สตรองเหนือวิกฤต! กับ 6 แนวทางรับมือ COVID-19 ที่จะทำให้ธุรกิจรอด




Main Idea
 
  • ไทยพัฒน์ฯ จัดทำแนวทางรับมือของภาคธุรกิจต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ “Business Response Guidance on COVID-19”  เผยแพร่ให้องค์กรธุรกิจ นำไปใช้เป็นแนวดำเนินการเชิงรุก เพื่อดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะสั้น และรักษาไว้ซึ่งคุณค่าขององค์กรในระยะยาว
 
  • เอกสารดังกล่าว ประกอบด้วย 6 แนวทางการดำเนินงาน ซึ่งครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้ง 6 กลุ่ม ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า หน่วยงานภาครัฐ ชุมชน และผู้ถือหุ้น ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถจัดทำแผนรองรับสถานการณ์ได้อย่างรอบด้าน และใช้สื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ




     ไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรธุรกิจจะรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เพราะไม่ได้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยจนมีประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญในการรับมือ แต่ความยากคือจนถึงตอนนี้สถานการณ์ COVID-19 ยังมีความรุนแรงและยังไม่มีวี่แววว่าจะคลี่คลายลงในระยะเวลาอันใกล้ องค์กรธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีแผนเผชิญเหตุไว้ดูแลกิจการของตนเอง เพื่อให้ผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปได้ และดูแลผลกระทบให้อยู่ในวงจำกัดที่สุด


     สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะหน่วยงานที่มุ่งเน้นงานส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และร่วมขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการกับภาคธุรกิจเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำแนวทางรับมือของภาคธุรกิจต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 หรือ Business Response Guidance on COVID-19 สำหรับองค์กร เพื่อนำไปใช้ดูแลกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญในช่วงสถานการณ์ ซึ่งประกอบด้วย 6 แนวทางการดำเนินงานซึ่งครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 6 กลุ่ม ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า หน่วยงานภาครัฐ ชุมชน และผู้ถือหุ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                       




     1.Protecting Employees : การคุ้มครองพนักงานให้ปลอดภัยและมีแนวทางปฏิบัติตนที่ถูกต้องในช่วงสถานการณ์
 

     โดยองค์กรควรหมั่นติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เป็นปัจจุบันอย่างใกล้ชิด มีการสำรวจและซักซ้อมกับคณะผู้บริหารเพื่อให้แน่ใจว่า องค์กรได้มีการตระเตรียมความพร้อมและมีความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิผล มีการศึกษาแนวทาง คำแนะนำ และข้อปฏิบัติที่เผยแพร่โดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขที่เป็นทางการหรือที่สากลยอมรับ มีการใช้ช่องทางติดต่อสื่อสารกับพนักงานในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับแจ้งข้อมูลข่าวสารสำคัญ และแนวทางปฏิบัติในช่วงสถานการณ์ให้ได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งเปิดช่องทางรับแจ้งข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันด่วนในกรณีที่พบว่ามีพนักงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือเข้าข่ายติดเชื้อ มีการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็นและการดูแลทำความสะอาด สถานที่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ สำหรับองค์กรที่มีพนักงานจำนวนมาก ควรจัดให้มีการตรวจคัดกรองพนักงานก่อนเข้าทำงาน และอาจมีการตั้งทีมเผชิญเหตุที่พร้อมเข้าให้ความช่วยเหลือพนักงานและผู้มาติดต่อในกรณีฉุกเฉิน
 


     Checklist  : สิ่งที่ควรดำเนินการต่อพนักงาน
 
  • ศึกษาและดำเนินการตามคำแนะนำการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  สำหรับสถานประกอบการ สถานที่ทำงาน  ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
 
  • จัดให้มีช่องทางการติดต่อสื่อสารสองทางกับพนักงาน และมาตรการรองรับที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการในสถานประกอบการ สถานที่ทำางาน
 
  • จัดให้มีการตรวจคัดกรองพนักงานและผู้มาติดต่อ พิจารณาจัดตั้งทีมเผชิญเหตุในกรณีฉุกเฉิน  (สำหรับองค์กรที่มีพนักงานทำงานหนาแน่น  หรือมีการเดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะ ประเทศในกลุ่มเสี่ยง)
 
 



      2.Adapting Customers’ Changing Patterns  : การปรับตัวรับกับรูปแบบหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าในช่วงสถานการณ์
 

     เหตุที่การแพรก่ระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ติดต่อจากคนสู่คน ทางระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ผ่านละอองขนาดใหญ่ (Droplet) และในบางกรณีอาจแพร่ผ่านละอองฝอยขนาดเล็ก (Aerosol)  รวมทั้งผ่านสิ่งของเครื่องใช้ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ จึงมีข้อแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางหรือไปในสถานที่ที่ผู้คนหนาแน่น (เช่น ห้างสรรพสินค้า ศูนย์อาหาร โรงภาพยนตร์ สถานีขนส่ง สนามบิน สถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น) หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้อื่น รีบทำธุระ รีบกลับที่พักอาศัย ทำให้รูปแบบหรือพฤติกรรมการดำรงชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงจากวิถีปกติ องค์กรจึงควรปรับช่องทางการเข้าถึงลูกค้า การขาย การบริการ และการตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ อาทิ การให้ข้อมูลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในสินค้า และบริการ การให้บริการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การให้บริการจัดส่งสินค้าแบบหน้าประตูถึงหน้าประตู (Door-to-Door Delivery) การทำธุรกรรมระยะไกลกับลูกค้า หรือ ณ สถานที่ที่ลูกค้าสะดวก รวมทั้งการนำข้อแนะนำของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำแนะนำของหน่วยงาน ผู้กำกับดูแลในกลุ่มอุตสาหกรรมหรือหมวดธุรกิจที่ตนสังกัด มาศึกษาและดำเนินการ เพื่อสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นต่อลูกค้าในช่วงสถานการณ์
 


     Checklist : สิ่งที่ควรดำเนินการต่อลูกค้า
 
  • ศึกษาและดำเนินการตามคำแนะนำการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ประกอบการ (โรงแรม ร้านอาหาร บริษัทนำเที่ยว นวดหรือสปา) คำแนะนำการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับการจัดการประชุม สัมมนา หรือกิจกรรมอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งคำแนะนำของหน่วยงานผู้กำกับดูแลในกลุ่มอุตสาหกรรม หรือหมวดธุรกิจที่ต้นสังกัด (ถ้ามี)
 
  • สื่อสารให้ข้อมูลกับลูค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ในสินค้าและบริการ การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ผ่านช่องทางออนไลน์ บริการจัดส่งสินค้าไปยัง ปลายทางตามที่ลูกค้าต้องการ และการทำาธุรกรรม ระยะไกลกับลูกค้า หรือสถานที่ที่ลูกค้าสะดวก
 




      3.Ensuring Suppliers’ Resilience :  การสร้างหลักประกันหรือ ขีดความสามารถของคู่ค้า ในการปรับตัวและฟื้นตัวจากสถานการณ์
 

     องค์กรควรดำเนินการประเมินห่วงโซ่อุปทานว่ากิจการของตนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์หรือไม่ โดยเฉพาะผู้ส่งมอบหลักที่เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบป้อนสายการผลิตหลัก การหยุดชะงักหรือเกิดความล่าช้าในการส่งมอบของผู้ส่งมอบตรง (Direct) และผู้ส่งมอบช่วง (Subtiers) ทางเลือกในการสรรหาวัตถุดิบทดแทน การทบทวนแผนการบริหารสินค้าคงคลังให้มี ความยืดหยุ่นตามสถานการณ์การปรับปรุงข้อตกลงหรือทุเลาบางข้อสัญญากับผู้ส่งมอบ การชำระเงินคงค้างหรือเงินล่วงหน้าที่ช่วยให้ธุรกิจของผู้ส่งมอบฟื้นตัวในระยะสั้น สำหรับมาตรการระยะยาว องค์กรควรดำเนินการประเมิน อุปสงค์ใหม่เพื่อใช้วางแผนการบริหารจัดการอุปทานหลังสถานการณ์สิ้นสุด เนื่องจากสภาพตลาดและรูปแบบหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าในช่วงสถานการณ์อาจไม่ได้กลับคืนสู่ภาวะปกติดังเดิมเหมือนก่อนช่วงสถานการณ์
 

     Checklist : สิ่งที่คววรดำเนินการต่อคู่ค้า
 
  • ประเมินผลกระทบในห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะ ผู้ส่งมอบหลักที่เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบป้อน สายการผลิตหลัก พร้อมจัดทำแนวทางและมาตรการรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น (ถ้ามี)
 
  • ปรับปรุงข้อตกลงหรือทุเลาบางข้อสัญญากับผู้ส่งมอบ รวมทั้งการพิจารณาชำระเงินคงค้างหรือเงินล่วงหน้าที่ช่วยให้ธุรกิจของผู้ส่งมอบฟื้นตัวในระยะสั้น
 
