นายจ้างรู้ยัง? 40% ของคนรุ่นใหม่ ไม่ได้อยากเป็นหัวหน้า ทำงานหนัก พักน้อย ไร้เวลาส่วนตัว

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • พนักงานยุคใหม่ไม่ได้ต้องการเลื่อนตำแหน่ง แต่ต้องการความสุขในชีวิตมากกว่า

 

  • และยินดีที่จะอยู่ในตำแหน่งที่เล็กกว่า ถ้าไม่ต้องรับผิดชอบอะไรที่กดดัน หรือเครียดจนเกินไป

 

     การได้เลื่อนตำแหน่ง อาจถูกมองเป็นความก้าวหน้าของคนทำงานยุคหนึ่ง แต่รู้ไหม? วันนี้พวกเขาอาจไม่ได้คิดแบบนั้นเสมอไป มีข้อมูลรายงานจากบริษัทจัดหางานที่ใหญ่ที่สุดในโลกกล่าวไว้ว่า พนักงานเกือบครึ่งหนึ่งจากร้อยคนไม่ได้อยากขวนขวายเลื่อนตำแหน่ง แต่ชอบที่จะทำงานอยู่ในตำแหน่งเดิมมากกว่า ถ้ามีความสุขดีอยู่แล้ว

     จากรายงานประจำปีของ “Randstad” บริษัทให้คำปรึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ยักษ์ใหญ่ของโลก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เปิดเผยข้อมูลเมื่อต้นปี 2024

     พบว่าจากการทำการสำรวจผู้คนกว่า 27,000 คนที่ทำงานอยู่บริษัท 34 แห่งทั่วยุโรป เอเชียแปซิฟิก และอเมริกา โดยมีอายุระหว่าง 18-67 ปี ทั้งในรูปแบบพนักงานประจำ, ฟรีแลนซ์ หรือแม้แต่คนที่กำลังว่างงาน และกำลังมองหางานใหม่พบว่ากว่า 39% ไม่ต้องการได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เพราะพวกเขาชอบในงานปัจจุบันของตนดีอยู่แล้ว และอีกกว่า 34% ยังตอบว่าไม่เคยมีความต้องการอยากเลื่อนเป็นหัวหน้าหรือผู้จัดการเลยด้วยซ้ำ

     จากผลการสำรวจดังกล่าว Sander van 't Noordende ซีอีโอของ Randstad กล่าวสรุปว่า แรงจูงใจของผู้คนทำงานยุคนี้อาจไม่จำเป็นต้องขับเคลื่อนด้วยการเลื่อนตำแหน่งเสมอไป ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุล ความยืดหยุ่นระหว่างการใช้ชีวิตและการทำงานให้มีความสุขมากกว่าการเลื่อนตำแหน่ง หรือความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หากทำไปแล้วไม่ได้มีความสุขเหมือนเดิม

     ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ของผู้คนทำงานยุคนี้ เช่น Quiet Quitting - การลาออกอย่างเงียบ (เลิกทำงานเกินหน้าที่) lazy girl jobs – งานสาวขี้เกียจ ที่อยากได้งานมั่นคง เงินดี แต่เวลาทำงานไม่มากเกินไป และ Bare Minimum Mondays - การทำงานขั้นต่ำในวันจันทร์ หรือวันแรกของสัปดาห์ เพื่อช่วยลดความเครียดและแก้อาการเกลียดวันจันทร์ จากเทรนด์ดังกล่าวล้วนส่งเสริมให้ผู้คนลดความทะเยอะทะยานในการทำงานลง เปรียบเหมือนการนั่งรถก็ยินดีที่จะนั่งสบายๆ อยู่เบาะหลังดีกว่า ถ้ามีความสุขดีแล้ว มากกว่าจะดิ้นรนมาเป็นคนขับอยู่ข้างหน้า ถ้าต้องแลกด้วยความเครียด หรือความกดดันที่จะตามมา เรียกง่ายๆ ว่าเลือกความสุข มากกว่าผลตอบแทนหรือเงินที่จะเพิ่มขึ้นนั่นเอง

     โดยซีอีโอของ Randstad ได้ให้คำแนะนำทิ้งท้ายว่าหากอยากมัดใจคนทำงานยุคนี้ได้ นายจ้างต้องเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ ความก้าวหน้าไม่ได้หมายถึงการเลื่อนตำแหน่งหรือผลตอบแทนที่มากขึ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขกับสิ่งอื่นด้วย เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง การท่องเที่ยว ประสบการณ์ชีวิตอื่นๆ ด้วย นั่นแหละจึงจะมัดใจพวกเขาได้ เพราะต่อให้เอาเงินมากอง แต่ไม่มีความสุข พวกเขาก็ไม่เลือกทำนั่นเอง

ที่มา : https://www.businessinsider.com/workers-happy-jobs-never-want-be-managers-promotions-randstad-workmonitor-2024-1

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ป้องกันแรงงานขาดลาออกไปเลี้ยงลูก SME สหรัฐ ผุดไอเดียยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เปิดที่เลี้ยงเด็กคู่กับธุรกิจเดิม

เพราะค่าใช้จ่ายการเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่งทุกวันนี้ ไม่ถูกเลย หลายบริษัท ร้านค้าต้องเสียพนักงานดีๆ ไป ก็เพราะด้วยเหตุผลว่า “ต้องออกไปดูแลลูก ไม่มีคนเลี้ยงลูกให้”

Quiet Quitting เวอร์ชั่นใหม่จากจีน! ประท้วงแบบใหม่ แบบสับ แห่แต่งชุดไม่เหมาะสมไปทำงาน เรียกร้องสวัสดิภาพที่ดี

“Quiet Quitting” หรือ “การลาออกเงียบ” เทรนด์การทำงานของคนยุคนี้ที่มีการพูดถึงกันมากเมื่อช่วง 2 ปีก่อน ล่าสุดคนรุ่นใหม่ หรือ คน Gen Z ต่างหันมาแต่งตัวไปทำงานด้วยชุดที่ไม่เหมาะสม เช่น การสวมชุดที่ดูคล้ายชุดนอนมาทำงาน, การแต่งกายด้วยชุดเวอร์วัง อย่างเสื้อคลุมขนสัตว์ที่ดูรุ่มร่าม เป็นต้น โดยมองว่าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร แค่อยากแสดงออกเชิงสัญญาลักษณ์เฉยๆ

ไม่อยากเจ๊งต้องอ่าน รวมทางออกให้ธุรกิจไปต่อ ยามเจอวิกฤตเศรษฐกิจเลวร้าย

ความท้าทายไม่เคยขาดหายไปสำหรับผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจถดถอย แต่ทุกปัญหาล้วนมีทางออกเสมอสำหรับผู้ที่มีวิสัยทัศน์และยืนหยัดด้วยปรัชญาที่ถูกต้อง