เกษตรกรกับการทำอี-คอมเมิร์ซ บทเรียนสำหรับผู้ค้าออนไลน์มือใหม่

 



เรื่อง วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์



    ช่วงนี้ราคาข้าวตกต่ำจึงเกิดกระแสเกษตรกรชาวนาชาวไร่พยายามหลีกเลี่ยงพ่อค้าคนกลางแล้วนำผลผลิตมาขายเองให้กับผู้บริโภคเองโดยตรง หากเป็นชาวนารุ่นใหม่ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็น ก็ดูเหมือนจะไม่ยาก แต่ถ้าเป็นเกษตรกรรุ่นเก่า ก็อาจต้องพึ่งลูกหลาน อย่างที่มีการรณรงค์ให้ลูกชาวนาช่วยพ่อแม่ขายข้าว 


    การขายข้าวหรือผลผลิตทางการเกษตร ถ้ามีสถานที่ให้วางสินค้า คนขายกับคนซื้อมาเจอกัน อุปสงค์-อุปทานสมดุล การทำการค้าก็คงง่าย  แต่เนื่องจากสถานที่หรือจุดที่จะทำให้คนขายได้พบกับคนซื้อมีข้อจำกัด สถานที่เดียวที่จะทำให้หากันเจอง่ายที่สุดจึงเป็นอินเตอร์เน็ต แต่ก็นั่นแหละหากคนไม่มีประสบการณ์ด้านอี-คอมเมิร์ซมาก่อน การขายของทางออนไลน์ ไม่ว่าจะผ่านเฟสบุ๊ก ไลน์ อินสตราแกรมหรือช่องทางโซเชี่ยลมีเดียอื่น ๆ ย่อมนำมาซึ่งความไม่ราบรื่น จากประสบการณ์ที่สั่งซื้อข้าวโดยตรงกับชาวนาผ่านทางออนไลน์ สิ่งที่พบเจอมีดังนี้


•    ไม่มี differentiation คือสินค้าไม่ระบุความโดดเด่น เป็นข้าวสารที่ไม่แจ้งว่าเป็นข้าวปลอดสาร ไร้สาร หรือข้าวออร์แกนิก ราคาจำหน่ายเท่ากับข้าวสารตามห้าง แต่เมื่อบวกค่าขนส่งแล้ว กลายเป็นแพงกว่ากันเยอะ ข้าวที่สั่งซื้อเป็นข้าวกล้องหอมมะลิ ถุง 5 กก.ราคา 175 บาท บวกค่าส่ง 90 และค่าโอนอีก 25 บาท รวมเป็น 290 บาท เชื่อว่าลูกค้าหลายคนตัดสินใจซื้อ และยอมแบกรับส่วนเกินค่าขนส่งเพราะต้องการช่วยเหลือชาวนาจริง ๆ


•    ผิดนัดลูกค้า หลังจากโอนเงินไปแล้ว เวลาผ่านไป 8 วัน ยังไม่ได้รับสินค้า เมื่อทวงถามไป ก็บอกว่ากำลังทะยอยส่ง คนซื้ออดทนรอต่อไป ครบครึ่งเดือนพอดี สินค้ายังไม่มา ทั้งที่ก่อนนั้นแจ้งว่าจะได้สินค้า 7-10 วันหลังโอนเงิน  ช่วงระหว่างรอ ไม่มีการแจ้งความคืบหน้าใด ๆ ว่าติดขัดตรงไหนจึงทำให้การส่งล่าช้า ลูกค้าเริ่มไม่ประทับใจ


•    ระบบการจัดการไม่ดี เมื่อสอบถามไปอีกครั้ง พบว่าคนรับออร์เดอร์ กับคนส่งสินค้า คนละทีมกัน ไม่มีการประสานกัน คนรับออร์เดอร์ก็รับไปเรื่อย ๆ ทำให้ออร์เดอร์ล้น/ตกค้าง ขณะที่ข้าวที่จะส่งให้ลูกค้าไม่พอเพียงเนื่องจาก กำลังอยู่ระหว่างรอคิวโรงสีที่แน่นขนัด สรุปคือไม่มีการปิดรับออร์เดอร์ใหม่เพื่อเคลียร์ออร์เดอร์เก่า จึงทำให้เกิดปัญหา 


•    เมื่อไม่มีคำตอบให้ว่าลูกค้าว่าจะได้รับสินค้าเมื่อใด สิ่งที่ตามมาคือการยกเลิกคำสั่งซื้อและขอเงินคืน ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย หากสินค้ามีคุณภาพและดีจริง ลูกค้าก็ไม่มีโอกาสได้ทดลอง ก็เท่ากับสูญเสียลูกค้าที่อาจจะเป็นลูกค้าประจำในอนาคต  


•    ในส่วนของผู้ที่ได้รับสินค้า ผลปรากฎสินค้าผิดสเปก เช่น สั่งข้าวกล้อง แต่ได้รับเป็นข้าวขาว ครั้นจะให้คืนสินค้าก็ดูเป็นเรื่องยุ่งยาก ลูกค้าอาจจะค้าปล่อยเลยตามเลยทั้งที่ราคาไม่เท่ากัน แต่สิ่งที่ตามมาคือจบการซื้อ-ขายแค่นั้นครั้งเดียว ไม่มีครั้งต่อไป ความจริงแล้ว ข้าวเป็นสินค้าที่มีสเปกไม่ได้ซับซ้อนแต่อย่างใด หากใส่ใจมากกว่านี้จะจะลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ 

    กล่าวโดยสรุปคือการทำการค้าทางออนไลน์ หากทำเป็นทีมต้องมีการประสานงาน มีการประเมินว่าสินค้าที่มีอยู่จะพอส่งให้ลูกค้าหรือไม่ การรับปากแบบส่งเดชตั้งแต่ทีแรก ถือเป็นการไม่รับผิดชอบ ขาดความน่าเชื่อถือ และนำมาซึ่งความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจอีกต่อไป อย่าลืมว่าสินค้าที่ขายความน่าสงสารหรือความเห็นใจ เป็นแค่กระแส แต่สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจยั่งยืนคือการเป็นมืออาชีพ

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี


    





RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024