  • ดำเนินการประเมินอุปสงค์ใหม่หลังสถานการณ์สิ้นสุด เพื่อใช้วางแผนการบริหารจัดการอุปทาน บนข้อสันนิษฐานสภาพตลาดและรูปแบบหรือ พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
 




     4.Complying with Government Directives : การปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อชี้แนะของหน่วยงาน ภาครัฐที่เกี่ยวข้องในช่วงสถานการณ์
 


     กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็น โรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคมุโรคติดต่ออันตราย เมื่อวันที่ 26 กมุภาพันธ์ 2563 องค์กรควรศึกษาและทำความเข้าใจในพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และอนุบัญญัติที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งให้อำนาจหน้าที่แก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่จะดำเนินการเองหรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดำเนินการ รวมถึงประกาศและคำสั่งของกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ และกรมควบคุมโรค ตลอดจนคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการและสถานที่ทำงาน พร้อมทั้งติดตามรายงานสถานการณ์ รายวัน รวมทั้งคำถามที่พบบ่อย (FAQs) อย่างสม่ำเสมอ


     Checklist  : สิ่งที่ควรดำเนินการ ต่อหน่วยงานภาครัฐ
 
  • ศึกษาและปฏิบัติตามประกาศและคำสั่งของกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ และกรมควบคุมโรค ในส่วนที่องค์กรมีความเกี่ยวข้อง
 
  • ติดตามรายงานสถานการณ์รายวัน รวมทั้งคำถามที่พบบ่อย (FAQs) โรคติดเชื้้อไวรัสโคโรนา 2019 จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที
 



     5.Supporting the Communities in which it works : การช่วยเหลือสนับสนุนชุมชนที่ซึ่งธุรกิจมีแหล่งดำเนินงานหรือดำเนินงานอยู่ในช่วงสถานการณ์
 

     องค์กรถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียหนึ่งในชุมชน และมีผลประโยชน์ร่วมกับชุมชน การมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน เป็นเรื่องที่ถูกผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน และการมีส่วนร่วมขององค์กร มิได้หมายถึงเพียงการบริจาค เงิน วัตถุ สิ่งของ หรือการอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม แต่รวมไปถึงศักยภาพในการนำ Core Business ของตนมาใช้ในการช่วยเหลือชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือหรือกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบในช่วงสถานการณ์ อาทิ การแปลงกระบวนการผลิตหรือปรับแต่งสายการผลิตเดิมของธุรกิจในสาขาเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพ เพื่อส่งมอบเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและขาดแคลน ในช่วงสถานการณ์ (หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ฯลฯ) การปรับทิศทางการวิจัย และพัฒนาของธุรกิจในสาขาเทคโนโลยีทางการแพทย์ ในการคิดค้นวิธีตรวจพบเชื้อในระยะฟักตัวหรือไม่แสดงอาการ เพื่อลดภาระและระยะเวลาในการกักกันกลุ่มเสี่ยง การเสนอให้ใช้ระบบโลจิสติกส์องค์กรที่มีอยู่ในการเข้าถึงหรือกระจายสินค้าที่จำเป็นและขาดแคลน เป็นต้น โดยสิ่งที่องค์กรจะได้รับ คืออานิสงส์ผลได้ที่จะย้อนกลับมาสู่ธุรกิจ แม้องค์กรจะคาดหวังไว้หรือไม่ก็ตาม
 

     Checklist :  สิ่งที่ควรดำเนินการต่อชุมชน
 
  • พิจารณาโอกาสและความเป็นไปได้ในการนำ Core Business ขององค์กร มาใช้ในการช่วยเหลือชุมชนในช่วงสถานการณ์ นอกเหนือจากกิจกรรมการบริจาคหรือการอาสาสมัคร
 
  • ใช้ประโยชน์จากระบบโลจิสติกส์ที่องค์กรมีอยู่ในการเข้าถึงหรือกระจายสินค้าที่จำเป็นและขาดแคลน ให้แก่ชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือหรือกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบในช่วงสถานการณ์
 





     6.Sustaining Long-term Value to Shareholders : การรักษาไว้ซึ่้งคุณ์ค่าในระยะยาวแก่ผู้ถือหุ้น หลังผ่านพ้นช่วงสถานการณ์
 

     ผลกระทบระยะสั้นที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ การขาดรายได้ ในขณะที่ต้นทุนคงที่ยังอยู่คงเดิม กระแสเงินสดที่มีแนวโน้มติดลบ สินค้าคงค้างที่ไมสามารถทำการส่งมอบ การผิดนัดชำระเงิน ฯลฯ องค์กรจำต้องมีการทบทวนแผนการใช้จ่ายเงิน การรักษาสภาพคล่องทางการเงินในช่วงสถานการณ์ การเจรจากับเจ้าหนี้และสถาบันการเงิน การผ่อนปรนเงื่อนไขสินเชื่อและดอกเบี้ยจ่าย การพักชำระหนี้ การพิจารณาตัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การตัดขายหน่วยธุรกิจ การถอนการลงทุน การควบรวมกิจการ ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งคุณค่าในระยะยาวแก่ผู้ถือหุ้น หลังผ่านพ้นช่วงสถานการณ์ รวมถึงการดำเนินการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Testing) เพื่อตรวจยืนยันความเข้มแข็งทางการเงิน และพิจารณาจัดทำแผนรองรับสถานการณ์ (Contingency Plan) ให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินต่อและเติบโตต่อไปได้หลังสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ ตลอดจนมีการรายงานให้ผู้ถือหุ้นได้รับทราบถึงแนวทางการจัดการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
 

     Checklist  : สิ่งที่ควรดำเนินการต่อผู้ถือหุ้น
 
  • ทบทวนแผนการใช้จ่ายเงิน โดยเฉพาะการรักษาสภาพคล่องทางการเงินในช่วงสถานการณ์ที่มีความผันแปรสูง รวมทั้งมาตรการทางการเงินต่างๆ ที่จำเป็นในระยะสั้น
 
  • ดำเนินการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Testing)  เพื่อตรวจยืนยันความเข้มแข็งทางการเงิน และพิจารณาจัดทำแผนรองรับสถานการณ์ (Contingency Plan) ให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ในระยะยาว
 
  • มีการรายงานให้ผู้ถือหุ้นได้รับทราบถึงแนวทาง การจัดการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
 
 

     ผู้ประกอบการและองค์กรธุรกิจที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดเอกสารแนวทางรับมือของภาคธุรกิจต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019  “Business Response Guidance on COVID-19” (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ได้ที่เว็บไซต์ www.thaipat.org
 
               

     สำหรับผู้ประกอบการ SME ทั้ง 6 แนวทางนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ เพื่อใช้ในการรับมือและสื่อสารกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า หน่วยงานภาครัฐ ชุมชน หรือแม้แต่กลุ่มผู้ถือหุ้นของกิจการ ซึ่งการเกิดเหตุการณ์วิกฤตที่ใหญ่เช่นนี้ ยิ่งบีบคั้นให้ธุรกิจต้องเร่งปรับตัวและรับมือ แน่นอนว่าถ้าผ่านเรื่องนี้ไปได้ ธุรกิจก็จะสตรองและมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งขึ้นอีกมากในอนาคต
 
 


 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 
 

RECCOMMEND: MANAGEMENT

Sequence quotient รู้ว่าต้องทำอะไรก่อน-หลัง เทคนิคผู้บริหารต้องรู้อยากให้ธุรกิจโต

ในช่วงที่ผ่านมาได้เกิดกระแสดราม่าที่ร้อนแรงขึ้นกับคอนเทนต์ของคุณ CK Cheong (ซีเค เจิง) CEO ของ FASTWORK เรื่อง “มุมมองการบริหารเวลา แนะ ต้นทุนชีวิตไม่เท่ากัน แต่ทุกคนมีเวลาเท่ากัน”

มัดรวม 5 ไอเดียประหยัดต้นทุนธุรกิจโรงแรมไซส์เล็ก

ฤดูร้อนมาเยือนแล้ว เป็นอีกหนึ่งไฮซีซั่นของการท่องเที่ยวฟากฝั่งทะเล จะทำยังไงให้มีรายได้เยอะขึ้น นอกจากการหาลูกค้าเพิ่ม การช่วยลดต้นทุนก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ โดยเฉพาะโรงแรมขนาดเล็กที่ไม่ได้มีเงินทุนมากมาย วันนี้เลยอยากชวนมาลดต้นทุนธุรกิจกับ 5 ไอเดียประหยัดต้นทุนโรงแรมไซส์เล็กกัน

รู้ก่อนเจ๊ง ความปลอดภัยทางไซเบอร์กับอนาคตธุรกิจ 40% ของเป้าหมายอาชญากรรมไซเบอร์ คือ SME

จากข้อมูลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย พบว่า การโจมตีทางไซเบอร์ต่อ SME เพิ่มขึ้น 35% โดยที่ 40% ของเป้าหมายอาชญากรรมไซเบอร์ทั้งหมดในประเทศคือ SME