รู้ทัน ‘ภาวะ Brownout’ โรคที่ทำให้ลูกน้องหมดใจ ไม่อยากไปต่อกับคุณ




Main Idea
 
  • ภาวะ Burnout และ Brownout เป็นภาวะที่ทำให้คนทำงานคนหนึ่งรู้สึกเครียดและไม่มีความสุข โดย Burnout มักจะเกิดจากการเครียดเรื่องงานสะสมเป็นเวลานานจนทำให้รู้สึกหมดไฟกับการทำงาน
 
  • แต่ Brownout นั้นคือภาวะที่เกิดขึ้นจากความเบื่อหน่ายอะไรบางอย่างในองค์กร อาทิ กฎระเบียบที่มากมายจุกจิก เงื่อนไขบางอย่างที่ตั้งเอาไว้จนทำให้อึดอัด
 
  • ตัวเลขที่น่าสนใจจาก Corporate Balance Concepts ว่ามีพนักงานที่หมดไฟจาก Burnout ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์แต่คนที่หมดใจจาก Brownout มีถึง 40 เปอร์เซ็นต์




     หาก ‘Burnout Syndrome’ เป็นภาวะที่ทำให้มนุษย์เงินเดือนหมดไฟ ‘Brownout Syndrome’ ก็คงเป็นภาวะที่ทำให้มนุษย์เงินเดือนหมดใจและการหมดใจนี่แหละที่เป็นเหตุผลสำคัญให้หลายคนตัดสินใจว่าไม่ขอไปต่อกับองค์กรนี้แล้ว รู้สึกอึดอัด มาทำงานอย่างไร้ความสุขเหมือนมีแค่ร่างที่ไร้วิญญาณ อยากจะไปให้พ้นๆ โดยมีตัวเลขที่น่าสนใจจาก Corporate Balance Concepts ว่ามีพนักงานที่หมดไฟจากภาวะ Burnout ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์แต่คนที่หมดใจในภาวะBrownout มีถึง 40 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นตัวเลขที่ห่างกันค่อนข้างเยอะทีเดียว ฉะนั้น อย่าปล่อยให้พนักงานของคุณหมดใจในองค์กรก่อนที่จะเสียพนักงานฝีมือดีๆ ไปหมด



 
  • ทำความรู้จักกับ Brownout Syndrome
     ภาวะ Burnout และ Brownout เป็นภาวะที่ทำให้พนักงานคนหนึ่งรู้สึกเครียดและไม่มีความสุข โดย Burnout มักจะเกิดจากการเครียดเรื่องงานสะสมเป็นเวลานานจนทำให้รู้สึกหมดไฟกับการทำงาน บางทีอาจไม่ได้เกี่ยวกับองค์กรโดยตรง


     แต่ Brownout นั้นคือภาวะที่เกิดขึ้นจากความเบื่อหน่ายอะไรบางอย่างในองค์กร อาทิ กฎระเบียบที่มากมายจุกจิก เงื่อนไขบางอย่างที่ตั้งเอาไว้จนทำให้อึดอัด การปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียม คนทำดีก็ได้เท่าคนทำไม่ดี เจ้านายพูดอย่างทำอย่าง ไม่เหมือนที่ตกลงเอาไว้ และอีกหลายเหตุผลจนทำให้พนักงานหลายคนรู้สึกว่าองค์กรนี้ไม่เหมาะกับพวกเขาอีกแล้ว แต่ก็ยังมีเหตุผลบางคนที่ยังต้องทนจนถึงวันที่ฟางเส้นสุดท้ายขาดและการลาออกคือทางเลือกที่ดีที่สุด



 
  • อะไรบ้างที่ทำให้พนักงานเกิด Brownout Syndrome
 
  1. กฎระเบียบที่มากเกินไป
แน่นอนว่าทุกองค์กรจะต้องมีกฎระเบียบเพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีระเบียบเรียบร้อย แต่รู้หรือไม่ว่ากฎที่มากมายและจุกจิกเกินไป ไร้ความยืดหยุดมีแต่จะทำให้พนักงานรู้สึกอึดอัดใจและไม่อยากจะทำตามกฎ นอกจากนี้ กฎเกณฑ์ที่บังคับเฉพาะคนกลุ่มหนึ่งแต่กลับยืดหยุ่นสำหรับคนบางกลุ่ม ยิ่งทำให้พนักงานรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรมและเกิดเป็นความอคติต่อองค์กรในที่สุด


