บริหารหนี้อย่างไรให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง 7 กฎเหล็กที่ SME ต้องรู้

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • การทำธุรกิจต้องไม่พ้นการเป็นหนี้ แล้วเป็นหนี้แค่ไหนถึงจะพอดี

 

  • ต้องบริหารหนี้อย่างไรให้เกิดสภาพคล่อง คำถามที่คนทำธุรกิจควรรู้คำตอบ

 

     เศรษฐกิจไม่ดี รายได้ไม่ค่อยเป็นไปตามเป้า นอกจากจะสร้างหนี้สิ้น และภาวะกดดันให้เจ้าของกิจการมากมาย บางรายคิดสั้นเป็นข่าวมีให้เห็นบ่อยๆ หรือบางคนที่ยังหาทางออกไม่เจอก็ขยาดคำว่า “หนี้” ทั้งๆ ที่การเป็นหนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าคุณรู้จักการบริหารเงินให้เป็น

วิธีบริหารหนี้ให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง

     เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารธุรกิจให้มีสภาพคล่อง SME Thailand Online พาไปคุยกับ ศิริรัฐ โชติเวชการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Network Advisory Team (NAT) ถึงแนวทางวิธีบริหารหนี้ให้ SME ได้นำไปปรับใช้ดังนี้

1. มีระบบบัญชีที่ดี

     ไม่ว่าเป็นการทำธุรกิจในรูปแบบบุคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ควรจะมีระบบการจัดการบัญชีที่ดี เพื่อจะได้ตรวจสอบตัวเลขทางการเงินได้ว่า บริษัทมีกำไรหรือขาดทุน จะได้แก้ไขและหาทางป้องกันได้ทันท่วงที เช่น ถ้าบริษัทมีรายจ่ายมากเกินรายรับ ควรพิจารณาว่า ค่าใช้จ่ายใดที่เป็นส่วนเกิน เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ไม่ก่อให้เกิดรายได้ก็ควรตัดทิ้ง เช่น ค่าใช้จ่ายเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ รวมทั้งหาทางเพิ่มรายได้เพื่อให้มีเงินสดเข้ามาได้เร็วขึ้น

     นอกจากนี้การทำบัญชียังทำให้ได้ข้อมูลมาช่วยวิเคราะห์ธุรกิจเชิงลึกได้อีกด้วย เช่น สาเหตุที่บริษัทขาดทุนเกิดจากมีต้นทุนมากไป อาจมาจากการตั้งราคาขายสินค้าต่ำไปหรือไม่

2. หมดยุคแบกสต็อก

     การบริหารสต็อกถือเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากๆ ในการทำธุรกิจ ธุรกิจที่ดีไม่ควรแบกสต็อกเยอะเกินไป หลักการที่ดีคือพยายามทำให้เป็น Zero waste หรือวิธีที่เป็นที่นิยมในยุคนี้คือ การพรีออร์เดอร์ ทำให้ไม่ต้องเสียเงินไปเช่าโกดัง รวมทั้งมีการควบคุมการผลิตจะช่วยทำให้ควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้นในสภาวะที่กำลังซื้อลดลง

3. เก็บเงินลูกค้าให้เร็วขึ้น

     ในภาวะฉุกเฉินบริษัทอาจต้องมีวิธีการทำให้ลูกค้าชำระหนี้ให้เร็วขึ้น เช่น ยอมให้ส่วนลด เพื่อให้มีเงินสดเข้าบริษัท ที่สำคัญควรหมั่นที่จะติดตามลูกหนี้ อย่าปล่อยให้ค้างชำระนาน เพราะยิ่งนานจำนวนหนี้ก็จะยิ่งเยอะ เมื่อลูกค้าเห็นหนี้เยอะขึ้น อาจทำให้ลูกค้ายิ่งไม่อยากชำระเงิน

4. เคลียร์หนี้ให้เป็น

     เมื่อบริษัทมีหนี้ ควรพิจารณาดูความสำคัญ ต้นทุนของหนี้ ดอกเบี้ยตัวไหนแพงก็ควรรีบเคลียร์นี้ตัวนั้นให้เรียบร้อนก่อน หรือหาทางเจรจากับเจ้าหนี้

5. กู้เงินเท่าไหร่ถึงจะพอดี

     อย่างไรก็ดีถ้ากองทัพต้องเดินด้วยท้องการทำธุรกิจก็ต้องเดินด้วย “เงิน” ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟู พัฒนา ล้วนต้องใช้เงินทั้งสิ้น แล้วหากผู้ประกอบการต้องการเงินมาลงทุนก็ไม่ควรเกิน 2-2.5 เท่าของทรัพย์สินที่บริษัทมี

6. เสียภาษีให้ถูกต้อง

     การเสียภาษีให้ถูกต้องนอกจากจะทำให้ค้าขายได้อย่างบริสุทธิ์ใจแล้ว การไม่เสียภาษีเมื่อโดนตรวจสอบและ โดนปรับย้อนหลังจะเสียเงินมากกว่าเก่า โดยเฉพาะเรื่อง vat อาจโดนปรับถึง 3-4 เท่า หรือคนที่อยู่นอกระบบอาจเสียมากกว่านั้นเมื่อต้องมีการจ่ายใต้โต๊ะ

7. จอมยุทธ์ตัวเบา

     ในยุคนี้บริษัทอาจไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างเอง การ outsource จ้างผู้เชี่ยวชาญช่วยทำในบ้างเรื่อง ทำให้ธุรกิจไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายมากไป

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน