบคุมดูแลการทำธุรกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องจับตาว่าจะมีกฎหมายใหม่เข้ามาควบคุมดูแลหรือไม่

DeFi 2.0

     เทคโนโลยีการเงินไร้ตัวกลางหรือ DeFi ในเวอร์ชั่นแรกได้แสดงให้เห็นแล้วว่าสามารถตัดตัวกลางที่เป็นสถาบันการเงินออกไปได้ แต่ยังมีข้อบกพร่องในหลายประเด็นเช่นกัน เช่นต้นทุนในการนำมาเป็นหลักประกันในการกู้ยืมที่สูงเกินไปรวมถึงค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่สูงในบางบล็อกเชน

     ปี 2022 มีโอกาสที่จะเป็นปีที่เทคโนโลยี DeFi จะมีการอัพเกรดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยปิดจุดอ่อนที่เคยมีในเวอร์ชั่นแรกได้รวมถึงสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมจะเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น เป็นไปได้ว่าอาจจะเกิด Mass Adoption ขึ้นได้เช่นกัน

Web 3.0

     เทคโนโลยีอินเทอร์เนตในยุคที่สามจะมีการเปลี่ยนแปลให้มีเทคโนโลยีอยู่เบื้องหลังมากขึ้น นอกเหนือจากการเป็นเพียงแหล่งค้นข้อมูลหรือการสื่อสารสองทางอย่างที่เกิดขึ้นในยุค 1.0 และ 2.0 โดยเป็นไปได้ว่าจะสามารถทำธุรกรรมบนอินเทอร์เนตที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกระแสของ Metaverse ที่จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น การทำธุรกิจบนโลกออนไลน์จะมีสีสันมากกว่าอินเทอร์เนตในยุคปัจจุบัน

     นี่เป็นเทรนด์ของเทคโนโลยีที่น่าจะได้เห็นในปี 2022 ซึ่งเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพจะมีโอกาสได้เข้าถึงไม่แพ้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่เช่นกันเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการจะต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงนี้

 

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี 

RECCOMMEND: FINANCE

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้

ฟังผู้บริหาร บสย. แนะ SME เสริมสภาพคล่อง เข้าถึงสินเชื่อในระบบ

ในยุคที่เศรษฐกิจผันผวนและการแข่งขันที่รุนแรง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต่างต้องการ “เงินทุน” ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน แต่ “การเข้าถึงสินเชื่อในระบบ” ยังเป็นอุปสรรคสำคัญของผู้ประกอบการ ทางออกหนึ่งคือการหันไปหา “เงินกู้นอกระบบ”