“3 ทักษะ” ที่พนักงานต้องมี ถ้าอยากเป็นองค์กรที่คว้าโอกาสในทุกวิกฤต




Main Idea
 
 
   3 ทักษะพาองค์กรฝ่าวิกฤต
 
 
  • มีมายด์เซ็ตพร้อมปรับตัว ทั้ง Growth Mindset เพื่อให้กล้าออกจากคอมฟอร์ตโซนไปทดลองสิ่งใหม่ๆ และ Outward Mindset ที่ช่วยให้พนักงานในองค์กรทำงานร่วมกัน มีเป้าหมายเดียวกันและร่วมกัน หาหนทางให้องค์กรเดินไปข้างหน้า
 
  • มีความคล่องตัว (Agility) เพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
 
  • มี Innovation Thinking ในโลกที่มีความกดดันมากขึ้น ต้องอาศัยวิธีการและนวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับปรุงการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างในเวลาที่เร็วขึ้น
 


 

     จนถึงตอนนี้เรายังคงก้าวไม่พ้นสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร และไม่สามารถฟันธงได้ว่าจะจบลงเมื่อไร ทุกธุรกิจจึงดำเนินการภายใต้คำว่า “ไม่แน่นอน” เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาสั้นๆ ทั้งเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภค การพัฒนาเทคโนโลยี ถ้าไม่อยากเป็นคนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังก็ต้องปรับเปลี่ยนและเรียนรู้ในทุกๆ วัน





      “อริญญา เถลิงศรี” กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า


     “เรากำลังอยู่ในความไม่แน่นอน ถ้ายังทำแบบเดิมก็คว้าโอกาสไว้ไม่ได้ แถมยังมีความเสี่ยงมากกว่าเดิม”
แต่ไม่ใช่ทุกองค์กรจะลุกขึ้นมาปรับตัวได้ในชั่วข้ามคืน บริษัทที่จะแก้วิกฤตหรือคว้าโอกาสไว้ได้คือบริษัทที่เตรียมความพร้อมโดยมุ่งไปที่การสร้างคน ทั้งพัฒนาวิธีคิดและทักษะการทำงาน ซึ่ง 3 ทักษะสำคัญที่องค์กรยุคนี้ต้องการมากที่สุดเพื่อฝ่าวิกฤตไปได้ ก็คือ



 
 
1. มีมายด์เซ็ตที่เอื้อต่อการปรับตัว


     การจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือองค์กรได้ ต้องปรับวิธีการมอง ทั้ง Growth Mindset เพราะการเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มจากตัวเอง และกล้าออกนอกคอมฟอร์ตโซนไปลองทำสิ่งใหม่ๆ และ Outward Mindset ที่ช่วยให้พนักงานในองค์กรทุกคนร่วมกันผนึกกำลัง ร่วมกันทำงานแบบคอลลาบอเรชัน (Collaboration) ต่างฝ่ายต่างยินดีให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมองเห็นเป้าหมายเดียวกันคือเป้าหมายขององค์กร และร่วมกันคิดค้นหาทางที่จะช่วยให้องค์กรเดินไปข้างหน้าด้วยกัน

 

 
2. มีความคล่องตัว (Agility)


     ทุกองค์กรต้องการความคล่องแคล่วว่องไว ซึ่งหมายถึง แนวคิด วิธีการที่จะทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้นกว่าเดิมเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว ยกตัวอย่าง ร้านขายของในศูนย์การค้าที่ต้องถูกปิดในชั่วข้ามคืนในช่วงวิกฤตโควิด-19 และต้องเปลี่ยนมาจัดจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์แทน พนักงานที่เคยขายหน้าร้านต้องการทักษะการขายที่แตกต่างไป เขาไม่ต้องการใช้เวลาเรียนหรือฝึกอบรม 3-5 เดือน เกิดเป็นความต้องการแบบใหม่ที่เรียกว่า Just in time learning รูปแบบการเรียนรู้ที่เรียนวันนี้ใช้วันถัดไปได้เลย




 
3. Innovation Thinking


     ความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายธุรกิจต้องทำความเข้าใจลูกค้าของตัวเองใหม่ รวมถึงความกดดันในการทำงานที่มากขึ้น จำนวนโปรเจ็กต์มากขึ้น เวลาน้อยลง แต่ความเร็วต้องเพิ่ม ฉะนั้น ต้องอาศัยวิธีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ปรับปรุงการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างในเวลาที่รวดเร็วขึ้น



 

     การทำธุรกิจในช่วงวิกฤตมักต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย หากคนในองค์กรมีเป้าหมายเดียวกัน มีวิธีคิดและการทำงานร่วมกันก็จะพาองค์กรก้าวข้ามวิกฤตหรือทรานส์ฟอร์มองค์กรได้
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

Quiet Quitting เวอร์ชั่นใหม่จากจีน! ประท้วงแบบใหม่ แบบสับ แห่แต่งชุดไม่เหมาะสมไปทำงาน เรียกร้องสวัสดิภาพที่ดี

“Quiet Quitting” หรือ “การลาออกเงียบ” เทรนด์การทำงานของคนยุคนี้ที่มีการพูดถึงกันมากเมื่อช่วง 2 ปีก่อน ล่าสุดคนรุ่นใหม่ หรือ คน Gen Z ต่างหันมาแต่งตัวไปทำงานด้วยชุดที่ไม่เหมาะสม เช่น การสวมชุดที่ดูคล้ายชุดนอนมาทำงาน, การแต่งกายด้วยชุดเวอร์วัง อย่างเสื้อคลุมขนสัตว์ที่ดูรุ่มร่าม เป็นต้น โดยมองว่าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร แค่อยากแสดงออกเชิงสัญญาลักษณ์เฉยๆ

ไม่อยากเจ๊งต้องอ่าน รวมทางออกให้ธุรกิจไปต่อ ยามเจอวิกฤตเศรษฐกิจเลวร้าย

ความท้าทายไม่เคยขาดหายไปสำหรับผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจถดถอย แต่ทุกปัญหาล้วนมีทางออกเสมอสำหรับผู้ที่มีวิสัยทัศน์และยืนหยัดด้วยปรัชญาที่ถูกต้อง

5 หนังครอบครัวฟีลกู้ด ที่คนทำธุรกิจควรดู

เพราะครอบครัว คือ รากฐานสำคัญของทุกอย่าง หลายธุรกิจแจ้งเกิดเติบโตประสบความสำเร็จได้  เนื่องในวันครอบครัว 14 เมษายนนี้ เลยอยากชวนมาดู 5 หนังเรื่องราวธุรกิจที่มีความอบอุ่นของครอบครัวเป็นแรงผลักดันจนสำเร็จมาฝากกัน