พนักงานของคุณมีความสุขดีหรือเปล่า


    

เรื่อง : คัมภีร์เงิน


    ในฐานะเจ้าของกิจการคุณควรจะทราบว่าพนักงานในบริษัทมีความสุขดีกับงานที่ทำหรือกับการบริหารงานของคุณหรือไม่ หากคำตอบคือไม่ คุณก็ควรหาหนทางปรับปรุงวิธีการบริหารงานบุคคลให้ดีขึ้น เพราะทุกครั้งที่ต้องรับพนักงานใหม่ ต้องอบรมใหม่ เป็นต้นทุนที่คุณต้องเสียไปทั้งสิ้น ทำแบบสอบถามนี้แล้วคุณจะเห็นภาพชัดเจนขึ้น


1.พนักงานของคุณกี่คนดูหน้าตาท่าทางมีความสุขเมื่อเข้ามาในออฟฟิสตอนเช้า
ก. ส่วนใหญ่
ข. มีไม่กี่คน

2.พนักงานของคุณดูมีความสุขตลอดวันหรือดูเซ็งๆ ประหนึ่งว่าไม่น่ามาอยู่ออฟฟิสนี้เลย
ก.ส่วนใหญ่ท่าทางมีความสุข
ข.ส่วนใหญ่ไม่มีความสุข

3.พนักงานของคุณมีการแนะนำให้คุณปรับปรุงบรรยากาศในการทำงานหรือไม่
ก.มี
ข.แทบจะไม่มีเลย

4.การเรียกร้องขอขึ้นเงินเดือนเป็นเรื่องปกติของบริษัทคุณหรือไม่
ก.ไม่ใช่
ข.ใช่

5.คุณชื่นชมหรือแสดงความขอบคุณแก่พนักงานที่ทำงานดีต่อหน้าพนักงานคนอื่นหรือไม่
ก.ใช่
ข.ไม่ใช่

6.คุณต่อว่าหรือวิจารณ์พนักงานที่ทำงานไม่ดีต่อหน้าพนักงานคนอื่นๆ หรือไม่
ก.ไม่เคยเลย
ข.เป็นบางครั้ง 

7.คุณเรียกพนักงานมาพูดคุยถึงปัญหาส่วนตัวบ้างหรือไม่
ก.ใช่
ข.ไม่บ่อยเท่าใดนัก


***********************************************
 



คะแนน 
ข้อ ก = 1 , ข้อ ข = 0

วิเคราะห์คะแนน
4-7 พนักงานในบริษัทช่างโชคดีที่มีผู้บริหารที่ใส่ใจพนักงานเช่นคุณ พวกเขามีความสุขที่ได้ทำงานกับคุณ ขอให้คุณพยายามรักษาข้อดีนี้ไว้ พนักงานที่มีความสุขในการทำงานย่อมทำงานที่มีคุณภาพให้คุณ


0-3 ท่าทางพนักงานของคุณไม่ค่อยจะมีความสุขเท่าใดนัก ทำไมคุณไม่หาสาเหตุที่ทำให้พวกเขาไม่มีความสุขและแก้ไขให้มันดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องที่ทำงาน

Create by smethailandclub.com

RECCOMMEND: MANAGEMENT

เจาะลึก Grey Rock Method วิธีรับมือ Toxic People ในที่ทำงาน นิ่งสงบ สยบ ทุกพลังลบ !!

อย่าตกหลุมดรามาให้เสียพลัง....จาก Toxic People เตรียมพร้อมตั้งรับความ Toxic ให้อยู่หมัด ซัดกลับแบบคูลๆ !! ด้วย 5 วิธีตอบสนองแบบชาว Grey Rock

ปรับโหมดลูกน้อง “Fauxductivity” ขยันทำงานแบบการละคร สู่โหมดจริงจังและได้ผลงานจริง

รู้จัก “Fauxductivity” หลอกว่ายุ่ง แต่ใจไม่ได้มุ่งทำงาน แล้วผู้นำหรือหัวหน้าต้องทำอย่างไร จึงจะแก้ปัญหาการทำงานแบบ Fauxductivity ได้อยู่หมัด

เหนื่อยยังไง...ให้ไปต่อได้ 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่คนทำธุรกิจยุคไม่แน่นอนต้องรู้

ถ้าเป้าหมายการทำธุรกิจของคุณ ไม่ใช่แค่ “อยู่รอด” แต่คือ “อยู่ให้ได้อย่างยั่งยืนและมีคุณค่า”ลองดู 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่ช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้ในวันที่เหนื่อยแทบขาดใจ