ทำความรู้จักเกณฑ์ใหม่แบงก์ชาติ เอื้อธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกต้องรู้

Text: นเรศ เหล่าพรรณราย

 

 

      หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของผู้ประกอบการที่นำเข้าและส่งออกก็คือเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนสูง เพื่อที่จะเสริมเครื่องมือให้กับผู้ประกอบธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ผ่อนคลายเกณฑ์การทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ภายใต้แผนผลักดันระบบนิเวศของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) ทั้งการนำเงินออกนอกประเทศและการชำระเงินระหว่างประเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ยกเลิกวงเงินเพื่อโอนไปให้กู้ยืมกับบธุรกิจอื่นในต่างประเทศรวมถึงซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ จากเดิมที่กำหนดวงเงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี และเพิ่มวัตถุประสงค์การโอนเงินที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากแบงก์ชาติ เป็นรายกรณี เช่น การซื้อหรือโอนเงินไปฝากเข้าบัญชีตนเองในต่างประเทศ เพื่อชำระรายจ่ายในต่างประเทศ

2. ให้ผู้ประกอบการไทยสามารถซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อโอนชำระรายจ่ายระหว่างกันภายในประเทศได้ตามความจำเป็น เช่น การชำระค่าสินค้าที่กำหนดราคาอ้างอิงตลาดโลก จากเดิมที่หากจะโอนระหว่างกันทำได้ผ่านบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศเท่านั้น

3. เปิดทางให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ในขอบเขตที่กว้างขึ้น เช่น การทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (Hedge) จากการซื้อขายสินค้าที่กำหนดราคาอ้างอิงตลาดโลกกับ คู่ค้าในประเทศ การ hedge แทนกิจการในเครือในประเทศ การ hedge ประมาณการรายรับรายจ่ายเงินตราต่างประเทศที่มากกว่า 1 ปี รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนบนงบการเงิน (balance sheet hedge) เพื่อให้ ผู้ประกอบธุรกิจทั้งผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ประกอบการใน supply chain สามารถบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้คล่องตัวขึ้น จากเดิมที่ต้องขออนุญาตเป็นรายกรณี

4. ลดภาระการแสดงเอกสารในการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ โดยลูกค้าที่ผ่านกระบวนการ Know Your Business ของธนาคารพาณิชย์ ไม่ต้องแสดงเอกสารประกอบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ จากเดิมต้องแสดงเอกสารรายธุรกรรม ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและภาระด้านเอกสาร ตลอดจนเอื้อต่อการให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์

     กล่าวได้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปิดทางให้ผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกมีความคล่องตัวและทางเลือกในการทำธุรกรรมเงินตราระหว่างประเทศมากขึ้น จากเดิมที่มีข้อจำกัดพอสมควร เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยมองเห็นถึงปัจจัยความเสี่ยงทางด้านการเงินระหว่างประเทศที่มีความเสี่ยงและความผันผวนมากขึ้น

     นี่จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินโลกที่มีปัจจัยเสี่ยงใหม่เป็นจำนวนมากที่ไม่อาจจะคาดการณ์ได้ล่วงหน้ารวมถึงต้องศึกษาหลักเกณฑ์ต่างๆของหน่วยงานกำกับดูแลที่รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงนี้และมีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบรวมถึงเครื่องมือการเงินใหม่ๆ ออกมา

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

ถึงเวลา Influencer ต้องเตรียมตัว วางแผนภาษีให้ดี ก่อนโดนเบี้ยปรับหนักเป็น 2 เท่า!!

ได้เวลามาอัปเดตภาษี Influencer ล่าสุด จะได้รู้ว่า ต้องวางแผนอย่างไร และคำนวณได้ด้วยตัวเองว่า จะต้องเสียภาษีเท่าไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่จะพาเสียชื่อและภาพลักษณ์แบบที่ไม่น่าจะเกิดได้ในภายหลัง

Virtual Bank มาแล้ว!  โอกาสทอง SME หรือแค่กระแส?  เจาะนวัตกรรมการเงิน บทเรียนจากต่างประเทศ

พาคุณเจาะลึกว่า Virtual Bank คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับ SME และบทเรียนจากต่างประเทศที่เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส พร้อมกลยุทธ์ให้ SME เตรียมตัวคว้าโอกาสทองนี้ก่อนใคร!

ธุรกิจใช้รถผิดวิธี ต้นทุนบานไม่รู้ตัว ปลดล็อกต้นทุนแฝง พร้อมกลยุทธ์คุมงบแบบมือโปร

รถแค่ 1 คันในบริษัทอาจดูไม่ใช่ต้นทุนใหญ่อะไรนัก...แต่ในความจริง มันอาจกำลังกัดกินกำไรคุณอยู่ทุกเดือน  นี่ไม่ใช่แค่ปัญหาของคนขับรถ แต่มันคือวิกฤตของเจ้าของธุรกิจ เราเลยจะมาแนะนำ 3 กลยุทธ์ปิดจุดรั่ว สร้างกำไรจากรถทุกคัน