 
  1. เป้าหมายงานไม่ชัด ตำแหน่งงานไม่ใช่
ทุกคนอยู่ได้ด้วยเป้าหมาย แต่หากองค์กรของคุณมีเป้าหมายในการทำงานไม่ชัดเจน พนักงานก็จะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีแรงกระตุ้นในการทำงาน อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญคือมอบหมายงานไม่ตรงกับตำแหน่ง หรือ วางคนไม่ถูกกับงาน รับพนักงานมาในตำแหน่งนี้ แต่เอาเข้าจริงกลับโยนไปให้ทำอีกอย่างหนึ่ง หรือในบางเหตุการณ์ที่มีพนักงานลาออก แต่องค์กรกลับไม่รับคนเพิ่มและเอางานที่เหลือมาให้พนักงานที่ยังอยู่ทำแทน จนในที่สุดพวกเขาก็เริ่มรู้สึกว่าความไม่แฟร์บางอย่างเกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว
  1. ไม่มีรางวัล ไม่มีบทลงโทษ ไม่มีอะไรเลย
เมื่อคนทำดีกลับไม่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า ความดีจึงกลายเป็นสิ่งไร้ค่าจนไม่มีใครอยากทำความดีอีก นี่คือเหตุผลสำคัญที่อาจทำให้คุณสูญเสียพนักงานดีๆ ไป บางองค์กรมอบความเท่าเทียมให้กับพนักงานทุกคน ปรับเงินเดือนเท่ากัน ให้โบนัสเท่ากัน มองเผินๆ อาจจะดี แต่คุณกำลังทำให้พนักงานที่ทำงานได้ดีรู้สึกว่า ‘ทำดีไปก็เท่านั้น’ , ‘เหนื่อยกว่าคนอื่นก็ได้รับเงินเท่ากัน’ ,  ‘งั้นก็ไม่ต้องทำดีเกินตัวดีกว่า’ เป็นต้น
  1. เจ้านายเอาแต่ใจตัวเอง
หากองค์กรของคุณมี Turnover Rate สูง อีกหนึ่งสิ่งทีต้องหันกลับมามองคือตัวคุณเอง บางทีคุณอาจจะไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่คุณทำส่งผลให้พนักงานอึดอัด หลายครั้งที่พนักงานต้องแบกรับความกดดันจากความคาดหวังที่สูงลิ่วของเจ้านาย บางครั้งเจ้านายไม่ยอมรับว่าตัวเองผิดแต่กลับโยนความผิดมาให้พนักงานรับผิดชอบหรือการสั่งงานแบบลอยๆ อีกไม่กี่วันก็ลืมสิ่งที่เคยพูดเอาไว้ เมื่อเจอพลังงานด้านลบจากเจ้านายบ่อยๆ พนักงานก็จะเริ่มรู้สึกว่าเขาไม่อยากที่จะทนอยู่ในสถานการณ์นี้อีกต่อไป



 
  • กู้คืนใจ ให้พนักงานไปต่อ
 
  • ทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
  • ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้มีความบาลานซ์เพื่อตอบโจทย์ทั้งคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า
  • ใช้การสื่อสารให้พนักงานทุกคนรู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญ
  • ตั้งเป้าหมายการทำงานให้ชัดเจน ทั้งเป้าหมายใหญ่ขององค์กรและเป้าหมายย่อยของพนักงานแต่ละคน
  • เพิ่มรางวัลที่เป็นแรงจูงใจให้แก่พนักงานที่ทำงานได้ดี มีการเติบโตเป็นขั้นบันไดเพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าเขาไม่ได้หยุดนิ่งกับที่
  • คอยสังเกตความเครียดของคนในองค์กรเสมอ
  • เจ้านายคือคนที่จะทำให้บรรยากาศมาคุในองค์กรหายไป ถ้าคุณเริ่มต้นวันด้วยพลังงานด้านบวก งานในวันนั้นก็จะผ่านไปได้ด้วยดี แม้มีอุปสรรคก็จะหาทางแก้ไขได้อย่างราบรื่น
  • เปลี่ยนงานเครียดให้เป็นความท้าทายและความสนุก
  • ปล่อยให้พนักงานได้ใช้ความสามารถของตัวเองได้อย่างเต็มที่
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี


 

RECCOMMEND: MANAGEMENT

เหนื่อยยังไง...ให้ไปต่อได้ 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่คนทำธุรกิจยุคไม่แน่นอนต้องรู้

ถ้าเป้าหมายการทำธุรกิจของคุณ ไม่ใช่แค่ “อยู่รอด” แต่คือ “อยู่ให้ได้อย่างยั่งยืนและมีคุณค่า”ลองดู 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่ช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้ในวันที่เหนื่อยแทบขาดใจ

ลงทุนในคน ยังไงไม่ให้คนเก่งหนี  บทเรียนจากองค์กรชั้นนำ ยุคที่คนเปลี่ยนงานไวกว่าเปลี่ยนมือถือ

หากองค์กรจะลงทุนเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การพัฒนาคน” ทั้งในแง่ของทักษะ มุมมอง และการสร้างระบบที่หล่อเลี้ยงการเติบโตของคนกับองค์กรไปพร้อมกัน

ล้มไม่ใช่แพ้ ถ้ารู้จักลุกอย่างมีกลยุทธ์ “Resilience” ทักษะที่ SME ควรมี

ล้มแค่ไหนก็ไม่พัง ถ้าเราล้มเร็วลุกเร็ว มาเรียนรู้ 10 วิธีฟื้นใจและปรับตัวไว ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของความอดทน แต่คือศิลปะของการลุกขึ้นใหม่